คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) เสนอผลการประชุม คกก. 5 ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2544 สรุปผลการประชุมได้ ดังนี้
1. กรอบการดำเนินงานของ คกก. 5 ที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบการดำเนินงานของ คกก. 5 ดังนี้
1.1 เรื่องที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของ คกก. 5 มี 3 กลุ่ม คือ
1) เรื่องสำคัญที่ต้องกลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีในด้านการเงิน การคลัง การภาษีอากร สถาบันการเงิน การผลิต การเกษตร การอุตสาหกรรม การลงทุน การหารายได้เข้าประเทศ การนำเข้าและส่งออกสินค้า
2) เรื่องสำคัญที่ต้องประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะ ที่เป็นมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายของคณะรัฐมนตรี ตามข้อ 1) ทั้งนี้เรื่องเชิงรุกเหล่านี้อาจมาจากการริเริ่มของคณะกรรมการยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เชิงรุกในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของชาติ ที่ประชุมทุกวันจันทร์ก็ได้
3) เรื่องที่เป็นบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 83 มาตรา 84และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญ
1.2 แนวทางการทำงาน
1) การเสนอเรื่อง เรื่องที่ คกก. 5 จะพิจารณาจะมาจาก 3 ทาง คือ เรื่องที่มาจากกระทรวง ทบวงกรม และหน่วยงานเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เรื่องที่เสนอโดยกรรมการ โดยความเห็นชอบของประธาน และเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองคณะอื่นขอให้พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จะแจ้งเวียนขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาจัดระเบียบวาระและขออนุมัติจากประธานกรรมการฯ
2) การวิเคราะห์ ฝ่ายเลขานุการฯ (สศช.) จะประมวลความเห็นจากหน่วยงานที่ สลค. ได้แจ้งเวียนขอความเห็น และจะวิเคราะห์เบื้องต้นเสนอต่อ คกก. 5 เพื่อพิจารณาตัดสินและมีมติ
3) การเสนอมติของคณะกรรมการฯ สลค. จะเสนอเรื่องที่ผ่านการพิจารณาของ คกก. 5 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาแล้วแต่กรณี
1.3 วันเวลาและสถานที่ประชุม ทุกวันพุธ เวลา 09.00 น. สำหรับสถานที่ประชุมจะใช้ห้องประชุม301 ตึกบัญชาการ ชั้น 3 หรือห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีความเห็นและข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีทั้ง 5 คณะว่า เพื่อให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ปฏิบัติหน้าที่เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีความรอบคอบและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อลดปริมาณเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะวาระจร ดังนั้น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีทุกคนควรให้ความสำคัญและใช้กลไกคณะกรรมการกลั่นกรองฯอย่างเต็มที่
2. ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2544 ที่ประชุมรับทราบภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2544 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ทั้งนี้ เป็นการรายงานข้อมูลเดียวกับที่คณะรัฐมนตรีได้รับทราบเรื่องนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544
3. หัวข้อเรื่องที่นำมาบรรจุในวาระการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป ที่ประชุมได้มีการพิจารณาหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ที่เห็นสมควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเสนอให้ คกก. 5 พิจารณาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเห็นชอบว่าในเบื้องต้นหัวข้อเรื่องที่ คกก. 5 สมควรที่จะนำมาพิจารณาในโอกาสแรก ๆ ควรเป็นเรื่องต่อไปนี้
3.1 การพัฒนาความสามารถในการเพิ่มรายได้จากการส่งออก
3.2 การเพิ่มความสามารถในการหารายได้จากการท่องเที่ยว
3.3 การส่งเสริมการนิยมไทย
3.4 การลดการนำเข้า
3.5 การแก้ไขปัญหาภาคเกษตร
3.6 การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
3.7 ดุลบัญชีเดินสะพัด
ทั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญแก่ข้อ 3.1 - 3.3 เป็นลำดับแรก โดยให้ฝ่ายเลขานุการแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับเรื่องเหล่านี้ไปดำเนินการวิเคราะห์และจัดทำมาตรการแนวทางเชิงรุก โดยเมื่อมีความพร้อมแล้วก็ให้เสนอ คกก. 5พิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 27 มี.ค.2544
-สส-
1. กรอบการดำเนินงานของ คกก. 5 ที่ประชุมได้เห็นชอบกรอบการดำเนินงานของ คกก. 5 ดังนี้
1.1 เรื่องที่อยู่ในขอบเขตความรับผิดชอบของ คกก. 5 มี 3 กลุ่ม คือ
1) เรื่องสำคัญที่ต้องกลั่นกรองก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีในด้านการเงิน การคลัง การภาษีอากร สถาบันการเงิน การผลิต การเกษตร การอุตสาหกรรม การลงทุน การหารายได้เข้าประเทศ การนำเข้าและส่งออกสินค้า
2) เรื่องสำคัญที่ต้องประเมิน วิเคราะห์ และเสนอแนะ ที่เป็นมาตรการหรือแนวทางตัดสินใจเชิงรุกในประเด็นนโยบายของคณะรัฐมนตรี ตามข้อ 1) ทั้งนี้เรื่องเชิงรุกเหล่านี้อาจมาจากการริเริ่มของคณะกรรมการยุทธศาสตร์และกลยุทธ์เชิงรุกในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของชาติ ที่ประชุมทุกวันจันทร์ก็ได้
3) เรื่องที่เป็นบทบัญญัติในหมวด 5 ว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา 83 มาตรา 84และมาตรา 87 ของรัฐธรรมนูญ
1.2 แนวทางการทำงาน
1) การเสนอเรื่อง เรื่องที่ คกก. 5 จะพิจารณาจะมาจาก 3 ทาง คือ เรื่องที่มาจากกระทรวง ทบวงกรม และหน่วยงานเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี เรื่องที่เสนอโดยกรรมการ โดยความเห็นชอบของประธาน และเรื่องที่คณะกรรมการกลั่นกรองคณะอื่นขอให้พิจารณา โดยสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) จะแจ้งเวียนขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจัดส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาจัดระเบียบวาระและขออนุมัติจากประธานกรรมการฯ
2) การวิเคราะห์ ฝ่ายเลขานุการฯ (สศช.) จะประมวลความเห็นจากหน่วยงานที่ สลค. ได้แจ้งเวียนขอความเห็น และจะวิเคราะห์เบื้องต้นเสนอต่อ คกก. 5 เพื่อพิจารณาตัดสินและมีมติ
3) การเสนอมติของคณะกรรมการฯ สลค. จะเสนอเรื่องที่ผ่านการพิจารณาของ คกก. 5 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือเพื่อพิจารณาแล้วแต่กรณี
1.3 วันเวลาและสถานที่ประชุม ทุกวันพุธ เวลา 09.00 น. สำหรับสถานที่ประชุมจะใช้ห้องประชุม301 ตึกบัญชาการ ชั้น 3 หรือห้องประชุมสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ตามความเหมาะสม
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีความเห็นและข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีทั้ง 5 คณะว่า เพื่อให้คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ปฏิบัติหน้าที่เป็นกลไกที่มีประสิทธิภาพในการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีความรอบคอบและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อลดปริมาณเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี โดยเฉพาะวาระจร ดังนั้น รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีทุกคนควรให้ความสำคัญและใช้กลไกคณะกรรมการกลั่นกรองฯอย่างเต็มที่
2. ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2544 ที่ประชุมรับทราบภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2544 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ ทั้งนี้ เป็นการรายงานข้อมูลเดียวกับที่คณะรัฐมนตรีได้รับทราบเรื่องนี้ไปแล้วเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2544
3. หัวข้อเรื่องที่นำมาบรรจุในวาระการประชุมครั้งต่อ ๆ ไป ที่ประชุมได้มีการพิจารณาหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ที่เห็นสมควรให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเสนอให้ คกก. 5 พิจารณาเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลและเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยเห็นชอบว่าในเบื้องต้นหัวข้อเรื่องที่ คกก. 5 สมควรที่จะนำมาพิจารณาในโอกาสแรก ๆ ควรเป็นเรื่องต่อไปนี้
3.1 การพัฒนาความสามารถในการเพิ่มรายได้จากการส่งออก
3.2 การเพิ่มความสามารถในการหารายได้จากการท่องเที่ยว
3.3 การส่งเสริมการนิยมไทย
3.4 การลดการนำเข้า
3.5 การแก้ไขปัญหาภาคเกษตร
3.6 การสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME)
3.7 ดุลบัญชีเดินสะพัด
ทั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญแก่ข้อ 3.1 - 3.3 เป็นลำดับแรก โดยให้ฝ่ายเลขานุการแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับเรื่องเหล่านี้ไปดำเนินการวิเคราะห์และจัดทำมาตรการแนวทางเชิงรุก โดยเมื่อมีความพร้อมแล้วก็ให้เสนอ คกก. 5พิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 27 มี.ค.2544
-สส-