ทำเนียบรัฐบาล--8 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
8. เรื่อง มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.)
คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ดังนี้1 .เพื่อส่งเสริมการสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งและแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบแก่องค์กรชุมชนเมืองและชนบท3. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว4. ส่งเสริมระบบการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทในศาลให้มีประสิทธิภาพ
5. ฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง6. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐ คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการดังกล่าวแล้ว มีมติดังนี้1. เห็นชอบมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) ซึ่งประกอบด้วย 5 โครงการภายใน วงเงิน 3,695,000,000 บาท ดังนี้
1) โครงการพัฒนาขีดความสามารถให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วงเงิน 1,847,140,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักงบประมาณ และกรมการปกครอง เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพที่จะรองรับงบประมาณที่จะได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นและภาระกิจจากการถ่ายโอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจัดให้มีบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ช่วยปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดตั้งหน่วยนิเทศน์เคลื่อนที่ (Mobile unit) มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้คำปรึกษาแนะนำและติดตามประเมินผลการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนเมืองและชนบท วงเงิน 500,000,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชนทั้งภาคชนบทและเมือง รวมทั้งประชาสังคมให้เข้มแข็งได้อย่างกว้างขวาง และจัดให้มีกองทุนสินเชื่อเพื่อกระจายสินเชื่อไปให้สมาชิกนำไปใช้ในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งและพัฒนาองค์กรการเงินและเครือข่ายการเงินชุมชน
3) โครงการท่องเที่ยวไทยและท่องเที่ยวเชิงเกษตร วงเงิน 690,502,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น สร้างรายได้ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศให้แก่ชนบทและชุมชนเกษตรกร สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน และเกิดการจ้างงานมากขึ้น โดยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทั่วประเทศ 106 โครงการ ในพื้นที่ 74 จังหวัด
4) โครงการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทในศาล วงเงิน 254,430,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อลดประมาณคดี และแบ่งเบาภาระคดีของศาล โดยการส่งเสริมระบบไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ด้วยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในศาล จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ ช่วยปฏิบัติงานในศาล ปรับปรุงสถานที่ในศาลเพื่อรองรับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท โดยฝึกอบรมบุคลากรของศาล และปรับปรุงสถานที่ในศาล
5) โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการของรัฐ วงเงิน 376,928,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมการบริหารจัดการของส่วนราชการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยบรรเทาการว่างงานในกลุ่มผู้มีการศึกษา โดยจัดให้มีการจ้างงานในกลุ่มที่มีการศึกษา ได้แก่ ส่วนราชการต่าง ๆ จำนวน 5,000 คน
6) ค่าใช้จ่ายในการบริหารติดตามประเมินผลและประชาสัมพันธ์ วงเงิน 26,000,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักงานบริหารโครงการและสำนักงบประมาณ เพื่อติดตามประเมินผลโครงการภายใต้ มพช.
ทั้งนี้ ในการดำเนินงาน ในโครงการที่ 1) - 3) และ 5) มีระยะเวลาดำเนินงาน 12 เดือน สำหรับโครงการที่ 4) มีระยะเวลาดำเนินงาน 24 เดือน
2. เห็นชอบการบริหารจัดการตามมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) โดยให้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) ซึ่งมีกลไกการบริหารจัดการเช่นเดียวกับคณะกรรมการบริหารจัดการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มพร.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 โดยมีผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเป็นประธาน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) และมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กำกับดูแลการบริหารจัดการ ติดตามและประเมินผลงานและโครงการ ตลอดจนพิจารณายกเลิกและทบทวนการดำเนินงาน งาน/โครงการ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2) กำกับดูแลสำนักงานบริหารโครงการ (สบค.)
3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการ และคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลหรือคณะอนุกรรมการอื่นได้ตามความจำเป็น
4) รายงานผลการดำเนินงานต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะๆ
5) ปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับ มพช. ตามแต่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีสั่งการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-
8. เรื่อง มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.)
คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ ดังนี้1 .เพื่อส่งเสริมการสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศในระยะยาว โดยการเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2. เสริมสร้างความเข้มแข็งและแก้ปัญหาหนี้สินนอกระบบแก่องค์กรชุมชนเมืองและชนบท3. พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว4. ส่งเสริมระบบการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทในศาลให้มีประสิทธิภาพ
5. ฟื้นฟูเศรษฐกิจและการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง6. เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการภาครัฐ คณะรัฐมนตรีพิจารณามาตรการดังกล่าวแล้ว มีมติดังนี้1. เห็นชอบมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) ซึ่งประกอบด้วย 5 โครงการภายใน วงเงิน 3,695,000,000 บาท ดังนี้
1) โครงการพัฒนาขีดความสามารถให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วงเงิน 1,847,140,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักงบประมาณ และกรมการปกครอง เพื่อพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีศักยภาพที่จะรองรับงบประมาณที่จะได้รับการจัดสรรเพิ่มขึ้นและภาระกิจจากการถ่ายโอนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจัดให้มีบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ช่วยปฏิบัติงานในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และจัดตั้งหน่วยนิเทศน์เคลื่อนที่ (Mobile unit) มีหน้าที่รับผิดชอบในการให้คำปรึกษาแนะนำและติดตามประเมินผลการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
2) โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรชุมชนเมืองและชนบท วงเงิน 500,000,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรชุมชนและเครือข่ายชุมชนทั้งภาคชนบทและเมือง รวมทั้งประชาสังคมให้เข้มแข็งได้อย่างกว้างขวาง และจัดให้มีกองทุนสินเชื่อเพื่อกระจายสินเชื่อไปให้สมาชิกนำไปใช้ในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ เช่น ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยสนับสนุนให้มีการจัดตั้งและพัฒนาองค์กรการเงินและเครือข่ายการเงินชุมชน
3) โครงการท่องเที่ยวไทยและท่องเที่ยวเชิงเกษตร วงเงิน 690,502,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้คนไทยเที่ยวเมืองไทยเพิ่มขึ้น สร้างรายได้ทั้งจากในประเทศและต่างประเทศให้แก่ชนบทและชุมชนเกษตรกร สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน และเกิดการจ้างงานมากขึ้น โดยพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวสำคัญทั่วประเทศ 106 โครงการ ในพื้นที่ 74 จังหวัด
4) โครงการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทในศาล วงเงิน 254,430,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักงานศาลยุติธรรม เพื่อลดประมาณคดี และแบ่งเบาภาระคดีของศาล โดยการส่งเสริมระบบไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท ด้วยการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในศาล จ้างผู้เชี่ยวชาญด้านนิติศาสตร์ ช่วยปฏิบัติงานในศาล ปรับปรุงสถานที่ในศาลเพื่อรองรับการไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาท โดยฝึกอบรมบุคลากรของศาล และปรับปรุงสถานที่ในศาล
5) โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการของรัฐ วงเงิน 376,928,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการของรัฐ ตลอดจนส่งเสริมการบริหารจัดการของส่วนราชการต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยบรรเทาการว่างงานในกลุ่มผู้มีการศึกษา โดยจัดให้มีการจ้างงานในกลุ่มที่มีการศึกษา ได้แก่ ส่วนราชการต่าง ๆ จำนวน 5,000 คน
6) ค่าใช้จ่ายในการบริหารติดตามประเมินผลและประชาสัมพันธ์ วงเงิน 26,000,000 บาท ซึ่งมีหน่วยงานที่รับผิดชอบคือสำนักงานบริหารโครงการและสำนักงบประมาณ เพื่อติดตามประเมินผลโครงการภายใต้ มพช.
ทั้งนี้ ในการดำเนินงาน ในโครงการที่ 1) - 3) และ 5) มีระยะเวลาดำเนินงาน 12 เดือน สำหรับโครงการที่ 4) มีระยะเวลาดำเนินงาน 24 เดือน
2. เห็นชอบการบริหารจัดการตามมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) โดยให้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการมาตรการเสริมการพัฒนาชนบทและชุมชน (มพช.) ซึ่งมีกลไกการบริหารจัดการเช่นเดียวกับคณะกรรมการบริหารจัดการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มพร.) ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2542 โดยมีผู้อำนวยการสำนักงบประมาณเป็นประธาน ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) และมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1) กำกับดูแลการบริหารจัดการ ติดตามและประเมินผลงานและโครงการ ตลอดจนพิจารณายกเลิกและทบทวนการดำเนินงาน งาน/โครงการ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2) กำกับดูแลสำนักงานบริหารโครงการ (สบค.)
3) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารโครงการ และคณะอนุกรรมการติดตามประเมินผลหรือคณะอนุกรรมการอื่นได้ตามความจำเป็น
4) รายงานผลการดำเนินงานต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเป็นระยะๆ
5) ปฏิบัติงานอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับ มพช. ตามแต่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรีสั่งการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-