ทำเนียบรัฐบาล--11 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน
และครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ 4 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขกำหนดวันใช้บังคับกฎหมายในร่างมาตรา 2 ของร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับ จากเดิมที่กำหนดให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมมีผลใช้บังคับเป็นต้นไป เป็นว่า กำหนดให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบแน่นอนว่าร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อใด และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการใช้บังคับร่งพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับนี้ย้อนหลังในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. ซึ่งอยู่ในระหว่างการประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายไปก่อน โดยให้กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่องไปดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับ กับร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายพร้อมกัน
อนึ่ง ภายหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับเสร็จแล้ว และอยู่ในระหว่างรอหนังสือให้ความเห็นชอบในการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรากฏว่าร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2543 และโดยที่มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ซึ่งได้แก่วันที่ 20 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป) ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงต้องรีบดำเนินการให้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 19 สิงหาคม 2543
2. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1) ระบุบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ในส่วนของคำปรารภ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ
2) เพิ่มอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในการออกกฎกระทรวงตามร่างมาตรา 5 (1) เพื่อกำหนดค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานบังคับคดี นอกจากที่ระบุไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงกับหลักการตามกฎหมายปัจจุบันคือมาตรา 5 (ข) ของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477
3) เพิ่มบทเฉพาะกาลเพื่อให้กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปโดยอนุโลม
4) เพิ่มมาตรารักษาการโดยกำหนดให้ประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รักษาการตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลดังกล่าวข้างต้น
3. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1) ในบทนิยามคำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" ตามมาตรา 1 (14) ได้กำหนดให้หมายความรวมถึง "เจ้าพนักงานอื่น" ผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของกฎหมายปัจจุบัน
2) ในมาตรา 276 วรรคสาม ซึ่งตามร่างของกระทรวงยุติธรรมได้เสนอแก้ไขโดยตัดข้อความในตอนท้ายที่ว่า "โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล" ออกไปโดยมีเหตุผลเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดี นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้คงข้อความดังกล่าวไว้และแก้ไขเป็นว่า "โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี" เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีกรณีการบังคับคดีโดยทางศาลได้เช่นกัน
4. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตัดหลักการตามร่วงมาตรา 4 ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกความในมาตรา 151 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 ที่ให้ศาลมีอำนาจในการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออก เนื่องจากเห็นว่าอำนาจของศาลดังกล่าวเป็นอำนาจตามกลไกของการดำเนินกระบวนพิจารณาตามปกติ ไม่ใช่อำนาจตามสายการบังคับบัญชาระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา กรณีจึงไม่เกี่ยวข้องกับการที่หน่วยงานบังคับคดีล้มละลายจะไม่ได้เป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรมตามหลักการของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 แต่ประการใด
5. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1) ระบุบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ในส่วนของคำปรารภ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ
2) เพิ่มความในมาตรา 22 เกี่ยวกับอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาค โดยกำหนดว่าในกรณที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ได้มอบหมายให้อธิบดีผู้พิพากษาภาครับผิดชอบงานธุรการของศาลเยาวชนและครอบครัวที่อยู่ในเขตอำนาจแล้ว ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางรายงานการมอบหมายดังกล่าวไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงกับหลักการตามมาตรา 22 ปัจจุบัน เพียงแต่เปลี่ยนจากกระทรวงยุติธรรมมาเป็นสำนักงานศาลยุติธรรม
3) เพิ่มความในมาตรา 45 โดยกำหนดให้ผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่อย่างพนักงานคุมประพฤติเพียงเท่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานพินิจ เนื่องจากตามร่างของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการได้รับมอบหมายจากใคร และให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าใครเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนดังกล่าว
26. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้น
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ .. พ.ศ. 2543 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้น ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบตามมติที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และคณะกรรมการบริหารกองทุนในคราวประชุมร่วมกันเมื่อวันที่26 พฤษภาคม 2543 ที่ได้มีมติเห็นชอบแผนการกู้เงินและการชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้จัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตามจำนวนเงินที่เป็นภาระหนี้จริงในแต่ละปี ตามแผนการชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้เรียกเก็บเงินจากการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายสำหรับฤดูการผลิตปี 2542/2543 และการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น ตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2543/2544 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระหนี้แล้วเสร็จ ดังนั้น เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมติดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงกำหนดระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ .. พ.ศ. 2543 ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้น"
2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. ถ้าข้อความใดมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือความหมายดังที่ได้บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527
4. ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนและคณะกรรมการบริหาร รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบ
5. ภาระหนี้เงินกู้ที่ชาวไร่อ้อยต้องชำระให้แก่กองทุนเพื่อนำไปชำระคืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้เรียกเก็บจากการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายสำหรับฤดูการผลิตปี 2542/2543 โดยให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายเฉพาะในส่วนของชาวไร่อ้อย และให้เรียกเก็บจากการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2543/2544 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระหนี้แล้วเสร็จ โดยให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณราคาอ้อยเฉพาะในส่วนของชาวไร่อ้อย
ให้ชาวไร่อ้อยชำระหนี้เงินกู้ตามวรรคแรก โดยคำนวณตามปริมาณอ้อยที่ส่งเข้าหีบจริง คูณด้วยอัตราตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด ทั้งนี้ ให้ชาวไร่อ้อยชำระโดยขบวนการคำนวณราคาอ้อย และให้โรงงานเป็นผู้นำส่งเงินจำนวนดังกล่าวต่อกองทุน
6. ให้โรงงานนำส่งเงินตามข้อ 5 ต่อกองทุนภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้
6.1 อ้อยที่ส่งเข้าหีบในฤดูการผลิตปี 2542/2543 ให้โรงงานนำส่งเงินภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากกองทุน
6.2 อ้อยที่ส่งเข้าหีบตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2542/2544 เป็นต้นไป ให้โรงงานนำส่งเงิน ดังนี้
1) อ้อยที่ส่งเข้าหีบระหว่างวันที่ 1 - 15 ของเดือนใดให้โรงงานนำส่งเงินภายในวันที่ 22 ของเดือนนั้น
2) อ้อยที่ส่งเข้าหีบตั้งแต่วันที่ 16 เป็นต้นไปของเดือนใด ให้โรงงานนำส่งเงินภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
7. ในกรณีที่โรงงานไม่นำส่งเงินต่อกองทุน หรือนำส่งไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาตามข้อ 6.1 และ 6.2ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ยังไม่ได้นำส่ง นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดนำส่งในแต่ละงวดจนกว่าจะได้ทำการนำส่งเงินเสร็จสิ้น
8. ในกรณีที่โรงงานไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการบริหารดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 ก.ค. 2543--
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติ
แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน
และครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการายงานว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ 4 ฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. และร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขกำหนดวันใช้บังคับกฎหมายในร่างมาตรา 2 ของร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับ จากเดิมที่กำหนดให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรมมีผลใช้บังคับเป็นต้นไป เป็นว่า กำหนดให้มีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ทราบแน่นอนว่าร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อใด และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการใช้บังคับร่งพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับนี้ย้อนหลังในกรณีที่ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. ซึ่งอยู่ในระหว่างการประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายได้ประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายไปก่อน โดยให้กระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นหน่วยงานเจ้าของเรื่องไปดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับ กับร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายพร้อมกัน
อนึ่ง ภายหลังจากที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับเสร็จแล้ว และอยู่ในระหว่างรอหนังสือให้ความเห็นชอบในการแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ปรากฏว่าร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. …. ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2543 และโดยที่มาตรา 2 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้ได้กำหนดให้ใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อพ้นหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (ซึ่งได้แก่วันที่ 20 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป) ดังนั้น กระทรวงยุติธรรมจึงต้องรีบดำเนินการให้ร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 19 สิงหาคม 2543
2. ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1) ระบุบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ในส่วนของคำปรารภ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ
2) เพิ่มอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมในการออกกฎกระทรวงตามร่างมาตรา 5 (1) เพื่อกำหนดค่าธรรมเนียมของเจ้าพนักงานบังคับคดี นอกจากที่ระบุไว้ในตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงกับหลักการตามกฎหมายปัจจุบันคือมาตรา 5 (ข) ของพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477
3) เพิ่มบทเฉพาะกาลเพื่อให้กฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง พุทธศักราช 2477 ก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงมีผลใช้บังคับต่อไปโดยอนุโลม
4) เพิ่มมาตรารักษาการโดยกำหนดให้ประธานศาลฎีกาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้รักษาการตามร่างพระราชบัญญัตินี้ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามบทเฉพาะกาลดังกล่าวข้างต้น
3. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1) ในบทนิยามคำว่า "เจ้าพนักงานบังคับคดี" ตามมาตรา 1 (14) ได้กำหนดให้หมายความรวมถึง "เจ้าพนักงานอื่น" ผู้มีอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วย เพื่อให้เป็นไปตามหลักการของกฎหมายปัจจุบัน
2) ในมาตรา 276 วรรคสาม ซึ่งตามร่างของกระทรวงยุติธรรมได้เสนอแก้ไขโดยตัดข้อความในตอนท้ายที่ว่า "โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานของศาล" ออกไปโดยมีเหตุผลเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดี นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 9) ได้คงข้อความดังกล่าวไว้และแก้ไขเป็นว่า "โดยทางศาลหรือโดยทางเจ้าพนักงานบังคับคดี" เนื่องจากเห็นว่าอาจจะมีกรณีการบังคับคดีโดยทางศาลได้เช่นกัน
4. ร่างพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ตัดหลักการตามร่วงมาตรา 4 ซึ่งกำหนดให้ยกเลิกความในมาตรา 151 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายพุทธศักราช 2483 ที่ให้ศาลมีอำนาจในการกำกับดูแลการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ออก เนื่องจากเห็นว่าอำนาจของศาลดังกล่าวเป็นอำนาจตามกลไกของการดำเนินกระบวนพิจารณาตามปกติ ไม่ใช่อำนาจตามสายการบังคับบัญชาระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา กรณีจึงไม่เกี่ยวข้องกับการที่หน่วยงานบังคับคดีล้มละลายจะไม่ได้เป็นหน่วยงานธุรการของศาลยุติธรรมตามหลักการของพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 แต่ประการใด
5. ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1) ระบุบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ในส่วนของคำปรารภ เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 29 ของรัฐธรรมนูญ
2) เพิ่มความในมาตรา 22 เกี่ยวกับอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาภาค โดยกำหนดว่าในกรณที่อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ได้มอบหมายให้อธิบดีผู้พิพากษาภาครับผิดชอบงานธุรการของศาลเยาวชนและครอบครัวที่อยู่ในเขตอำนาจแล้ว ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางรายงานการมอบหมายดังกล่าวไปยังสำนักงานศาลยุติธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้ตรงกับหลักการตามมาตรา 22 ปัจจุบัน เพียงแต่เปลี่ยนจากกระทรวงยุติธรรมมาเป็นสำนักงานศาลยุติธรรม
3) เพิ่มความในมาตรา 45 โดยกำหนดให้ผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติมีอำนาจหน้าที่อย่างพนักงานคุมประพฤติเพียงเท่าที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการสถานพินิจ เนื่องจากตามร่างของกระทรวงยุติธรรมไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการได้รับมอบหมายจากใคร และให้ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนผู้ช่วยพนักงานคุมประพฤติเพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าใครเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนดังกล่าว
26. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์
การเกษตร ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้น
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ .. พ.ศ. 2543 ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้น ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 ได้มีมติเห็นชอบตามมติที่ประชุมร่วมกันของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย และคณะกรรมการบริหารกองทุนในคราวประชุมร่วมกันเมื่อวันที่26 พฤษภาคม 2543 ที่ได้มีมติเห็นชอบแผนการกู้เงินและการชำระหนี้เงินกู้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้จัดเก็บเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายตามจำนวนเงินที่เป็นภาระหนี้จริงในแต่ละปี ตามแผนการชำระหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยให้เรียกเก็บเงินจากการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายสำหรับฤดูการผลิตปี 2542/2543 และการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น ตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2543/2544 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระหนี้แล้วเสร็จ ดังนั้น เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามมติดังกล่าวข้างต้น คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงกำหนดระเบียบไว้ดังต่อไปนี้
1. ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ฉบับที่ .. พ.ศ. 2543 ว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนเพื่อชำระหนี้ให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ตามโครงการเงินเพิ่มค่าอ้อยขั้นต้น"
2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
3. ถ้าข้อความใดมิได้แสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ให้ถือความหมายดังที่ได้บัญญัติไว้ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527
4. ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนและคณะกรรมการบริหาร รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบ
5. ภาระหนี้เงินกู้ที่ชาวไร่อ้อยต้องชำระให้แก่กองทุนเพื่อนำไปชำระคืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้เรียกเก็บจากการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายสำหรับฤดูการผลิตปี 2542/2543 โดยให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายเฉพาะในส่วนของชาวไร่อ้อย และให้เรียกเก็บจากการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2543/2544 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระหนี้แล้วเสร็จ โดยให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณราคาอ้อยเฉพาะในส่วนของชาวไร่อ้อย
ให้ชาวไร่อ้อยชำระหนี้เงินกู้ตามวรรคแรก โดยคำนวณตามปริมาณอ้อยที่ส่งเข้าหีบจริง คูณด้วยอัตราตามที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนด ทั้งนี้ ให้ชาวไร่อ้อยชำระโดยขบวนการคำนวณราคาอ้อย และให้โรงงานเป็นผู้นำส่งเงินจำนวนดังกล่าวต่อกองทุน
6. ให้โรงงานนำส่งเงินตามข้อ 5 ต่อกองทุนภายในกำหนดระยะเวลา ดังนี้
6.1 อ้อยที่ส่งเข้าหีบในฤดูการผลิตปี 2542/2543 ให้โรงงานนำส่งเงินภายใน 15 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งจากกองทุน
6.2 อ้อยที่ส่งเข้าหีบตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2542/2544 เป็นต้นไป ให้โรงงานนำส่งเงิน ดังนี้
1) อ้อยที่ส่งเข้าหีบระหว่างวันที่ 1 - 15 ของเดือนใดให้โรงงานนำส่งเงินภายในวันที่ 22 ของเดือนนั้น
2) อ้อยที่ส่งเข้าหีบตั้งแต่วันที่ 16 เป็นต้นไปของเดือนใด ให้โรงงานนำส่งเงินภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
7. ในกรณีที่โรงงานไม่นำส่งเงินต่อกองทุน หรือนำส่งไม่ครบถ้วนภายในระยะเวลาตามข้อ 6.1 และ 6.2ให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ของจำนวนเงินที่ยังไม่ได้นำส่ง นับแต่วันถัดจากวันที่ครบกำหนดนำส่งในแต่ละงวดจนกว่าจะได้ทำการนำส่งเงินเสร็จสิ้น
8. ในกรณีที่โรงงานไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการบริหารดำเนินการตามระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ว่าด้วยเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศ ระเบียบหรือพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2528 ลงวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2528
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 ก.ค. 2543--
-สส-