คณะรัฐมนตรีพิจารณาโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 7/1 เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างอุโมงค์และท่อส่งน้ำนวมินทร์-ทับช้าง ของการประปานครหลวง ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 7/1 เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างอุโมงค์และท่อส่งน้ำนวมินทร์-ทับช้าง ของการประปานครหลวง (กปน.) ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วงเงินลงทุนรวม 2,550 ล้านบาท (เงินรายได้ กปน. 1,550 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,000 ล้านบาท)
2. รับทรายงานผลการดำเนินงานของ กปน. เกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นการรายงานเพิ่มเติมการดำเนินการของ กปน. ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้
2.1 จากการประสานงานกับกรมทางหลวงอย่างต่อเนื่อง กรมทางหลวงได้แจ้ง กปน.ทราบว่า ผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางก่อสร้างทางหลวง หมายเลข 351 สายถนนสุขาภิบาล 1-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนมกราคม 2548 หลังจากนั้นจะเชิญหน่วยงานสาธารณูปโภคร่วมพิจารณารายละเอียดและความเหมาะสมต่อไป หากผลการพิจารณาแล้วเสร็จทันกับการเริ่มงานโครงการ 7/1 กปน. ก็จะปรับแผนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับงานของกรมทางหลวงต่อไป
2.2 กระทรวงการคลัง โดยบริษัท TRIS ได้กำหนดเป้าหมายแรงดันน้ำเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานของ กปน.มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กปน.สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายทุกปี และการลงทุนเพิ่มเติมตามโครงการ 7/1 ก็มีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มศักยภาพของระบบสูบส่งน้ำให้ประชาชนได้รับน้ำด้วยแรงดันน้ำที่สูงขึ้นด้วย
กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ปัจจุบันผู้ใช้น้ำในพื้นที่บริการน้ำของ กปน.จำนวนมากต้องรับภาระในการติดตั้งระบบสูบน้ำและระบบสำรองน้ำ รวมทั้งจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในแต่ละครัวเรือน เพื่อให้มีน้ำประปาไหลแรงเพียงพอเพื่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่งจัดเป็นต้นทุนหนึ่งที่ประชาชนต้องรับภาระแทนหน่วยงานอย่างไม่มีทางเลือก ในขณะที่ กปน.เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีฐานะการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้น กปน. จึงควรวางแผนการลงทุนเพิ่มเติม และเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพแรงดันน้ำให้ได้มาตรฐานเพียงพอ อย่างน้อยให้สามารถส่งน้ำได้ถึงชั้นสองของอาคาร โดยประชาชนไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ขณะเดียวกันควรกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายด้านคุณภาพแรงดันน้ำไว้ในบันทึกข้อตกลงและประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเพิ่มประสิทธิภาพให้บริการของหน่วยงาน และเกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวมในที่สุด และจากการที่ภาครัฐสามารถให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกันจะมีปริมาณน้ำเสียจากแหล่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้น้ำสะอาดด้วย คิดเป็นร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำดี ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (องค์การจัดการน้ำเสีย) และกรุงเทพมหานคร จัดเตรียมวางแผนรองรับโดยให้ครอบคลุมทั้งในด้านการดำเนินการและการบริหารจัดการควบคู่ไปพร้อมกันด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบโครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลัก ครั้งที่ 7/1 เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างอุโมงค์และท่อส่งน้ำนวมินทร์-ทับช้าง ของการประปานครหลวง (กปน.) ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ วงเงินลงทุนรวม 2,550 ล้านบาท (เงินรายได้ กปน. 1,550 ล้านบาท เงินกู้ในประเทศ 1,000 ล้านบาท)
2. รับทรายงานผลการดำเนินงานของ กปน. เกี่ยวกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นการรายงานเพิ่มเติมการดำเนินการของ กปน. ตามความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ดังนี้
2.1 จากการประสานงานกับกรมทางหลวงอย่างต่อเนื่อง กรมทางหลวงได้แจ้ง กปน.ทราบว่า ผลการศึกษาคัดเลือกแนวเส้นทางก่อสร้างทางหลวง หมายเลข 351 สายถนนสุขาภิบาล 1-วงแหวนรอบนอกด้านตะวันออก คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณกลางเดือนมกราคม 2548 หลังจากนั้นจะเชิญหน่วยงานสาธารณูปโภคร่วมพิจารณารายละเอียดและความเหมาะสมต่อไป หากผลการพิจารณาแล้วเสร็จทันกับการเริ่มงานโครงการ 7/1 กปน. ก็จะปรับแผนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับงานของกรมทางหลวงต่อไป
2.2 กระทรวงการคลัง โดยบริษัท TRIS ได้กำหนดเป้าหมายแรงดันน้ำเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในข้อตกลงการประเมินผลการดำเนินงานของ กปน.มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง กปน.สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายทุกปี และการลงทุนเพิ่มเติมตามโครงการ 7/1 ก็มีวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มศักยภาพของระบบสูบส่งน้ำให้ประชาชนได้รับน้ำด้วยแรงดันน้ำที่สูงขึ้นด้วย
กระทรวงมหาดไทย รายงานว่า ปัจจุบันผู้ใช้น้ำในพื้นที่บริการน้ำของ กปน.จำนวนมากต้องรับภาระในการติดตั้งระบบสูบน้ำและระบบสำรองน้ำ รวมทั้งจ่ายค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในแต่ละครัวเรือน เพื่อให้มีน้ำประปาไหลแรงเพียงพอเพื่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน ซึ่งจัดเป็นต้นทุนหนึ่งที่ประชาชนต้องรับภาระแทนหน่วยงานอย่างไม่มีทางเลือก ในขณะที่ กปน.เป็นรัฐวิสาหกิจที่มีฐานะการเงินอยู่ในเกณฑ์ดี ดังนั้น กปน. จึงควรวางแผนการลงทุนเพิ่มเติม และเร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาคุณภาพแรงดันน้ำให้ได้มาตรฐานเพียงพอ อย่างน้อยให้สามารถส่งน้ำได้ถึงชั้นสองของอาคาร โดยประชาชนไม่จำเป็นต้องติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม ขณะเดียวกันควรกำหนดเป้าหมายที่ท้าทายด้านคุณภาพแรงดันน้ำไว้ในบันทึกข้อตกลงและประเมินผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการเพิ่มประสิทธิภาพให้บริการของหน่วยงาน และเกิดประโยชน์แก่สังคมโดยรวมในที่สุด และจากการที่ภาครัฐสามารถให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนผู้ใช้น้ำได้อย่างเพียงพอและทั่วถึง แต่ในขณะเดียวกันจะมีปริมาณน้ำเสียจากแหล่งต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตามปริมาณการใช้น้ำสะอาดด้วย คิดเป็นร้อยละ 80 ของปริมาณน้ำดี ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและประชาชนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จึงเห็นควรให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (องค์การจัดการน้ำเสีย) และกรุงเทพมหานคร จัดเตรียมวางแผนรองรับโดยให้ครอบคลุมทั้งในด้านการดำเนินการและการบริหารจัดการควบคู่ไปพร้อมกันด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 เมษายน 2548--จบ--