ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานภาวะกำลังแรงงาน การมีงานทำ และการว่างงานปี 2542 และแนวโน้มปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะกำลังแรงงาน การมีงานทำและการว่างงานปี 2542
1.1 กำลังแรงงานรวม จากรายงานการสำรวจแรงงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งได้นำตัวเลขผลการสำรวจทั้ง 4 รอบ ในปี 2542 มาเฉลี่ย ได้ผลของตัวเลขกำลังแรงงานรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้น 0.31 ล้านคน หรือมีจำนวน 32.91 ล้านคน คาดว่าเป็นผลมาจากฤดูฝนที่เริ่มเร็วกว่าปกติในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 จึงทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมเร็วขึ้น ขณะเดียวกันวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อเนื่องหลายปีทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง ไม่สามารถให้บุตรเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น จึงทำให้ประชากรวัยเรียนเข้าสู่ตลาดแรงงานเร็วขึ้น โดยเฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ป.6 และ ม.3
1.2 การมีงานทำ ภาวะการมีการทำเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น 0.57 ล้านคน หรือมีจำนวน 30.84 ล้านคน เป็นการมีงานทำเพิ่มในภาคเกษตรกรรม 0.43 ล้านคน นอกภาคเกษตรกรรม 0.14 ล้านคน สาขาอุตสาหกรรมที่มีการมีงานทำเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ สาขาบริการ เพิ่มขึ้นประมาณ 0.19 ล้านคน รองลงมา ได้แก่ สาขาพาณิชยกรรม 0.15 ล้านคน สาขาอุตสาหกรรมหัตถกรรม เพิ่มขึ้น 0.03 ล้านคน สาขาอื่น ๆ 0.04 ล้านคน ส่วนสาขาที่ผู้มีงานทำลดลง ได้แก่ สาขาก่อสร้างและสาธารณูปโภค ลดลงประมาณ 0.23 และ 0.04 ล้านคน ตามลำดับ
ภาวะการมีงานทำในช่วงครึ่งปีแรกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในสาขาเกษตรกรรม นอกภาคเกษตรกรรมยังชะลอตัว ส่วนในครึ่งปีหลังการมีงานทำนอกภาคเกษตรกรรมได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คาดว่าจะเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก ร้อยละ 0.2 ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มเป็นร้อยละ 7.4 ในไตรมาสที่ 3 และผลจากโครงการสร้างงานและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐได้เริ่มเห็นผลในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
1.3 การว่างงานรวม ภาวะการว่างงานรวมเฉลี่ยปี 2542 ได้ลดลง 0.04 ล้านคน หรือมีจำนวน 1.38 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ทั้งนี้ การว่างงานในครึ่งแรกของปี มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี การว่างงานได้ลดระดับลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน
สำหรับการว่างงานในระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ยังคงมีอัตราการว่างงานเฉลี่ยสูงกว่าภาคอื่น ๆ และการว่างงานของผู้มีการศึกษาระดับอาชีวศึกษา-มหาวิทยาลัยยังน่าเป็นห่วงที่ภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งการพัฒนาฝีมือแรงงานแก่แรงงานระดับล่างให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง
1.4 การทำงานต่ำระดับ (ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่ม) การทำงานต่ำระดับเฉลี่ยทั้งปีได้เพิ่มขึ้น 0.27 ล้านคน หรือมีจำนวน 1.22 ล้านคน เป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสาขาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการทำงานในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal sector)
1.5 กำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตรที่ไม่พร้อมจะทำงาน กำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตรที่ไม่พร้อมจะทำงาน มีจำนวนลดลง 0.21 ล้านคน หรือมีจำนวนเฉลี่ย 0.69 ล้านคน
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2543
ในปี 2543 ภาวะเศรษฐกิจคาดว่าจะขยายตัวต่อจากปี 2542 คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.4 - 4.5 แต่โดยที่ภาครัฐได้ประกาศนโยบายจะลดบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่จะสนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนให้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจะดำเนินการตามมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงาน ภายใต้งบประมาณปกติและเงินกู้ที่เหลือ ในปี 2543 ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลดีต่อภาวะการมีงานทำและลดการว่างงานของประเทศได้ในระดับหนึ่ง
3. แนวโน้มกำลังแรงงาน การมีงานทำ และการว่างงานปี 2543
3.1 สมมติฐาน การประมาณการกำลังแรงงาน การมีงานทำและการว่างงานได้กำหนดสมมติฐานที่สำคัญ ดังนี้
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4.4 - 4.5 เป็นการขยายตัวในสาขาเกษตรกรรมร้อยละ 2.0 นอกสาขาเกษตรกรรมร้อยละ 4.7
- ภาครัฐดำเนินโครงการสร้างงาน ตามมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานปี 2543 อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะสามารถสร้างงานได้ไม่น้อยกว่า 1.30 ล้านคน/ปี
- คาดว่าสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเอื้อต่อภาคเกษตรกรรม
- การเลิกจ้างในปี 2543 คาดว่าจะยังคงมีอยู่ เนื่องจากภาคเอกชนบางส่วนต้องปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ และการจ้างงานชั่วคราวภายใต้มาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจบางส่วนสิ้นสุดโครงการ
- การทำงานต่ำระดับ (ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่ม) ยังอยู่ในระดับเดียวกับปี 2542
- อัตราการเรียนต่อของนักเรียนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2542
3.2 ประมาณการแนวโน้มกำลังแรงงาน การมีงานทำ และการว่างงาน ปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1) กำลังแรงงานรวม คาดว่ากำลังแรงงานรวมจะมีจำนวน 33.27 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.36 ล้านคน โดยพิจารณาจากจำนวนประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไปที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยจูงใจที่คาดว่าจะทำให้มีผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรที่เอื้ออำนวย โครงการสร้างงานของภาครัฐภายใต้มาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานจะดำเนินการต่อไป รวมทั้งมีผู้สำเร็จการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานด้วย
2) กำลังแรงงานใหม่ คาดว่าจะมีผู้สำเร็จการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานประมาณ 0.72 ล้านคน ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้คาดว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจะเข้าสู่ตลาดแรงงานมากที่สุดประมาณ 0.17 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23.61 ของผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน รองลงมา ได้แก่ ระดับอนุปริญญาและปริญญาจำนวน 0.15 และ 0.11 ล้านคน และอื่น ๆ จำนวน 0.29 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.20 15.48 และ 39.71 ตามลำดับ
3) การมีงานทำ คาดว่าการมีงานทำเฉลี่ยทั้งปีจะมีจำนวน 31.44 ล้านคน เป็นการมีงานทำภาคเกษตรกรรมจำนวน 14.15 ล้านคน (อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสาขาเกษตรกรรมร้อยละ 2.0) และนอกภาคเกษตรกรรมจำนวน 17.29 ล้านคน (อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 4.7) โดยปัจจัยที่สนับสนุนให้มีการขยายการมีงานทำเพิ่มขึ้น ได้แก่
(1) การขยายตัวด้านการผลิตที่สำคัญในสาขาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการเพื่อเกื้อหนุนการส่งออก ซึ่งในปี 2543 ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกมูลค่า 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีการขยายตัวเพื่อรองรับการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
(2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มีการขยายการผลิตและบริการ และนำไปสู่การมีงานทำเพิ่มขึ้น
(3) ภาครัฐจะดำเนินการโครงการสร้างงานตามมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายการสร้างงาน รวม 1.30 ล้านคน/ปี
(4) วิกฤตเศรษฐกิจทำให้มีการปรับตัวเคลื่อนย้ายแรงงาน จากการทำงานภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ (Formal Sector) ไปสู่การทำงานในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sector) ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการขยายการมีงานทำในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sector) มากขึ้น อาทิ การประกอบธุรกิจส่วนตัว การค้าขาย
(5) การมีงานทำภาคเกษตรกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลทำให้การมีงานทำขยายตัวได้น้อย ได้แก่ ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนที่จะมีผลให้ภาคเอกชนนั้น ๆ ต้องปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะทำให้มีการลดจำนวนพนักงานลงอย่างเป็นขั้นตอนเป็นระยะ ๆ
4) กำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตร ถ้าสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อภาคเกษตรกรรม คาดว่าเฉลี่ยทั้งปีจะมีกำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตรประมาณ 0.78 ล้านคน โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 จะมีกำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตรสูง เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูการเกษตร และจะลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นช่วงฤดูการเกษตร
5) การว่างงานรวม จากผลการคาดการณ์จำนวนกำลังแรงงานรวม การมีงานทำ และจำนวนกำลังแรงงานที่รอฤดูการ ทำให้ประมาณการการว่างงานรวมในปี 2543 โดยเฉลี่ยจะมีจำนวน 1.06 ล้านคน ลดจากปีก่อน 0.32 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 3.19 ของกำลังแรงงานรวม
6) การทำงานต่ำระดับ (ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่ม) คาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 1.0 ล้านคน โดยจะเป็นการทำงานต่ำระดับในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sector) ส่วนภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้
สรุป ในปี 2543 คาดว่าจะมีกำลังแรงงานรวม 33.27 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 31.44 ล้านคน ผู้รอฤดูการเกษตร 0.78 ล้านคน และจะมีผู้ว่างงาน 1.06 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 3.19 ของกำลังแรงงานรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543-
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานภาวะกำลังแรงงาน การมีงานทำ และการว่างงานปี 2542 และแนวโน้มปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะกำลังแรงงาน การมีงานทำและการว่างงานปี 2542
1.1 กำลังแรงงานรวม จากรายงานการสำรวจแรงงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งได้นำตัวเลขผลการสำรวจทั้ง 4 รอบ ในปี 2542 มาเฉลี่ย ได้ผลของตัวเลขกำลังแรงงานรวมมีจำนวนเพิ่มขึ้น 0.31 ล้านคน หรือมีจำนวน 32.91 ล้านคน คาดว่าเป็นผลมาจากฤดูฝนที่เริ่มเร็วกว่าปกติในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 จึงทำให้แรงงานเคลื่อนย้ายเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมเร็วขึ้น ขณะเดียวกันวิกฤตเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อเนื่องหลายปีทำให้ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้ลดลง ไม่สามารถให้บุตรเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น จึงทำให้ประชากรวัยเรียนเข้าสู่ตลาดแรงงานเร็วขึ้น โดยเฉพาะผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ป.6 และ ม.3
1.2 การมีงานทำ ภาวะการมีการทำเฉลี่ยทั้งปีเพิ่มขึ้น 0.57 ล้านคน หรือมีจำนวน 30.84 ล้านคน เป็นการมีงานทำเพิ่มในภาคเกษตรกรรม 0.43 ล้านคน นอกภาคเกษตรกรรม 0.14 ล้านคน สาขาอุตสาหกรรมที่มีการมีงานทำเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ สาขาบริการ เพิ่มขึ้นประมาณ 0.19 ล้านคน รองลงมา ได้แก่ สาขาพาณิชยกรรม 0.15 ล้านคน สาขาอุตสาหกรรมหัตถกรรม เพิ่มขึ้น 0.03 ล้านคน สาขาอื่น ๆ 0.04 ล้านคน ส่วนสาขาที่ผู้มีงานทำลดลง ได้แก่ สาขาก่อสร้างและสาธารณูปโภค ลดลงประมาณ 0.23 และ 0.04 ล้านคน ตามลำดับ
ภาวะการมีงานทำในช่วงครึ่งปีแรกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในสาขาเกษตรกรรม นอกภาคเกษตรกรรมยังชะลอตัว ส่วนในครึ่งปีหลังการมีงานทำนอกภาคเกษตรกรรมได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน คาดว่าจะเป็นผลมาจากภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก ร้อยละ 0.2 ในไตรมาสที่ 1 เพิ่มเป็นร้อยละ 7.4 ในไตรมาสที่ 3 และผลจากโครงการสร้างงานและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐได้เริ่มเห็นผลในช่วงเวลาดังกล่าวด้วย
1.3 การว่างงานรวม ภาวะการว่างงานรวมเฉลี่ยปี 2542 ได้ลดลง 0.04 ล้านคน หรือมีจำนวน 1.38 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม ทั้งนี้ การว่างงานในครึ่งแรกของปี มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น แต่ในช่วงครึ่งหลังของปี การว่างงานได้ลดระดับลงเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันกับปีก่อน
สำหรับการว่างงานในระดับภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ ยังคงมีอัตราการว่างงานเฉลี่ยสูงกว่าภาคอื่น ๆ และการว่างงานของผู้มีการศึกษาระดับอาชีวศึกษา-มหาวิทยาลัยยังน่าเป็นห่วงที่ภาครัฐจะต้องให้ความสำคัญ รวมทั้งการพัฒนาฝีมือแรงงานแก่แรงงานระดับล่างให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่อง
1.4 การทำงานต่ำระดับ (ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่ม) การทำงานต่ำระดับเฉลี่ยทั้งปีได้เพิ่มขึ้น 0.27 ล้านคน หรือมีจำนวน 1.22 ล้านคน เป็นการเพิ่มขึ้นในเกือบทุกสาขาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะการทำงานในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal sector)
1.5 กำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตรที่ไม่พร้อมจะทำงาน กำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตรที่ไม่พร้อมจะทำงาน มีจำนวนลดลง 0.21 ล้านคน หรือมีจำนวนเฉลี่ย 0.69 ล้านคน
2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2543
ในปี 2543 ภาวะเศรษฐกิจคาดว่าจะขยายตัวต่อจากปี 2542 คาดว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 4.4 - 4.5 แต่โดยที่ภาครัฐได้ประกาศนโยบายจะลดบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่จะสนับสนุนส่งเสริมภาคเอกชนให้มีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ เช่นการส่งเสริมให้ภาคเอกชนลงทุนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภาครัฐจะดำเนินการตามมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงาน ภายใต้งบประมาณปกติและเงินกู้ที่เหลือ ในปี 2543 ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลดีต่อภาวะการมีงานทำและลดการว่างงานของประเทศได้ในระดับหนึ่ง
3. แนวโน้มกำลังแรงงาน การมีงานทำ และการว่างงานปี 2543
3.1 สมมติฐาน การประมาณการกำลังแรงงาน การมีงานทำและการว่างงานได้กำหนดสมมติฐานที่สำคัญ ดังนี้
- อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 4.4 - 4.5 เป็นการขยายตัวในสาขาเกษตรกรรมร้อยละ 2.0 นอกสาขาเกษตรกรรมร้อยละ 4.7
- ภาครัฐดำเนินโครงการสร้างงาน ตามมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานปี 2543 อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะสามารถสร้างงานได้ไม่น้อยกว่า 1.30 ล้านคน/ปี
- คาดว่าสภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรอยู่ในเกณฑ์ปกติ และเอื้อต่อภาคเกษตรกรรม
- การเลิกจ้างในปี 2543 คาดว่าจะยังคงมีอยู่ เนื่องจากภาคเอกชนบางส่วนต้องปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ และการจ้างงานชั่วคราวภายใต้มาตรการเพิ่มค่าใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจบางส่วนสิ้นสุดโครงการ
- การทำงานต่ำระดับ (ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่ม) ยังอยู่ในระดับเดียวกับปี 2542
- อัตราการเรียนต่อของนักเรียนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2542
3.2 ประมาณการแนวโน้มกำลังแรงงาน การมีงานทำ และการว่างงาน ปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1) กำลังแรงงานรวม คาดว่ากำลังแรงงานรวมจะมีจำนวน 33.27 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 0.36 ล้านคน โดยพิจารณาจากจำนวนประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไปที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยจูงใจที่คาดว่าจะทำให้มีผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาพภูมิอากาศและปริมาณน้ำเพื่อการเกษตรที่เอื้ออำนวย โครงการสร้างงานของภาครัฐภายใต้มาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานจะดำเนินการต่อไป รวมทั้งมีผู้สำเร็จการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานด้วย
2) กำลังแรงงานใหม่ คาดว่าจะมีผู้สำเร็จการศึกษาใหม่เข้าสู่ตลาดแรงงานประมาณ 0.72 ล้านคน ลดลงจากปีก่อนเล็กน้อย ทั้งนี้คาดว่าผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจะเข้าสู่ตลาดแรงงานมากที่สุดประมาณ 0.17 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 23.61 ของผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน รองลงมา ได้แก่ ระดับอนุปริญญาและปริญญาจำนวน 0.15 และ 0.11 ล้านคน และอื่น ๆ จำนวน 0.29 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 21.20 15.48 และ 39.71 ตามลำดับ
3) การมีงานทำ คาดว่าการมีงานทำเฉลี่ยทั้งปีจะมีจำนวน 31.44 ล้านคน เป็นการมีงานทำภาคเกษตรกรรมจำนวน 14.15 ล้านคน (อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจสาขาเกษตรกรรมร้อยละ 2.0) และนอกภาคเกษตรกรรมจำนวน 17.29 ล้านคน (อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 4.7) โดยปัจจัยที่สนับสนุนให้มีการขยายการมีงานทำเพิ่มขึ้น ได้แก่
(1) การขยายตัวด้านการผลิตที่สำคัญในสาขาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการเพื่อเกื้อหนุนการส่งออก ซึ่งในปี 2543 ได้กำหนดเป้าหมายการส่งออกมูลค่า 62,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 อุตสาหกรรมที่คาดว่าจะมีการขยายตัวเพื่อรองรับการส่งออกอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ และเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
(2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคที่เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้มีการขยายการผลิตและบริการ และนำไปสู่การมีงานทำเพิ่มขึ้น
(3) ภาครัฐจะดำเนินการโครงการสร้างงานตามมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงานอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายการสร้างงาน รวม 1.30 ล้านคน/ปี
(4) วิกฤตเศรษฐกิจทำให้มีการปรับตัวเคลื่อนย้ายแรงงาน จากการทำงานภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ (Formal Sector) ไปสู่การทำงานในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sector) ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการขยายการมีงานทำในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sector) มากขึ้น อาทิ การประกอบธุรกิจส่วนตัว การค้าขาย
(5) การมีงานทำภาคเกษตรกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย
สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลทำให้การมีงานทำขยายตัวได้น้อย ได้แก่ ผลกระทบจากการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนที่จะมีผลให้ภาคเอกชนนั้น ๆ ต้องปรับโครงสร้างองค์กรใหม่เพื่อลดต้นทุนการผลิต ซึ่งจะทำให้มีการลดจำนวนพนักงานลงอย่างเป็นขั้นตอนเป็นระยะ ๆ
4) กำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตร ถ้าสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อภาคเกษตรกรรม คาดว่าเฉลี่ยทั้งปีจะมีกำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตรประมาณ 0.78 ล้านคน โดยในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 จะมีกำลังแรงงานที่รอฤดูการเกษตรสูง เนื่องจากอยู่ในช่วงนอกฤดูการเกษตร และจะลดลงในช่วงไตรมาสที่ 3 และ 4 ซึ่งเป็นช่วงฤดูการเกษตร
5) การว่างงานรวม จากผลการคาดการณ์จำนวนกำลังแรงงานรวม การมีงานทำ และจำนวนกำลังแรงงานที่รอฤดูการ ทำให้ประมาณการการว่างงานรวมในปี 2543 โดยเฉลี่ยจะมีจำนวน 1.06 ล้านคน ลดจากปีก่อน 0.32 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 3.19 ของกำลังแรงงานรวม
6) การทำงานต่ำระดับ (ทำงานน้อยกว่า 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และต้องการทำงานเพิ่ม) คาดว่าจะมีไม่ต่ำกว่า 1.0 ล้านคน โดยจะเป็นการทำงานต่ำระดับในภาคเศรษฐกิจที่ไม่เป็นทางการ (Informal Sector) ส่วนภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการคาดว่าจะมีแนวโน้มลดลงเพื่อลดต้นทุนการผลิตให้สามารถแข่งขันได้
สรุป ในปี 2543 คาดว่าจะมีกำลังแรงงานรวม 33.27 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 31.44 ล้านคน ผู้รอฤดูการเกษตร 0.78 ล้านคน และจะมีผู้ว่างงาน 1.06 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 3.19 ของกำลังแรงงานรวม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543-
-สส-