ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ผลการคัดเลือกเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องใช้ผลการคัดเลือกเมืองชายแดนฯ ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณา ก่อนทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่อเนื่องเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามข้อเสนอของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และแจ้งให้จังหวัดชายแดน 30 จังหวัด ทำการสำรวจข้อมูลพื้นที่เมืองชายแดนที่มีกศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว รวมทั้งให้จังหวัดเสนอความเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องในพื้นที่แต่ละแห่ง เพื่อกำหนดประเด็นปรับปรุงการมอบอำนาจสั่งการหรือตัดสินใจของผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เมืองชายแดนที่มีศักยภาพฯ และได้จัดให้มีการประชุมผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาผลการคัดเลือกเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขึ้นทำหน้าที่พิจารณาทบทวนผลคะแนนจากแบบสำรวจข้อมูล และจัดลำดับเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดต่าง ๆ ให้ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 รวมทั้งพิจารณาประเด็นเรื่องที่สมควรปรับปรุงการมอบอำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เมืองชายแดนให้มีความครอบคลุมทั้งระบบ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการปรับข้อมูลผลคะแนน และจัดลำดับเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลำดับคะแนนที่ได้รับ คือ ก) พื้นที่มีศักยภาพสูง ได้คะแนนเกินกว่า 70 คะแนนขึ้นไป ข) พื้นที่มีศักยภาพปานกลาง ได้คะแนนระหว่าง 50 - 70 คะแนน ค) พื้นที่มีศักภาพน้อย ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน ลงมา รวมทั้งจัดแบ่งกลุ่มเมืองชายแดนตามพื้นที่ที่มีแนวเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านแต่ละด้าน (ลาว - พม่า - กัมพูชา - มาเลเซีย) ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
สำหรับการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนนั้น คณะทำงานฯ เห็นว่าการทบทวนการปรับปรุงการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน ควรเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการภายหลังจากได้คัดเลือกเมืองชายแดนฯ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่อเนื่องแล้ว เนื่องจากพื้นที่แต่ละแห่งมีลักษณะปัญหาอุปสรรค รวมทั้งแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาที่แตกต่างกัน โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องของพื้นที่เมืองชายแดนที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าว เพื่อกำหนดเป็นประเด็นความต้องการปรับปรุงการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน พร้อมเหตุผล ข้อเสนอแนะและเป้าหมายที่ชัดเจน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ผลการคัดเลือกเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องใช้ผลการคัดเลือกเมืองชายแดนฯ ที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบเป็นข้อมูลเบื้องต้นประกอบการพิจารณา ก่อนทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่อเนื่องเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยรายงานว่า ได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ และวิธีการคัดเลือกเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามข้อเสนอของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และแจ้งให้จังหวัดชายแดน 30 จังหวัด ทำการสำรวจข้อมูลพื้นที่เมืองชายแดนที่มีกศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตามหลักเกณฑ์ดังกล่าว รวมทั้งให้จังหวัดเสนอความเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค ข้อขัดข้องในพื้นที่แต่ละแห่ง เพื่อกำหนดประเด็นปรับปรุงการมอบอำนาจสั่งการหรือตัดสินใจของผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เมืองชายแดนที่มีศักยภาพฯ และได้จัดให้มีการประชุมผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาผลการคัดเลือกเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษขึ้นทำหน้าที่พิจารณาทบทวนผลคะแนนจากแบบสำรวจข้อมูล และจัดลำดับเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดต่าง ๆ ให้ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 รวมทั้งพิจารณาประเด็นเรื่องที่สมควรปรับปรุงการมอบอำนาจแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เมืองชายแดนให้มีความครอบคลุมทั้งระบบ ซึ่งคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการปรับข้อมูลผลคะแนน และจัดลำดับเมืองชายแดนที่มีศักยภาพพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ตามลำดับคะแนนที่ได้รับ คือ ก) พื้นที่มีศักยภาพสูง ได้คะแนนเกินกว่า 70 คะแนนขึ้นไป ข) พื้นที่มีศักยภาพปานกลาง ได้คะแนนระหว่าง 50 - 70 คะแนน ค) พื้นที่มีศักภาพน้อย ได้คะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน ลงมา รวมทั้งจัดแบ่งกลุ่มเมืองชายแดนตามพื้นที่ที่มีแนวเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านแต่ละด้าน (ลาว - พม่า - กัมพูชา - มาเลเซีย) ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
สำหรับการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนนั้น คณะทำงานฯ เห็นว่าการทบทวนการปรับปรุงการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน ควรเป็นขั้นตอนที่ดำเนินการภายหลังจากได้คัดเลือกเมืองชายแดนฯ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมและกิจกรรมต่อเนื่องแล้ว เนื่องจากพื้นที่แต่ละแห่งมีลักษณะปัญหาอุปสรรค รวมทั้งแนวทางและเป้าหมายการพัฒนาที่แตกต่างกัน โดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทำการศึกษาสภาพปัญหาอุปสรรคข้อขัดข้องของพื้นที่เมืองชายแดนที่ได้รับการคัดเลือกดังกล่าว เพื่อกำหนดเป็นประเด็นความต้องการปรับปรุงการมอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดน พร้อมเหตุผล ข้อเสนอแนะและเป้าหมายที่ชัดเจน เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-