คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอซึ่งมหาเถรสมาคมมีมติให้แก้ไขพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 โดยให้โอนหน่วยงานพระพุทธศาสนาไปสังกัดนายกรัฐมนตรี ให้เป็นหน่วยอิสระ ซึ่งเป็นส่วนราชการมีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น สำนักราชเลขาธิการ สำนักพระราชวัง และที่ปรึกษากรรมการมหาเถรสมาคม (นายมีชัย ฤชุพันธุ์) เป็นผู้ยกร่าง ตามประเด็นที่กรรมการมหาเถรสมาคมเห็นชอบ
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกสมเด็จพระสังฆราชให้มีแต่พระคุณ ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้พระเดช ฉะนั้น สมเด็จพระสังฆราชตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ จึงไม่บัญญัติให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ไม่ต้องลงมารับผิดชอบในการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์
2. ยกมหาเถรสมาคมขึ้นเป็นที่ปรึกษาสมเด็จพระสังฆราช และให้ความเห็นชอบในการออกกฎระเบียบของมหาคณิสสร เนื่องจากมหาเถรสมาคมประกอบด้วยพระผู้ใหญ่ที่มีพรรษามากต้องมารับผิดชอบในการวินิจฉัยลงโทษหรือการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นการไม่สมควร
3. กำหนดให้มีกรรมการมหาคณิสสร ทำหน้าที่บริหารแทนมหาเถรสมาคม เพื่อที่จะให้โอกาสแก่พระภิกษุหนุ่มที่มีความรู้ความสามารถ ได้เข้ามาบริหารงานพระศาสนาแทนมหาเถรสมาคม ซึ่งประกอบไปด้วยประธานกรรมการรองประธานกรรมการ 2 รูป เมื่อรวมกับกรรมการอื่นแล้วไม่เกิน 21 รูป เหตุที่ให้มีรองประธาน 2 รูป นั้น เพราะคณะสงฆ์ไทยมี 2 นิกาย คือ ธรรมยุต และมหานิกาย ให้เป็นรองประธานฝ่ายมหานิกาย 1 รูป และฝ่ายธรรมยุต 1 รูป ส่วนประธานกรรมการแล้วแต่จะพิจารณา
4. ให้โอนงานของกรมการศาสนาไปเป็นสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติไปสังกัดนายกรัฐมนตรี เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบสนองงานด้านการศาสนา คือ กรมการศาสนา ถูกยุบโดยให้อำนาจหน้าที่และงบประมาณเดิมของกรมการศาสนา ไปเป็นของสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
5. กำหนดให้มีกองทุนเพื่อกิจการพระพุทธศาสนาเพื่อให้ความอุปถัมภ์ค้ำจุน พระพุทธศาสนาให้เป็นไป ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 73 ว่าที่กำหนดให้รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา กองทุนนี้ได้รับจากเงินอุดหนุนจากศาสนสมบัติกลาง เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่กองทุน ดอกผลของกองทุน และเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับ หรือซื้อหาจากเงินกองทุนเป็นการระดมทุนจากภายนอก
6. ในส่วนภูมิภาคให้มีศูนย์พระพุทธศาสนาประจำภาคโดยไม่เป็นส่วนราชการ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบสนองงานพระพุทธศาสนาในส่วนภูมิภาค และเป็นหน่วยที่เชื่อมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยไม่ให้เป็นส่วนราชการ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีในการระงับการเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการ
วัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหา เพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. …. เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคมมหาคณิสสร สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และการบริหารกองทุน เพื่อกิจการพระพุทธศาสนา
เนื่องจากหน่วยงานที่รับสนองงานคณะสงฆ์ คือ กรมการศาสนาถูกยุบโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้งานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไปขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการศาสนาและวัฒนธรรม บริหารโดยคณะกรรมการซึ่งมีผู้แทนของศาสนาต่าง ๆ ทำให้ไม่สะดวกในการดำเนินงานของคณะสงฆ์ ประกอบกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 บทบัญญัติบางหมวดยังไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 14/2544 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2544 ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้ลงมติรับหลักการของคณะกรรมการปรับโครงสร้างงานพระพุทธศาสนา โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษายกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ….
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกสมเด็จพระสังฆราชให้มีแต่พระคุณ ไม่ต้องเกี่ยวข้องกับการใช้พระเดช ฉะนั้น สมเด็จพระสังฆราชตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ฉบับใหม่ จึงไม่บัญญัติให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ไม่ต้องลงมารับผิดชอบในการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์
2. ยกมหาเถรสมาคมขึ้นเป็นที่ปรึกษาสมเด็จพระสังฆราช และให้ความเห็นชอบในการออกกฎระเบียบของมหาคณิสสร เนื่องจากมหาเถรสมาคมประกอบด้วยพระผู้ใหญ่ที่มีพรรษามากต้องมารับผิดชอบในการวินิจฉัยลงโทษหรือการวินิจฉัยเรื่องต่าง ๆ ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นการไม่สมควร
3. กำหนดให้มีกรรมการมหาคณิสสร ทำหน้าที่บริหารแทนมหาเถรสมาคม เพื่อที่จะให้โอกาสแก่พระภิกษุหนุ่มที่มีความรู้ความสามารถ ได้เข้ามาบริหารงานพระศาสนาแทนมหาเถรสมาคม ซึ่งประกอบไปด้วยประธานกรรมการรองประธานกรรมการ 2 รูป เมื่อรวมกับกรรมการอื่นแล้วไม่เกิน 21 รูป เหตุที่ให้มีรองประธาน 2 รูป นั้น เพราะคณะสงฆ์ไทยมี 2 นิกาย คือ ธรรมยุต และมหานิกาย ให้เป็นรองประธานฝ่ายมหานิกาย 1 รูป และฝ่ายธรรมยุต 1 รูป ส่วนประธานกรรมการแล้วแต่จะพิจารณา
4. ให้โอนงานของกรมการศาสนาไปเป็นสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติไปสังกัดนายกรัฐมนตรี เพราะหน่วยงานที่รับผิดชอบสนองงานด้านการศาสนา คือ กรมการศาสนา ถูกยุบโดยให้อำนาจหน้าที่และงบประมาณเดิมของกรมการศาสนา ไปเป็นของสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
5. กำหนดให้มีกองทุนเพื่อกิจการพระพุทธศาสนาเพื่อให้ความอุปถัมภ์ค้ำจุน พระพุทธศาสนาให้เป็นไป ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 73 ว่าที่กำหนดให้รัฐต้องให้ความอุปถัมภ์คุ้มครองพระพุทธศาสนา กองทุนนี้ได้รับจากเงินอุดหนุนจากศาสนสมบัติกลาง เงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้แก่กองทุน ดอกผลของกองทุน และเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับ หรือซื้อหาจากเงินกองทุนเป็นการระดมทุนจากภายนอก
6. ในส่วนภูมิภาคให้มีศูนย์พระพุทธศาสนาประจำภาคโดยไม่เป็นส่วนราชการ ซึ่งจะเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบสนองงานพระพุทธศาสนาในส่วนภูมิภาค และเป็นหน่วยที่เชื่อมประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ โดยไม่ให้เป็นส่วนราชการ เพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีในการระงับการเพิ่มอัตรากำลังข้าราชการ
วัตถุประสงค์ของการแก้ไขปัญหา เพื่อยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 ยกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. …. เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคมมหาคณิสสร สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และการบริหารกองทุน เพื่อกิจการพระพุทธศาสนา
เนื่องจากหน่วยงานที่รับสนองงานคณะสงฆ์ คือ กรมการศาสนาถูกยุบโดยพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ให้งานที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไปขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการศาสนาและวัฒนธรรม บริหารโดยคณะกรรมการซึ่งมีผู้แทนของศาสนาต่าง ๆ ทำให้ไม่สะดวกในการดำเนินงานของคณะสงฆ์ ประกอบกับพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว และแม้จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 บทบัญญัติบางหมวดยังไม่เหมาะสม และไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนั้น ในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 14/2544 เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2544 ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้ลงมติรับหลักการของคณะกรรมการปรับโครงสร้างงานพระพุทธศาสนา โดยมี นายมีชัย ฤชุพันธุ์ และ นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษายกร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ….
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-