แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเสนอ การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดสรรค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 โดยยังไม่ได้พิจารณารายละเอียดโครงการ ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 สร้างงาน เป็นโครงการก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศ เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงาน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.4 ล้านคนในขณะนี้ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมบางสาขา เช่น อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ ประกอบกับจะมีแรงงานใหม่ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีกำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วย
1.2 เพิ่มรายได้ เป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต การยกระดับคุณภาพ/มาตรฐาน ตลอดจนการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต ทั้งสินค้าเกษตร การท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศได้ด้วย
1.3 ขยายผลโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว เป็นโครงการต่อยอดหรือขยายผลโครงการเดิมที่ดีมีอยู่แล้วให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และขยายผลประโยชน์ออกไปได้มากขึ้น
1.4 เสริมแผนงานที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ เป็นโครงการที่จะช่วยเสริมแผนงานพัฒนาต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เช่น การแก้ไขจุดเชื่อมโยงต่าง ๆ (Missing Link) หรือการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยังขาดอยู่ ตัวอย่างเช่น แผนพัฒนาท่องเที่ยวเกาะสมุย แผนพัฒนาบริเวณพื้นที่ชายแดน
1.5 วางรากฐานการพัฒนาระยะยาว เป็นโครงการที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ศักยภาพของคน และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณากลั่นกรองโครงการ โดยยึดหลักการให้ลำดับความสำคัญกับโครงการที่สามารถตอบสนองต่อหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการดังกล่าวข้างต้นได้มากที่สุดก่อน
2. แนวทางการจัดเตรียมโครงการ คณะกรรมการฯ จะให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมโครงการที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อให้สามารถติดตามประเมินผลได้อย่างเป็นระบบด้วย กล่าวคือ แต่ละโครงการควรต้องมีตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการที่เป็นรูปธรรม ทั้งผลสำเร็จในการดำเนินงาน เช่น ก่อให้เกิดการจ้างงาน การเพิ่มรายได้ และผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดจากโครงการ โดยคณะกรรมการฯ พร้อมจะสนับสนุนจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาเข้าช่วยเหลือหน่วยงานในการปรับปรุงจัดทำโครงการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย
3. ประเภทและลักษณะโครงการ
3.1 ประเภทโครงการ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าโครงการที่จะขอใช้งบสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1) โครงการที่เสนอโดยหน่วยงานส่วนกลาง โดยหน่วยงานระดับกรมและรัฐวิสาหกิจ นำเสนอโครงการผ่านกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัด ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติทั่วไป
2) โครงการที่เสนอโดยหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ซึ่งน่าจะมีการบูรณาการโครงการเหล่านี้เข้าด้วยกัน โดยยึดพื้นที่ ภารกิจ และกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคประชาชน และประชาสังคมในระดับจังหวัดเป็นหลัก ทั้งนี้ เพื่อให้การกระตุ้นเศรษฐกิจมีจุดเน้นในระดับพื้นที่แล้ว ยังสามารถจะช่วยให้เกิดกระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สู่การปฏิบัติ รวมทั้งยังเป็นการสร้างกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในระดับรากหญ้า และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอีกด้วย
3.2 ลักษณะทั่วไปของโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของการใช้จ่ายเงินสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ ยังมีความเห็นว่าโครงการที่จะขอใช้เงินสำรองฯ ควรมีลักษณะการใช้จ่ายเงิน ดังนี้
1) มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 1 ปี และไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพันงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป
2) มีองค์ประกอบการใช้จ่ายที่เน้นการจ้างงาน โดยเฉพาะแรงงานในท้องถิ่น และเน้นการใช้วัตถุดิบ/วัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศเป็นหลัก
4. การเบิกจ่ายงบประมาณ คณะกรรมการฯ เห็นว่าค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ถือเป็นงบกลาง จึงต้องมีการดำเนินการและเบิกจ่ายผ่านส่วนราชการตามกลไกปกติ ซึ่งในกรณีการเบิกจ่ายในส่วนของงบประจำ เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน จะสามารถเบิกจ่ายได้เร็วอยู่แล้วตามขั้นตอนปกติ แต่สำหรับงบลงทุน เช่น งานก่อสร้างของหน่วยงานราชการ และหน่วยงานระดับพื้นที่/ภาคประชาสังคมการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอนการใช้งบประมาณปกติในลักษณะ Pre-Audit อาจไม่สามารถนำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้เร็วตามเป้าหมาย และไม่เกิดผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันต่อเหตุการณ์ จึงอาจต้องพิจารณาหาแนวทางเร่งรัดการเบิกจ่ายให้มีความคล่องตัว โดยมีระเบียบพิเศษเพื่อการนี้ด้วย
5. ผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาและวิเคราะห์เบื้องต้นถึงผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันด้วยว่า ในกรณีที่สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้จำนวน 10,000 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2544เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 2.2 และหากสามารถเบิกจ่ายได้ในไตรมาสที่ 1 ถึง 3 ของปี 2545 อีกไตรมาสละ 16,000 ล้านบาท จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2545 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 4 ตามเป้าหมายที่กำหนด
6. โครงการที่หน่วยงานเสนอมาจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการฯ ได้รับทราบข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ของกระทรวง ทบวง และหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 437 โครงการวงเงิน 70,498.11 ล้านบาท และได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปพิจารณากลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญโครงการในเบื้องต้น ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด (ข้อ 1) เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป โดยเบื้องต้นคณะกรรมการฯ มีกำหนดจะประชุมทุกสัปดาห์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
1. หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2544 โดยให้ความสำคัญกับโครงการที่ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 สร้างงาน เป็นโครงการก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศ เพื่อบรรเทาปัญหาการว่างงาน ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.4 ล้านคนในขณะนี้ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากการชะลอตัวของอุตสาหกรรมบางสาขา เช่น อุตสาหกรรมอิเลคทรอนิคส์ ประกอบกับจะมีแรงงานใหม่ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีกำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานด้วย
1.2 เพิ่มรายได้ เป็นโครงการที่ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต การยกระดับคุณภาพ/มาตรฐาน ตลอดจนการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิต ทั้งสินค้าเกษตร การท่องเที่ยว และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้เงินตราต่างประเทศได้ด้วย
1.3 ขยายผลโครงการเดิมที่มีอยู่แล้ว เป็นโครงการต่อยอดหรือขยายผลโครงการเดิมที่ดีมีอยู่แล้วให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง และขยายผลประโยชน์ออกไปได้มากขึ้น
1.4 เสริมแผนงานที่มีอยู่ให้สมบูรณ์ เป็นโครงการที่จะช่วยเสริมแผนงานพัฒนาต่าง ๆ ให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น เช่น การแก้ไขจุดเชื่อมโยงต่าง ๆ (Missing Link) หรือการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกที่ยังขาดอยู่ ตัวอย่างเช่น แผนพัฒนาท่องเที่ยวเกาะสมุย แผนพัฒนาบริเวณพื้นที่ชายแดน
1.5 วางรากฐานการพัฒนาระยะยาว เป็นโครงการที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ศักยภาพของคน และขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะพิจารณากลั่นกรองโครงการ โดยยึดหลักการให้ลำดับความสำคัญกับโครงการที่สามารถตอบสนองต่อหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ประการดังกล่าวข้างต้นได้มากที่สุดก่อน
2. แนวทางการจัดเตรียมโครงการ คณะกรรมการฯ จะให้ความสำคัญกับการจัดเตรียมโครงการที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อให้สามารถติดตามประเมินผลได้อย่างเป็นระบบด้วย กล่าวคือ แต่ละโครงการควรต้องมีตัวชี้วัดผลสำเร็จของโครงการที่เป็นรูปธรรม ทั้งผลสำเร็จในการดำเนินงาน เช่น ก่อให้เกิดการจ้างงาน การเพิ่มรายได้ และผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจที่เกิดจากโครงการ โดยคณะกรรมการฯ พร้อมจะสนับสนุนจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาเข้าช่วยเหลือหน่วยงานในการปรับปรุงจัดทำโครงการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นด้วย
3. ประเภทและลักษณะโครงการ
3.1 ประเภทโครงการ คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าโครงการที่จะขอใช้งบสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่
1) โครงการที่เสนอโดยหน่วยงานส่วนกลาง โดยหน่วยงานระดับกรมและรัฐวิสาหกิจ นำเสนอโครงการผ่านกระทรวง/ทบวงเจ้าสังกัด ซึ่งเป็นขั้นตอนปกติทั่วไป
2) โครงการที่เสนอโดยหน่วยงานส่วนท้องถิ่นและภาคประชาสังคม ซึ่งน่าจะมีการบูรณาการโครงการเหล่านี้เข้าด้วยกัน โดยยึดพื้นที่ ภารกิจ และกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคประชาชน และประชาสังคมในระดับจังหวัดเป็นหลัก ทั้งนี้ เพื่อให้การกระตุ้นเศรษฐกิจมีจุดเน้นในระดับพื้นที่แล้ว ยังสามารถจะช่วยให้เกิดกระบวนการแปลงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 สู่การปฏิบัติ รวมทั้งยังเป็นการสร้างกระบวนการบริหารจัดการที่ดีในระดับรากหญ้า และสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนอีกด้วย
3.2 ลักษณะทั่วไปของโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หลักของการใช้จ่ายเงินสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ ยังมีความเห็นว่าโครงการที่จะขอใช้เงินสำรองฯ ควรมีลักษณะการใช้จ่ายเงิน ดังนี้
1) มีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 1 ปี และไม่ก่อให้เกิดภาระผูกพันงบประมาณในปีต่อ ๆ ไป
2) มีองค์ประกอบการใช้จ่ายที่เน้นการจ้างงาน โดยเฉพาะแรงงานในท้องถิ่น และเน้นการใช้วัตถุดิบ/วัสดุอุปกรณ์ที่ผลิตได้ภายในประเทศเป็นหลัก
4. การเบิกจ่ายงบประมาณ คณะกรรมการฯ เห็นว่าค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ถือเป็นงบกลาง จึงต้องมีการดำเนินการและเบิกจ่ายผ่านส่วนราชการตามกลไกปกติ ซึ่งในกรณีการเบิกจ่ายในส่วนของงบประจำ เช่น ค่าจ้าง เงินเดือน จะสามารถเบิกจ่ายได้เร็วอยู่แล้วตามขั้นตอนปกติ แต่สำหรับงบลงทุน เช่น งานก่อสร้างของหน่วยงานราชการ และหน่วยงานระดับพื้นที่/ภาคประชาสังคมการจัดซื้อจัดจ้างและการเบิกจ่ายเงินตามขั้นตอนการใช้งบประมาณปกติในลักษณะ Pre-Audit อาจไม่สามารถนำเม็ดเงินเข้าสู่ระบบได้เร็วตามเป้าหมาย และไม่เกิดผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันต่อเหตุการณ์ จึงอาจต้องพิจารณาหาแนวทางเร่งรัดการเบิกจ่ายให้มีความคล่องตัว โดยมีระเบียบพิเศษเพื่อการนี้ด้วย
5. ผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาและวิเคราะห์เบื้องต้นถึงผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันด้วยว่า ในกรณีที่สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้จำนวน 10,000 ล้านบาท ในไตรมาสที่ 4 ของปี 2544 จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2544เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็นร้อยละ 2.2 และหากสามารถเบิกจ่ายได้ในไตรมาสที่ 1 ถึง 3 ของปี 2545 อีกไตรมาสละ 16,000 ล้านบาท จะทำให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2545 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 4 ตามเป้าหมายที่กำหนด
6. โครงการที่หน่วยงานเสนอมาจนถึงปัจจุบัน คณะกรรมการฯ ได้รับทราบข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ของกระทรวง ทบวง และหน่วยงานต่าง ๆ จำนวน 437 โครงการวงเงิน 70,498.11 ล้านบาท และได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ รับไปพิจารณากลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญโครงการในเบื้องต้น ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการฯ กำหนด (ข้อ 1) เพื่อนำเสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป โดยเบื้องต้นคณะกรรมการฯ มีกำหนดจะประชุมทุกสัปดาห์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-