แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และให้นำความเห็นของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาเพื่อปรับปรุงต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า ได้จัดทำกรอบร่างแผนฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2543 และได้จัดการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรีกับคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำความเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ให้สมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้นก่อนที่จะนำเสนอสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นและดำเนินการตามขั้นตอนขออนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ต่อไป ซึ่ง สศช. ได้ดำเนินการปรับปรุงสาระสำคัญร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญที่ได้ปรับปรุง สรุปได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ปรับปรุงให้เกิดความชัดเจนในเรื่องทิศทางการกำหนดบทบาทการพัฒนาประเทศ โดย
1.1 วิเคราะห์รายละเอียดเพิ่มเติม บ่งชี้สถานการณ์ที่ประเทศต้องเผชิญและจำเป็นต้องปรับตัว รวมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของประเทศที่สามารถใช้ความได้เปรียบที่มีอยู่ในการสร้างศักยภาพการพัฒนาเพิ่มขึ้น นำไปสู่การวางบทบาทการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับศักยภาพบทบาทางเศรษฐกิจและข้อได้เปรียบที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมที่จะวางรากฐานเป็นสังคมชุมชนที่เข้มแข็ง
1.2 ปรับตัวเลขเป้าหมายให้สื่อถึงการนำไปปฏิบัติได้จริง โดยเฉพาะเป้าหมายด้านดุลยภาพทางเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจมหภาค ให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวอย่างมีคุณภาพและเสถียรภาพ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้ปรับเพิ่มจุดเน้นของแนวทางการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์ และคำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้ง 7 ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ด้วยแล้ว
3. การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนา โดยวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งต้องปรับฐานเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่งตั้งแต่ระดับรากหญ้าถึงระดับมหภาค ให้สามารถขยายตัวต่อเนื่องได้อย่างมีคุณภาพ โดย
3.1 การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ นโยบายการเงินระยะสั้นที่เน้นการดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอ และรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไป ตลอดจนกระตุ้นการขยายตัวของภาคการผลิตโดยเฉพาะการส่งออก การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ
3.2 การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ธุรกิจชุมชน โดยส่งเสริมการระดมทุนในลักษณะกองทุนหมุนเวียนควบคู่ไปกับการขยายโครงการสินเชื่อรายย่อย การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีเอกลักษณ์เฉพาะ รวมทั้งพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เข้าถึงชุมชน เพื่อแปรรูปการผลิตและเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่นสู่ตลาดระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และต่างประเทศ
3.3 การบรรเทาปัญหาสังคมและแก้ปัญหาความยากจน
1) การบรรเทาปัญหาสังคม โดยป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเชิงรุกให้ครบวงจร พัฒนาระบบประกันสุขภาพให้ประชาชนเข้าถึง พัฒนาทักษะฝีมือและสร้างงานรองรับ คุ้มครองแรงงานทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
2) แก้ปัญหาความยากจน มุ่งสร้างโอกาสให้คนจนเข้าถึงบริการของรัฐและทรัพยากรธรรมชาติสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต โดยพัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งรวมทั้งปรับระบบจัดการภาครัฐและปฏิรูปกฎหมายให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสให้คนยากจน
ทั้งนี้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีความเห็นโดยสรุปว่า ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เป็นแผนที่มีปรัชญา แนวทาง วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนา แต่เป้าหมายที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จของการพัฒนาอาจจะสูงเกินจริง เพราะวิธีการดำเนินงานที่จะนำไปสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นยังไม่ชัดเจน และอาจมีข้อจำกัดทางด้านการบริหาร การใช้ทรัพยากรของประเทศที่มีอย่างจำกัด และสภาวะผันผวนของเศรษฐกิจโลก สภาที่ปรึกษาฯ ได้มีข้อเสนอแนะการปรับปรุงเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9เพื่อที่จะทำให้แผนนี้มีโอกาสเป็นจริงได้มากขึ้น รวม 14 ข้อ ได้แก่
1. ต้องทำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นจริง
2. เป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจต้องสมเหตุสมผล เชื่อถือได้และวัดผลได้
3. แผนกระตุ้นเศรษฐกิจต้องคำนึงถึงการสร้างรากฐานของประเทศด้วย
4. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ขาดการวิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่อประเทศไทย
5. ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการพัฒนาด้านสังคม
6. การกระจายรายได้ต้องเป็นหัวใจของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
7. การสร้างภาคการเกษตรและชนบทให้เข้มแข็งต้องถือเป็นภารกิจหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
8. ต้องทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล
9. ต้องยกระดับให้เรื่องการศึกษา ศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
10. ต้องเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลให้เข้มแข็ง
11. การแข่งขันทางการค้า ต้องยึดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง
12. ต้องปฏิรูปสื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
13. ปัญหาขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมต้องได้รับการจัดการโดยเร่งด่วน
14. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับกลไก และการมีส่วนร่วมในแผนปฏิบัติการ
แนวทางข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวทางนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะมีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างรัฐบาลและคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 7 กันยายน 2544 นี้ แล้วจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 25 กันยายน 2544 ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ในต้นเดือนตุลาคม 2544 เพื่อประกาศใช้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานว่า ได้จัดทำกรอบร่างแผนฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2543 และได้จัดการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรีกับคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ที่ประชุมมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำความเห็นและข้อเสนอแนะไปปรับปรุงร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ให้สมบูรณ์ชัดเจนยิ่งขึ้นก่อนที่จะนำเสนอสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้ความเห็นและดำเนินการตามขั้นตอนขออนุมัติและประกาศใช้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ต่อไป ซึ่ง สศช. ได้ดำเนินการปรับปรุงสาระสำคัญร่างแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญที่ได้ปรับปรุง สรุปได้ดังนี้
1. วิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ปรับปรุงให้เกิดความชัดเจนในเรื่องทิศทางการกำหนดบทบาทการพัฒนาประเทศ โดย
1.1 วิเคราะห์รายละเอียดเพิ่มเติม บ่งชี้สถานการณ์ที่ประเทศต้องเผชิญและจำเป็นต้องปรับตัว รวมทั้งวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งของประเทศที่สามารถใช้ความได้เปรียบที่มีอยู่ในการสร้างศักยภาพการพัฒนาเพิ่มขึ้น นำไปสู่การวางบทบาทการพัฒนาประเทศที่สอดคล้องกับศักยภาพบทบาทางเศรษฐกิจและข้อได้เปรียบที่มีอยู่ในพื้นที่ รวมทั้งให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมที่จะวางรากฐานเป็นสังคมชุมชนที่เข้มแข็ง
1.2 ปรับตัวเลขเป้าหมายให้สื่อถึงการนำไปปฏิบัติได้จริง โดยเฉพาะเป้าหมายด้านดุลยภาพทางเศรษฐกิจที่มุ่งสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจมหภาค ให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวอย่างมีคุณภาพและเสถียรภาพ
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้ปรับเพิ่มจุดเน้นของแนวทางการพัฒนาในแต่ละยุทธศาสตร์ และคำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างยุทธศาสตร์การพัฒนาทั้ง 7 ยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ด้วยแล้ว
3. การจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนา โดยวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของประเทศ ซึ่งต้องปรับฐานเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่งตั้งแต่ระดับรากหญ้าถึงระดับมหภาค ให้สามารถขยายตัวต่อเนื่องได้อย่างมีคุณภาพ โดย
3.1 การเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและมีเสถียรภาพ โดยดำเนินนโยบายกระตุ้นการใช้จ่ายภาครัฐ นโยบายการเงินระยะสั้นที่เน้นการดูแลสภาพคล่องให้เพียงพอ และรักษาเสถียรภาพด้านราคาและอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้ผันผวนเกินไป ตลอดจนกระตุ้นการขยายตัวของภาคการผลิตโดยเฉพาะการส่งออก การท่องเที่ยว วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และธุรกิจบริการอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ
3.2 การสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก มุ่งเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ธุรกิจชุมชน โดยส่งเสริมการระดมทุนในลักษณะกองทุนหมุนเวียนควบคู่ไปกับการขยายโครงการสินเชื่อรายย่อย การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีเอกลักษณ์เฉพาะ รวมทั้งพัฒนาข้อมูลข่าวสารให้เข้าถึงชุมชน เพื่อแปรรูปการผลิตและเชื่อมโยงตลาดท้องถิ่นสู่ตลาดระดับภูมิภาค ระดับประเทศ และต่างประเทศ
3.3 การบรรเทาปัญหาสังคมและแก้ปัญหาความยากจน
1) การบรรเทาปัญหาสังคม โดยป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในเชิงรุกให้ครบวงจร พัฒนาระบบประกันสุขภาพให้ประชาชนเข้าถึง พัฒนาทักษะฝีมือและสร้างงานรองรับ คุ้มครองแรงงานทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ
2) แก้ปัญหาความยากจน มุ่งสร้างโอกาสให้คนจนเข้าถึงบริการของรัฐและทรัพยากรธรรมชาติสร้างหลักประกันความมั่นคงในชีวิต โดยพัฒนาโครงข่ายการคุ้มครองทางสังคม พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งรวมทั้งปรับระบบจัดการภาครัฐและปฏิรูปกฎหมายให้เอื้อต่อการสร้างโอกาสให้คนยากจน
ทั้งนี้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมีความเห็นโดยสรุปว่า ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 เป็นแผนที่มีปรัชญา แนวทาง วัตถุประสงค์ และยุทธศาสตร์ที่พึงปรารถนา แต่เป้าหมายที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จของการพัฒนาอาจจะสูงเกินจริง เพราะวิธีการดำเนินงานที่จะนำไปสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้นั้นยังไม่ชัดเจน และอาจมีข้อจำกัดทางด้านการบริหาร การใช้ทรัพยากรของประเทศที่มีอย่างจำกัด และสภาวะผันผวนของเศรษฐกิจโลก สภาที่ปรึกษาฯ ได้มีข้อเสนอแนะการปรับปรุงเกี่ยวกับร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9เพื่อที่จะทำให้แผนนี้มีโอกาสเป็นจริงได้มากขึ้น รวม 14 ข้อ ได้แก่
1. ต้องทำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นจริง
2. เป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจต้องสมเหตุสมผล เชื่อถือได้และวัดผลได้
3. แผนกระตุ้นเศรษฐกิจต้องคำนึงถึงการสร้างรากฐานของประเทศด้วย
4. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ขาดการวิเคราะห์ผลกระทบจากปัจจัยภายนอกต่อประเทศไทย
5. ต้องสร้างความสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจกับการพัฒนาด้านสังคม
6. การกระจายรายได้ต้องเป็นหัวใจของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
7. การสร้างภาคการเกษตรและชนบทให้เข้มแข็งต้องถือเป็นภารกิจหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
8. ต้องทำให้ชุมชนอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมดุล
9. ต้องยกระดับให้เรื่องการศึกษา ศาสนา ศิลปและวัฒนธรรมเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
10. ต้องเสริมสร้างหลักธรรมาภิบาลให้เข้มแข็ง
11. การแข่งขันทางการค้า ต้องยึดถือผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง
12. ต้องปฏิรูปสื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
13. ปัญหาขยะอันตรายจากภาคอุตสาหกรรมต้องได้รับการจัดการโดยเร่งด่วน
14. แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับกลไก และการมีส่วนร่วมในแผนปฏิบัติการ
แนวทางข้อเสนอของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติส่วนใหญ่สอดคล้องกับแนวทางนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะมีการจัดประชุมร่วมกันระหว่างรัฐบาลและคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 7 กันยายน 2544 นี้ แล้วจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่ 25 กันยายน 2544 ก่อนนำขึ้นกราบบังคมทูลถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย ในต้นเดือนตุลาคม 2544 เพื่อประกาศใช้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-