คณะรัฐมนตรีพิจารณาการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ดังนี้
1. อนุมัติให้ใช้จำนวนการอนุญาตที่เหลืออยู่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาใน 37 จังหวัดเดิมที่อนุญาตไว้ จำนวน 7,028 คน ทำงานได้ใน 18 กิจการเดิมที่กำหนดไว้เฉพาะในส่วนของกิจการที่ยังมีความต้องการเพิ่มจากจำนวนการอนุญาตที่เหลืออยู่ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2544 โดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป
2. ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงาน ศึกษา และพิจารณาวางหลักเกณฑ์การใช้แรงงานต่างด้าวในระยะยาวเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2544
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอว่า
1. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 แล้วปรากฏว่ามีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานทั้งสิ้น รวม 99,656 คน จากจำนวนการอนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จำนวน106,684 คน จึงทำให้มีจำนวนการอนุญาตเหลืออยู่อีก 7,028 คน ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการดังกล่าวได้มีการร้องเรียนจากสถานประกอบการต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าว ตลอดจนสมาคมต่าง ๆ ที่ยังคงมีความต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มอีก
2. นอกจากนี้ จากผลการวิจัยเรื่องภาวะการขาดแคลนแรงงานกรรมกรในประเทศไทย ปี 2543 โดยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า มีความต้องการแรงงานกรรมกรต่างด้าว รวม 788,215 คน ในหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเกษตรกรรม หมวดการผลิต และหมวดการก่อสร้าง เป็นต้นซึ่งจังหวัดที่มีความขาดแคลนแรงงานสูง ได้แก่ ตาก ระนอง สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และพังงา นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ายังมีความต้องการแรงงานต่างด้าวในกิจการต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 คือ เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการแก้ไขแรงงานต่างด้าว อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาทำงานได้ 1 ปี ในพื้นที่ 37 จังหวัด 18 กิจการ จำนวน 106,684 คน ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการเรื่องการประกันตัว การตรวจสุขภาพ และการออกใบอนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 3 เม.ย.2544
-สส-
1. อนุมัติให้ใช้จำนวนการอนุญาตที่เหลืออยู่ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาใน 37 จังหวัดเดิมที่อนุญาตไว้ จำนวน 7,028 คน ทำงานได้ใน 18 กิจการเดิมที่กำหนดไว้เฉพาะในส่วนของกิจการที่ยังมีความต้องการเพิ่มจากจำนวนการอนุญาตที่เหลืออยู่ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2544 โดยมอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป
2. ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดตั้งคณะทำงาน ศึกษา และพิจารณาวางหลักเกณฑ์การใช้แรงงานต่างด้าวในระยะยาวเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3ภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายในเดือนพฤษภาคม 2544
ทั้งนี้ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอว่า
1. ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 แล้วปรากฏว่ามีจำนวนแรงงานต่างด้าวที่ได้รับใบอนุญาตทำงานทั้งสิ้น รวม 99,656 คน จากจำนวนการอนุญาตตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จำนวน106,684 คน จึงทำให้มีจำนวนการอนุญาตเหลืออยู่อีก 7,028 คน ทั้งนี้ จากผลการดำเนินการดังกล่าวได้มีการร้องเรียนจากสถานประกอบการต่าง ๆ ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้จ้างแรงงานต่างด้าว ตลอดจนสมาคมต่าง ๆ ที่ยังคงมีความต้องการแรงงานต่างด้าวเพิ่มอีก
2. นอกจากนี้ จากผลการวิจัยเรื่องภาวะการขาดแคลนแรงงานกรรมกรในประเทศไทย ปี 2543 โดยศูนย์วิจัยการย้ายถิ่นแห่งเอเชีย สถาบันเอเชียศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่า มีความต้องการแรงงานกรรมกรต่างด้าว รวม 788,215 คน ในหมวดต่าง ๆ เช่น หมวดเกษตรกรรม หมวดการผลิต และหมวดการก่อสร้าง เป็นต้นซึ่งจังหวัดที่มีความขาดแคลนแรงงานสูง ได้แก่ ตาก ระนอง สมุทรสาคร สุราษฎร์ธานี และพังงา นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องว่ายังมีความต้องการแรงงานต่างด้าวในกิจการต่าง ๆ อีกเป็นจำนวนมาก
สำหรับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2543 คือ เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการแก้ไขแรงงานต่างด้าว อนุญาตให้แรงงานต่างด้าวเข้าเมืองผิดกฎหมายสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชาทำงานได้ 1 ปี ในพื้นที่ 37 จังหวัด 18 กิจการ จำนวน 106,684 คน ไม่เกินวันที่ 31 สิงหาคม 2544 ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องดำเนินการเรื่องการประกันตัว การตรวจสุขภาพ และการออกใบอนุญาตทำงานให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2543
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 3 เม.ย.2544
-สส-