คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอแล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ดังนี้
1. อนุมัติให้การช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 200 บาทต่อเดือน และเงินอุดหนุนเพิ่มพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยคนละ 100 บาทต่อเดือน รวมเป็น 300 บาทต่อเดือน โดยใช้ระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ.2543 เป็นระเบียบในการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2545
2. เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงการโอนเงินเบี้ยยังชีพเข้าบัญชีผู้สูงอายุ จากเดิมที่เคยโอนเงินเข้าบัญชีงวดละ 3 เดือน ปีละ 4 ครั้ง เป็นโอนเงินเข้าบัญชีงวดละ 6 เดือน ปีละ 2 ครั้ง โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนเงินดังกล่าว
3. เพื่อให้การคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ. 2543 เป็นไปอย่างโปร่งใส ทั่วถึง และเป็นธรรมให้คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาตินำหลักเกณฑ์และวิธีการการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติจะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบดังกล่าว และประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ให้องค์กรเอกชนหรืออาสาสมัครในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติจะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ.2543 ทั้งนี้ เพื่อให้การสงเคราะห์ครอบคลุมทั่วถึง โปร่งใส และเป็นธรรม
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เสนอว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 เห็นชอบให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุยากจนหรือถูกทอดทิ้งเป็นเงินยังชีพ โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้กำหนดระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ และครอบครัวในชุมชน พ.ศ. 2536 เป็นแนวทางในการดำเนินการจ่ายให้แก่ผู้สูงอายุดังกล่าวเป็นเงินรายละ 200 บาทต่อเดือน จนถึงแก่กรรมหรือถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้สูงอายุมีผู้อุปการะเลี้ยงดู และหรือครอบครัวมีฐานะช่วยเหลือตนเองได้ให้ระงับการช่วยเหลือ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 ให้เพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพทั่วประเทศจำนวน 318,000 คน เป็น 400,000 คน และเพิ่มเงินเบี้ยยังชีพจาก 200 บาทต่อคนต่อเดือน เป็น 300 บาทต่อคนต่อเดือน เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยใช้เงินตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายเงินภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (แผนมิยาซาวา)โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้แก้ไขระเบียบฯ เดิม เป็นระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ.2543
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการสงเคราะห์เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นการให้เงินสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในชุมชนในลักษณะของการให้เปล่า ซึ่งผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในปัจจุบันทำให้ผู้สูงอายุดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวลดน้อยลง และประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 29 พ.ค.2544
-สส-
1. อนุมัติให้การช่วยเหลือเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคนละ 200 บาทต่อเดือน และเงินอุดหนุนเพิ่มพิเศษแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพ ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยคนละ 100 บาทต่อเดือน รวมเป็น 300 บาทต่อเดือน โดยใช้ระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ.2543 เป็นระเบียบในการปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2545
2. เห็นชอบให้เปลี่ยนแปลงการโอนเงินเบี้ยยังชีพเข้าบัญชีผู้สูงอายุ จากเดิมที่เคยโอนเงินเข้าบัญชีงวดละ 3 เดือน ปีละ 4 ครั้ง เป็นโอนเงินเข้าบัญชีงวดละ 6 เดือน ปีละ 2 ครั้ง โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนเงินดังกล่าว
3. เพื่อให้การคัดเลือกผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติจะได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ. 2543 เป็นไปอย่างโปร่งใส ทั่วถึง และเป็นธรรมให้คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาตินำหลักเกณฑ์และวิธีการการคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติจะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบดังกล่าว และประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ให้องค์กรเอกชนหรืออาสาสมัครในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพิจารณาคัดเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติจะได้รับเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพผู้สูงอายุ ตามระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ.2543 ทั้งนี้ เพื่อให้การสงเคราะห์ครอบคลุมทั่วถึง โปร่งใส และเป็นธรรม
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมได้เสนอว่า คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2535 เห็นชอบให้กรมประชาสงเคราะห์ดำเนินการโครงการกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุยากจนหรือถูกทอดทิ้งเป็นเงินยังชีพ โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้กำหนดระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนกองทุนส่งเสริมสวัสดิการผู้สูงอายุ และครอบครัวในชุมชน พ.ศ. 2536 เป็นแนวทางในการดำเนินการจ่ายให้แก่ผู้สูงอายุดังกล่าวเป็นเงินรายละ 200 บาทต่อเดือน จนถึงแก่กรรมหรือถ้าพิสูจน์ได้ว่าผู้สูงอายุมีผู้อุปการะเลี้ยงดู และหรือครอบครัวมีฐานะช่วยเหลือตนเองได้ให้ระงับการช่วยเหลือ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 ให้เพิ่มจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับเบี้ยยังชีพทั่วประเทศจำนวน 318,000 คน เป็น 400,000 คน และเพิ่มเงินเบี้ยยังชีพจาก 200 บาทต่อคนต่อเดือน เป็น 300 บาทต่อคนต่อเดือน เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยใช้เงินตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายเงินภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (แผนมิยาซาวา)โดยกรมประชาสงเคราะห์ได้แก้ไขระเบียบฯ เดิม เป็นระเบียบกรมประชาสงเคราะห์ว่าด้วยการจ่ายเงินสงเคราะห์เพื่อการยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ พ.ศ.2543
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาแล้วเห็นว่า โครงการสงเคราะห์เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เป็นการให้เงินสงเคราะห์ช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนในชุมชนในลักษณะของการให้เปล่า ซึ่งผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในปัจจุบันทำให้ผู้สูงอายุดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวลดน้อยลง และประสบกับปัญหาทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 29 พ.ค.2544
-สส-