คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับประเทศญี่ปุ่น (Bilateral Swap Arrangement) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
2. มอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทนลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
3. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนค้ำประกันเงินกู้ตามความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
4. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำความเห็นทางกฎหมายประกอบความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ความตกลงดังกล่าวฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประเทศสมาชิก กรณีหากประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่อง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถทำความตกลงทวิภาคีภายใต้โครงการดังกล่าวกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (ASEAN+3) ตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญาและเงื่อนไขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
ร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับประเทศญี่ปุ่น มีสาระสำคัญดังนี้
1. ความตกลงทวิภาคีดังกล่าวเป็นลักษณะที่ไทยสามารถกู้จากญี่ปุ่นฝ่ายเดียว และอยู่ในรูปของการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับเงินบาท ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น
2. จำนวนวงเงินที่ประเทศไทยจะเบิกถอนได้สูงสุดจำนวน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
3. การกู้เงินแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง อย่างไรก็ตามการเบิกถอนหรือการต่ออายุจะต้องดำเนินการภายใน 3 ปี นับจากสัญญามีผลบังคับใช้
4. อัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้เท่ากับ LIBOR+150 basis points สำหรับการเบิกถอนครั้งแรกและการต่ออายุครั้งแรก หลังจากนั้นส่วนต่างจะเพิ่มขึ้น 50 basis points สำหรับการต่ออายุทุก 2 ครั้ง แต่ส่วนต่างดังกล่าวจะต้องไม่สูงกว่า 300 basis points
5. ความช่วยเหลือด้านการเงินภายใต้ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราจะสามารถเบิกถอนได้ก็ต่อเมื่อประเทศผู้ขอกู้เข้าโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือกำลังจะเข้าโครงการในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ขอกู้สามารถเบิกถอนเงินได้จำนวนร้อยละ 10 ของวงเงินทั้งหมดเป็นเวลา 180 วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF
6. รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้ความตกลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 5 มิ.ย. 2544
-สส-
1. เห็นชอบในหลักการความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
2. มอบหมายให้ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยหรือผู้แทนลงนามในความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
3. มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนค้ำประกันเงินกู้ตามความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
4. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดทำความเห็นทางกฎหมายประกอบความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายความตกลงทวิภาคีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative) ความตกลงดังกล่าวฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นมาตรการป้องกันและช่วยเหลือประเทศสมาชิก กรณีหากประสบปัญหาดุลการชำระเงินหรือขาดสภาพคล่อง โดยประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถทำความตกลงทวิภาคีภายใต้โครงการดังกล่าวกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ (ASEAN+3) ตามวงเงินสูงสุดที่กำหนดไว้ในแต่ละสัญญาและเงื่อนไขเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ
ร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรากับประเทศญี่ปุ่น มีสาระสำคัญดังนี้
1. ความตกลงทวิภาคีดังกล่าวเป็นลักษณะที่ไทยสามารถกู้จากญี่ปุ่นฝ่ายเดียว และอยู่ในรูปของการแลกเปลี่ยนเงินตราสกุลเงินเหรียญสหรัฐกับเงินบาท ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่น
2. จำนวนวงเงินที่ประเทศไทยจะเบิกถอนได้สูงสุดจำนวน 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ
3. การกู้เงินแต่ละครั้งมีอายุ 90 วัน และสามารถต่ออายุได้ 7 ครั้ง อย่างไรก็ตามการเบิกถอนหรือการต่ออายุจะต้องดำเนินการภายใน 3 ปี นับจากสัญญามีผลบังคับใช้
4. อัตราดอกเบี้ยกำหนดไว้เท่ากับ LIBOR+150 basis points สำหรับการเบิกถอนครั้งแรกและการต่ออายุครั้งแรก หลังจากนั้นส่วนต่างจะเพิ่มขึ้น 50 basis points สำหรับการต่ออายุทุก 2 ครั้ง แต่ส่วนต่างดังกล่าวจะต้องไม่สูงกว่า 300 basis points
5. ความช่วยเหลือด้านการเงินภายใต้ความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราจะสามารถเบิกถอนได้ก็ต่อเมื่อประเทศผู้ขอกู้เข้าโครงการความช่วยเหลือทางการเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) หรือกำลังจะเข้าโครงการในระยะเวลาอันใกล้ อย่างไรก็ตาม ประเทศผู้ขอกู้สามารถเบิกถอนเงินได้จำนวนร้อยละ 10 ของวงเงินทั้งหมดเป็นเวลา 180 วัน โดยไม่จำเป็นต้องเข้าโครงการ IMF
6. รัฐบาลไทยเป็นผู้ค้ำประกันการกู้ยืมเงินของธนาคารแห่งประเทศไทยภายใต้ความตกลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 5 มิ.ย. 2544
-สส-