ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีทราบและมีมติเห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 10/2543 (ครั้งที่ 80) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ รัฐมีนโยบายในการปรับโครงสร้างกิจการพลังงานให้มีการแข่งขันและเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อให้การจัดหาพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีปริมาณเพียงพอและทั่วถึงตอบสนองความต้องการภายในประเทศในราคาและคุณภาพที่เป็นธรรม จึงจำเป็นต้องจัดตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติขึ้น เพื่อกำกับดูแลกิจการพลังงานที่มีลักษณะการผูกขาด ซึ่งได้แก่ กิจการไฟฟ้า กิจการก๊าซธรรมชาติและกิจการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ออกใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ส่งเสริมการแข่งขัน ป้องกันการใช้อำนาจการผูกขาดโดยมิชอบ และให้การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน และเพื่อให้คณะกรรมการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล นอกจากนั้น เพื่อให้กิจการไฟฟ้ามีการแข่งขัน ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้าและมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นสมควรให้มีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแห่งประเทศไทยขึ้น ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมระบบส่งไฟฟ้าของประเทศ ศูนย์ปฏิบัติการทางการตลาดและศูนย์บริหารการชำระเงิน โดยมีคณะกรรมการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแห่งประเทศไทยทำหน้าที่กำกับดูแล
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง
2.1 รับทราบสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.2 เห็นชอบแผนเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง และมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
2.3 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ติดตามสถานการณ์ในตะวันออกกลางและสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างใกล้ชิด โดยให้ประเมินสถานการณ์และรายงานให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติทราบเป็นระยะ ๆ
2.4 หากสถานการณ์ในตะวันออกกลางลุกลาม และมีผลกระทบต่อการจัดหาน้ำมันของประเทศให้ สพช. หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และผู้ค้าน้ำมัน เพื่อกำหนดมาตรการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และเสนอผ่านประธานคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานเพื่อให้นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีทราบและมีมติเห็นชอบมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่ 10/2543 (ครั้งที่ 80) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเสนอ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญคือ รัฐมีนโยบายในการปรับโครงสร้างกิจการพลังงานให้มีการแข่งขันและเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น เพื่อให้การจัดหาพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีปริมาณเพียงพอและทั่วถึงตอบสนองความต้องการภายในประเทศในราคาและคุณภาพที่เป็นธรรม จึงจำเป็นต้องจัดตั้งคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานแห่งชาติขึ้น เพื่อกำกับดูแลกิจการพลังงานที่มีลักษณะการผูกขาด ซึ่งได้แก่ กิจการไฟฟ้า กิจการก๊าซธรรมชาติและกิจการอื่นตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการมีหน้าที่ออกใบอนุญาตการประกอบกิจการพลังงาน ส่งเสริมการแข่งขัน ป้องกันการใช้อำนาจการผูกขาดโดยมิชอบ และให้การคุ้มครองผู้ใช้พลังงาน และเพื่อให้คณะกรรมการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นหน่วยงานของรัฐซึ่งมีฐานะเป็นนิติบุคคล นอกจากนั้น เพื่อให้กิจการไฟฟ้ามีการแข่งขัน ให้ผู้ใช้ไฟฟ้ามีทางเลือกในการซื้อไฟฟ้าและมีการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ เห็นสมควรให้มีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแห่งประเทศไทยขึ้น ทำหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมระบบส่งไฟฟ้าของประเทศ ศูนย์ปฏิบัติการทางการตลาดและศูนย์บริหารการชำระเงิน โดยมีคณะกรรมการตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแห่งประเทศไทยทำหน้าที่กำกับดูแล
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง
2.1 รับทราบสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
2.2 เห็นชอบแผนเตรียมพร้อมเพื่อรองรับสถานการณ์ในตะวันออกกลาง และมาตรการและแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
2.3 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ติดตามสถานการณ์ในตะวันออกกลางและสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงอย่างใกล้ชิด โดยให้ประเมินสถานการณ์และรายงานให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติทราบเป็นระยะ ๆ
2.4 หากสถานการณ์ในตะวันออกกลางลุกลาม และมีผลกระทบต่อการจัดหาน้ำมันของประเทศให้ สพช. หารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพาณิชย์ และผู้ค้าน้ำมัน เพื่อกำหนดมาตรการปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และเสนอผ่านประธานคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานเพื่อให้นายกรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-