ทำเนียบรัฐบาล--11 ม.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบและพิจารณาปัญหาการปกป้องพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. รับทราบรายงานผลการศึกษาของคณะทำงานพิเศษเพื่อศึกษากฎหมายและผลกระทบในการแก้ไขปัญหาการปกป้องพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 สิทธิบัตรและพันธุ์พืช พันธุ์ข้าวที่บริษัทไรซ์เทคฯ นำไปจดทะเบียนสิทธิบัตรและกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชไม่ใช่ข้าวพันธุ์หอมมะลิไทย และพันธุ์ข้าวที่บริษัทโรงสีข้าวดูเก็ตฯ นำไปใช้ประโยชน์ก็เป็นพันธุ์ข้าวลูกผสม ซึ่งเกิดจากการใช้พันธุ์ข้าวต้นเตี้ย IR 262 ผสมกับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของไทย ซึ่งปรับปรุงพันธุ์โดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRR) และกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้ทดลองนำไปปลูก โดยตั้งชื่อว่า JASMINE 85 และบริษัทโรงสีข้าวดูเก็ตฯ ไม่ได้นำไปจดทะเบียนสิทธิบัตรแต่อย่างใด เพียงแต่นำไปขึ้นทะเบียนไว้กับ American Society of Agronomy เท่านั้น นอกจากนี้พันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยไม่สามารถนำไปจดทะเบียนตามกฎหมายสิทธิบัตรและกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากไม่ใช่พันธุ์พืชใหม่ (New Variety) ดังนั้นบริษัทไรซ์เทค จำกัด จึงไม่ได้นำเอาพันธุ์ข้าวหอมมะิลของไทยไปจดทะเบียน หรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าหรือเพื่อการอื่นแต่อย่างใด
1.2 การขดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ (Lanham Act) ประกอบด้วย ทะเบียน 2 ประเภท ได้แก่
- ทะเบียนหลัก (Pricipal Register) ได้แก่ ลักษณะของเครื่องหมายที่รับจดทะเบียนได้หรือรับจดไม่ได้เงื่อนไขและผลของการจดทะเบียนซึ่งบริษัทไรซ์เทค จำกัด ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า JASMATI ไว้
- ทะเบียนรอง (Supplemental Register) ได้แก่ เครื่องหมายการค้าที่ไม่อาจขอรับการจดทะเบียนในทะเบียนหลัก วัตถุประสงค์ของการจดทะเบียน เงื่อนไขและผลของการจดทะเบียนตามกฎหมาย
1.3 แนวทางในการดำเนินคดีตามกฎหมาย การดำเนินคดีกับบริษัทไรซ์เทค จำกัด ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ สามารถดำเนินการได้ใน 2 แนวทาง กล่าวคือ
1) ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัทไรซ์ เทคฯ (ตามมาตรา 1064) เป็นเรื่องการใช้เครื่องหมายการค้า JASMATI ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก ขึ้นอยู่กับการนำสืบหลักฐานเพื่อให้เห็นถึงเจตนาของบริษัทฯ เช่น สำรวจความเห็นผู้บริโภคชาวอเมริกันว่าหลงผิดคิดว่าเป็นสินค้าข้าวจากไทยหรือไม่ เป็นต้น
2) ฟ้องคดีแพ่ง (ตามมาตรา 1125) เพราะบริษัทไรซ์เทคฯ ได้ใช้เครื่องหมายการค้าในลักษณะที่หลอกลวงแหล่งกำเนิดสินค้า ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่ามาจากประเทศไทย เนื่องจากผู้ส่งออกของไทยได้มีการใช้คำว่า Jasmine Rice กับสินค้าข้าวหอมมะลิ ซึ่งการฟ้องร้องจะสำเร็จขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ในศาลสหรัฐฯ ถึงความเกี่ยวพันระหว่าง Jasmine Rice กับประเทศไทย เป็นเรื่องทำได้ยาก เพราะไทยยังไม่เคยยื่นขอจดทะเบียนการค้า คำว่า Jasmine Rice และการใช้คำนี้ของผู้ส่งออกไทยเป็นในลักษณะบรรยายคุณลักษระหรือประเภทสินค้า ไม่ใช่ในลักษณะเครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจทำให้ประเทศอื่นมีสิทธิใช้คำดังกล่าวได้
1.4 กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (Federal Trade Commission Act) เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าและให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องหมายการค้า JASMATI อาจเข้าข่ายหลอกลวงทางการค้า มาตรา 45 (1) เพราะเป็นคำผสมระหว่าง Jasmine Rice ที่ผู้ส่งออกไทยใช้กับข้าวหอมมะลิ และ Basmati ซึ่งเป็นชื่อพันธุ์ข้าวหอมอินเดียและปากีสถาน ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และในการยื่นร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการการค้ากลางไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่อาจต้องมีค่าใช้จ่ายในการรวบรวมหลักฐาน
1.5 กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายดังกล่ว เนื่องจากคำว่า JASMATI และ Jasmine Rice ไม่มีส่วนใดถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของไทย
1.6 สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute : IRRI) จากการศึกษา พบว่า การที่หน่วยงานไทยนำพันธุ์ข้าวไปฝากไว้กับ IRRI ก่อให้เกิดปัญหาการนำพันธุ์ช้าวไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิที่เพียงพอแก่ประเทศเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมข้าว
2. ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานฯ ดังนี้
2.1 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนพันธุ์พืชที่พัฒนาหรือปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยและในต่างประเทศ รวมทั้งติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ในการใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทย โดยไม่ได้ขออนุญาตและจ่ายค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับขอความร่วมมือจากผู้ส่งออกในการทำลายความงอกของข้าวก่อนการส่งออก
2.2 ควรชะลอการขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้า JASMATI ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ (Lanham Act) ไว้ก่อน เนื่องจากรัฐบาลอินเดียได้ขอเพิกถอนการจดทะเบียน JASMATI และเครื่องหมายอื่น ๆ ในหลายประเทศซึ่งประสบความสำเร็จแล้วในประเทศอังกฤษ และประเทศไทยควรให้ความร่วมมือแก่บริษัทซันลี จำกัด ในการขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้า JASMATI เพราะเป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย นอกจากนี้ ควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกไทยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า JASMATI ในประเทศต่าง ๆ เพื่อปกป้องสิทธิของไทย
2.3 ควรดำเนินการร้องทุกข์ต่อคณะกรรมาธิการการค้ากลางของสหรัฐฯ ตามกฎหมาย Federal Trade Commission Act เพื่อให้ดำเนินการสอบสวนการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยการหลอกลวงทางการค้าที่ใช้เครื่องหมาย JASMATI ของบริษัทไรซ์เทค จำกัด
2.4 ควบมอบหมายให้คณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายของชีวภาพแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์กลางประสานงาน ทำความตกลงเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมข้าวระหว่างหน่วยงานไทยกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติให้มีความรัดกุม พร้อมทั้งขอความร่วมมือและช่วยกันป้องกันมิให้มีการนำเอาสายพันธุ์ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ถูกต้อง
2.5 สนับสนุนเงินทุนเพื่อใช้ในการปกป้องพันธุ์ข้าวของไทยตามความจำเป็นเร่งด่วนจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
3. คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะทำงาน ดังนี้
3.1 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมาธิการการค้ากลางของสหรัฐฯ ให้ดำเนินการตาม Federal Trade Commission Act พร้อมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจ้างบริษัทที่ปรึกษากฎหมายให้รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว และจัดสรรเงินทุนเพื่อใช้ในการส่งเสริมการปกป้องพันธุ์ข้าวของไทย ตามความจำเป็นเร่งด่วนจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
3.2 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดดำเนินการให้มีการจดทะเบียนพันธุ์พืชที่พัฒนาและปรับปรุงขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และในต่างประเทศที่เป็นตลาดคู่ค้า
3.3 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันกำหนดแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นข้อบังคับให้ผู้ส่งออกข้าวทำลายความงอกของข้าวกล้องก่อนที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เพื่อป้องกันการนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยไปขยาย หรือปรับปรุงพันธุ์ในต่างประเทศ
3.4 มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานกลางร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอความร่วมมือจาก IRRI ในการเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับการที่จะอนุญาตให้ประเทศหรือหน่วยงานใดนำทรัพยากรพันธุกรรมในความดูแลของ IRRI ไปใช้ประโยชน์ และในการจัดทำความตกลงเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมข้าว หรือ Material Transfer Agreement (MTA) ระหว่างหน่วยงานของไทย กับ IRRI หรือหน่วยงานอื่นให้มีความรัดกุม มีความเป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มกราคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบและพิจารณาปัญหาการปกป้องพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1. รับทราบรายงานผลการศึกษาของคณะทำงานพิเศษเพื่อศึกษากฎหมายและผลกระทบในการแก้ไขปัญหาการปกป้องพันธุ์ข้าวหอมมะลิไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 สิทธิบัตรและพันธุ์พืช พันธุ์ข้าวที่บริษัทไรซ์เทคฯ นำไปจดทะเบียนสิทธิบัตรและกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชไม่ใช่ข้าวพันธุ์หอมมะลิไทย และพันธุ์ข้าวที่บริษัทโรงสีข้าวดูเก็ตฯ นำไปใช้ประโยชน์ก็เป็นพันธุ์ข้าวลูกผสม ซึ่งเกิดจากการใช้พันธุ์ข้าวต้นเตี้ย IR 262 ผสมกับพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ของไทย ซึ่งปรับปรุงพันธุ์โดยสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRR) และกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกาได้ทดลองนำไปปลูก โดยตั้งชื่อว่า JASMINE 85 และบริษัทโรงสีข้าวดูเก็ตฯ ไม่ได้นำไปจดทะเบียนสิทธิบัตรแต่อย่างใด เพียงแต่นำไปขึ้นทะเบียนไว้กับ American Society of Agronomy เท่านั้น นอกจากนี้พันธุ์ข้าวหอมมะลิไทยไม่สามารถนำไปจดทะเบียนตามกฎหมายสิทธิบัตรและกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชของสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากไม่ใช่พันธุ์พืชใหม่ (New Variety) ดังนั้นบริษัทไรซ์เทค จำกัด จึงไม่ได้นำเอาพันธุ์ข้าวหอมมะิลของไทยไปจดทะเบียน หรือใช้ประโยชน์ในทางการค้าหรือเพื่อการอื่นแต่อย่างใด
1.2 การขดจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า การขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ (Lanham Act) ประกอบด้วย ทะเบียน 2 ประเภท ได้แก่
- ทะเบียนหลัก (Pricipal Register) ได้แก่ ลักษณะของเครื่องหมายที่รับจดทะเบียนได้หรือรับจดไม่ได้เงื่อนไขและผลของการจดทะเบียนซึ่งบริษัทไรซ์เทค จำกัด ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า JASMATI ไว้
- ทะเบียนรอง (Supplemental Register) ได้แก่ เครื่องหมายการค้าที่ไม่อาจขอรับการจดทะเบียนในทะเบียนหลัก วัตถุประสงค์ของการจดทะเบียน เงื่อนไขและผลของการจดทะเบียนตามกฎหมาย
1.3 แนวทางในการดำเนินคดีตามกฎหมาย การดำเนินคดีกับบริษัทไรซ์เทค จำกัด ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ สามารถดำเนินการได้ใน 2 แนวทาง กล่าวคือ
1) ขอเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัทไรซ์ เทคฯ (ตามมาตรา 1064) เป็นเรื่องการใช้เครื่องหมายการค้า JASMATI ในลักษณะที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิดสินค้าซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ได้ยาก ขึ้นอยู่กับการนำสืบหลักฐานเพื่อให้เห็นถึงเจตนาของบริษัทฯ เช่น สำรวจความเห็นผู้บริโภคชาวอเมริกันว่าหลงผิดคิดว่าเป็นสินค้าข้าวจากไทยหรือไม่ เป็นต้น
2) ฟ้องคดีแพ่ง (ตามมาตรา 1125) เพราะบริษัทไรซ์เทคฯ ได้ใช้เครื่องหมายการค้าในลักษณะที่หลอกลวงแหล่งกำเนิดสินค้า ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่ามาจากประเทศไทย เนื่องจากผู้ส่งออกของไทยได้มีการใช้คำว่า Jasmine Rice กับสินค้าข้าวหอมมะลิ ซึ่งการฟ้องร้องจะสำเร็จขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ในศาลสหรัฐฯ ถึงความเกี่ยวพันระหว่าง Jasmine Rice กับประเทศไทย เป็นเรื่องทำได้ยาก เพราะไทยยังไม่เคยยื่นขอจดทะเบียนการค้า คำว่า Jasmine Rice และการใช้คำนี้ของผู้ส่งออกไทยเป็นในลักษณะบรรยายคุณลักษระหรือประเภทสินค้า ไม่ใช่ในลักษณะเครื่องหมายการค้า ซึ่งอาจทำให้ประเทศอื่นมีสิทธิใช้คำดังกล่าวได้
1.4 กฎหมายว่าด้วยการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม (Federal Trade Commission Act) เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการแข่งขันทางการค้าและให้ความคุ้มครองแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เครื่องหมายการค้า JASMATI อาจเข้าข่ายหลอกลวงทางการค้า มาตรา 45 (1) เพราะเป็นคำผสมระหว่าง Jasmine Rice ที่ผู้ส่งออกไทยใช้กับข้าวหอมมะลิ และ Basmati ซึ่งเป็นชื่อพันธุ์ข้าวหอมอินเดียและปากีสถาน ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด และในการยื่นร้องทุกข์ต่อคณะกรรมการการค้ากลางไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่อาจต้องมีค่าใช้จ่ายในการรวบรวมหลักฐาน
1.5 กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ยังไม่มีประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกฎหมายดังกล่ว เนื่องจากคำว่า JASMATI และ Jasmine Rice ไม่มีส่วนใดถือว่าเป็นชื่อทางภูมิศาสตร์ของไทย
1.6 สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (International Rice Research Institute : IRRI) จากการศึกษา พบว่า การที่หน่วยงานไทยนำพันธุ์ข้าวไปฝากไว้กับ IRRI ก่อให้เกิดปัญหาการนำพันธุ์ช้าวไปใช้อย่างไม่เหมาะสม ไม่สามารถคุ้มครองสิทธิที่เพียงพอแก่ประเทศเจ้าของทรัพยากรพันธุกรรมข้าว
2. ให้ความเห็นชอบตามข้อเสนอแนะของคณะทำงานฯ ดังนี้
2.1 ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และส่งเสริมให้มีการจดทะเบียนพันธุ์พืชที่พัฒนาหรือปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่ให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายไทยและในต่างประเทศ รวมทั้งติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ในการใช้ประโยชน์จากพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทย โดยไม่ได้ขออนุญาตและจ่ายค่าตอบแทนการใช้ประโยชน์ควบคู่ไปกับขอความร่วมมือจากผู้ส่งออกในการทำลายความงอกของข้าวก่อนการส่งออก
2.2 ควรชะลอการขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้า JASMATI ตามกฎหมายเครื่องหมายการค้าสหรัฐฯ (Lanham Act) ไว้ก่อน เนื่องจากรัฐบาลอินเดียได้ขอเพิกถอนการจดทะเบียน JASMATI และเครื่องหมายอื่น ๆ ในหลายประเทศซึ่งประสบความสำเร็จแล้วในประเทศอังกฤษ และประเทศไทยควรให้ความร่วมมือแก่บริษัทซันลี จำกัด ในการขอเพิกถอนเครื่องหมายการค้า JASMATI เพราะเป็นผู้นำเข้าข้าวหอมมะลิจากไทย นอกจากนี้ ควรสนับสนุนให้ผู้ส่งออกไทยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า JASMATI ในประเทศต่าง ๆ เพื่อปกป้องสิทธิของไทย
2.3 ควรดำเนินการร้องทุกข์ต่อคณะกรรมาธิการการค้ากลางของสหรัฐฯ ตามกฎหมาย Federal Trade Commission Act เพื่อให้ดำเนินการสอบสวนการกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมาย โดยการหลอกลวงทางการค้าที่ใช้เครื่องหมาย JASMATI ของบริษัทไรซ์เทค จำกัด
2.4 ควบมอบหมายให้คณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายของชีวภาพแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นศูนย์กลางประสานงาน ทำความตกลงเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมข้าวระหว่างหน่วยงานไทยกับสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติให้มีความรัดกุม พร้อมทั้งขอความร่วมมือและช่วยกันป้องกันมิให้มีการนำเอาสายพันธุ์ไปใช้ประโยชน์โดยไม่ถูกต้อง
2.5 สนับสนุนเงินทุนเพื่อใช้ในการปกป้องพันธุ์ข้าวของไทยตามความจำเป็นเร่งด่วนจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
3. คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะทำงาน ดังนี้
3.1 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ ยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมาธิการการค้ากลางของสหรัฐฯ ให้ดำเนินการตาม Federal Trade Commission Act พร้อมทั้งสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจ้างบริษัทที่ปรึกษากฎหมายให้รวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อยื่นคำร้องทุกข์ต่อคณะกรรมาธิการฯ ดังกล่าว และจัดสรรเงินทุนเพื่อใช้ในการส่งเสริมการปกป้องพันธุ์ข้าวของไทย ตามความจำเป็นเร่งด่วนจากกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
3.2 มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งรัดดำเนินการให้มีการจดทะเบียนพันธุ์พืชที่พัฒนาและปรับปรุงขึ้นใหม่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และในต่างประเทศที่เป็นตลาดคู่ค้า
3.3 มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกันกำหนดแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อใช้เป็นข้อบังคับให้ผู้ส่งออกข้าวทำลายความงอกของข้าวกล้องก่อนที่จะส่งออกไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เพื่อป้องกันการนำพันธุ์ข้าวหอมมะลิของไทยไปขยาย หรือปรับปรุงพันธุ์ในต่างประเทศ
3.4 มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานกลางร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอความร่วมมือจาก IRRI ในการเพิ่มความระมัดระวังเกี่ยวกับการที่จะอนุญาตให้ประเทศหรือหน่วยงานใดนำทรัพยากรพันธุกรรมในความดูแลของ IRRI ไปใช้ประโยชน์ และในการจัดทำความตกลงเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมข้าว หรือ Material Transfer Agreement (MTA) ระหว่างหน่วยงานของไทย กับ IRRI หรือหน่วยงานอื่นให้มีความรัดกุม มีความเป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อประเทศมากที่สุด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 มกราคม 2543--