ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาการบุกรุกขุดหาแร่ทองคำบริเวณเขาพนมพา ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดดำเนินการขอประทานบัตรในพื้นที่ดังกล่าว และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการคำขอประทานบัตรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. ในขณะนี้มีปัญหาราษฎรจำนวนมากบุกรุกเข้าขุดหาแร่ทองคำบริเวณเขาพนมพา ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และไม่อยู่ในพื้นที่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศให้เป็นพื้นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการใหญ่
2. บริเวณเขาพนมพามีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ สภาพของแหล่งแร่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นแหล่งแร่ขนาดเล็กในระดับตื้น ซึ่งเคยมีบริษัทเอกชนได้รับอาชญาบัตรพิเศษเพื่อทำการสำรวจแร่ทองคำมาแล้ว 1 ปี ในปี 2540 และได้ขอยกเลิกการต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษแล้ว โดยที่แร่ทองคำในบริเวณดังกล่าวเป็นเกร็ดทองคำที่เกิดขึ้นแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ การขุดเป็นหลุมหรือโพรงลึกเข้าไปใต้ผนังภูเขาจึงทำให้เกิดดินถล่มทับผู้ลักลอบขุดหาแร่ทองคำเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย
3. การลักลอบขุดหาแร่ทองคำที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นการตื่นทองของราษฎรจำนวนมากแสวงหาทองโดยใช้วิธีขุดหลุมทั่วไปในพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการขุดหาแร่ทองคำให้อยู่ในพื้นที่ที่จำกัดได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านมวลชนมีผลกระทบต่อสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อม ความปลอดภัยต่อชีวิตความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งมีผลกระทบทางด้านการลงทุน เนื่องจากผู้ลงทุนเกิดความไม่มั่นใจเมื่อเห็นสภาพการตื่นทองของราษฎรดังกล่าว
4. จังหวัดพิจิตรได้ขอให้กรมทรัพยากรธรณีพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีราษฎรบุกรุกเข้าไปขุดหาแร่ทองคำดังกล่าว โดยเสนอขอให้แก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดให้จังหวัดพิจิตรเป็นพื้นที่ที่สามารถออกใบอนุญาตร่อนแร่ทองคำได้
5. กรมทรัพยากรธรณีได้ประชุมเพื่อแก้ไขปัญหานี้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จังหวัดพิจิตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพระ กรมการปกครอง กรมป่าไม้ และสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม แล้วมีความเห็นว่า เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นระบบ สามารถควบคุม ดูแล ให้คำแนะนำ เพื่อให้การทำเหมืองเป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ มาตรการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำเหมือง อีกทั้งรัฐจะมีรายได้จากค่าภาคหลวงแร่ และภาษีต่าง ๆ ซึ่งสามารถกระจายรายได้โดยจัดสรรเงินค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จึงมีมติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอประทานบัตรในพื้นที่ดังกล่าว
6. ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี มีความเห็นว่า เห็นควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเป็นผู้ขอประทานบัตรในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากมีความพร้อมและมีความประสงค์ในการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำและได้มีส่วนร่วมในการกำกับ ดูแล เพื่อให้การทำเหมืองแร่มีความปลอดภัย ไม่เกิดปัญหาด้านมวลชนและสามารถควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ โดยผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรขอประทานบัตรในพื้นที่ดังกล่าวได้ โดยมิต้องปฏิบัติตามนโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขอประทานบัตรนอกเขตพื้นที่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศให้เป็นพื้นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการใหญ่ จะต้องเป็นผู้ได้รับอาชญาบัตรพิเศษเพื่อการสำรวจแร่ทองคำมาแล้วในพื้นที่ที่ยื่นขอประทานบัตร (แต่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรไม่เคยได้รับอาชญาบัตรพิเศษเพื่อการสำรวจแร่ทองคำในพื้นที่นี้มาก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางการแก้ปัญหาการบุกรุกขุดหาแร่ทองคำบริเวณเขาพนมพา ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดดำเนินการขอประทานบัตรในพื้นที่ดังกล่าว และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการดำเนินการคำขอประทานบัตรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า
1. ในขณะนี้มีปัญหาราษฎรจำนวนมากบุกรุกเข้าขุดหาแร่ทองคำบริเวณเขาพนมพา ตำบลหนองพระ อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 และไม่อยู่ในพื้นที่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศให้เป็นพื้นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการใหญ่
2. บริเวณเขาพนมพามีเนื้อที่ประมาณ 200 ไร่ สภาพของแหล่งแร่บริเวณนี้มีลักษณะเป็นแหล่งแร่ขนาดเล็กในระดับตื้น ซึ่งเคยมีบริษัทเอกชนได้รับอาชญาบัตรพิเศษเพื่อทำการสำรวจแร่ทองคำมาแล้ว 1 ปี ในปี 2540 และได้ขอยกเลิกการต่ออายุอาชญาบัตรพิเศษแล้ว โดยที่แร่ทองคำในบริเวณดังกล่าวเป็นเกร็ดทองคำที่เกิดขึ้นแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ การขุดเป็นหลุมหรือโพรงลึกเข้าไปใต้ผนังภูเขาจึงทำให้เกิดดินถล่มทับผู้ลักลอบขุดหาแร่ทองคำเสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย
3. การลักลอบขุดหาแร่ทองคำที่เกิดขึ้นมีลักษณะเป็นการตื่นทองของราษฎรจำนวนมากแสวงหาทองโดยใช้วิธีขุดหลุมทั่วไปในพื้นที่ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการขุดหาแร่ทองคำให้อยู่ในพื้นที่ที่จำกัดได้ ก่อให้เกิดปัญหาด้านมวลชนมีผลกระทบต่อสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อม ความปลอดภัยต่อชีวิตความสงบเรียบร้อยของประชาชน รวมทั้งมีผลกระทบทางด้านการลงทุน เนื่องจากผู้ลงทุนเกิดความไม่มั่นใจเมื่อเห็นสภาพการตื่นทองของราษฎรดังกล่าว
4. จังหวัดพิจิตรได้ขอให้กรมทรัพยากรธรณีพิจารณาดำเนินการแก้ไขปัญหากรณีราษฎรบุกรุกเข้าไปขุดหาแร่ทองคำดังกล่าว โดยเสนอขอให้แก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดให้จังหวัดพิจิตรเป็นพื้นที่ที่สามารถออกใบอนุญาตร่อนแร่ทองคำได้
5. กรมทรัพยากรธรณีได้ประชุมเพื่อแก้ไขปัญหานี้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จังหวัดพิจิตร องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพระ กรมการปกครอง กรมป่าไม้ และสำนักนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม แล้วมีความเห็นว่า เพื่อให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างถูกต้องและเป็นระบบ สามารถควบคุม ดูแล ให้คำแนะนำ เพื่อให้การทำเหมืองเป็นไปตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมเหมืองแร่ มาตรการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำเหมือง อีกทั้งรัฐจะมีรายได้จากค่าภาคหลวงแร่ และภาษีต่าง ๆ ซึ่งสามารถกระจายรายได้โดยจัดสรรเงินค่าภาคหลวงแร่ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) จึงมีมติให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเป็นผู้ดำเนินการยื่นคำขอประทานบัตรในพื้นที่ดังกล่าว
6. ในส่วนของกรมทรัพยากรธรณี มีความเห็นว่า เห็นควรให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรเป็นผู้ขอประทานบัตรในพื้นที่บริเวณดังกล่าว เนื่องจากมีความพร้อมและมีความประสงค์ในการขอประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำและได้มีส่วนร่วมในการกำกับ ดูแล เพื่อให้การทำเหมืองแร่มีความปลอดภัย ไม่เกิดปัญหาด้านมวลชนและสามารถควบคุมผลกระทบสิ่งแวดล้อมได้ โดยผ่อนผันเป็นกรณีพิเศษเฉพาะรายให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรขอประทานบัตรในพื้นที่ดังกล่าวได้ โดยมิต้องปฏิบัติตามนโยบายว่าด้วยการสำรวจและพัฒนาแร่ทองคำ ซึ่งกำหนดให้ผู้ขอประทานบัตรนอกเขตพื้นที่ที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศให้เป็นพื้นที่เพื่อการพัฒนาเหมืองแร่ทองคำเป็นโครงการใหญ่ จะต้องเป็นผู้ได้รับอาชญาบัตรพิเศษเพื่อการสำรวจแร่ทองคำมาแล้วในพื้นที่ที่ยื่นขอประทานบัตร (แต่องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตรไม่เคยได้รับอาชญาบัตรพิเศษเพื่อการสำรวจแร่ทองคำในพื้นที่นี้มาก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-