คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการตรวจสอบพัสดุที่ใช้ในราชการ และการจัดสรรนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ แล้วมีมติอนุมัติ ดังนี้
1. มอบหมายให้หน่วยงานอื่นคือ สำนักงบประมาณ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามมาตรการตรวจสอบพัสดุที่ใช้ในราชการ และการจัดสรรนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ทั้งนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 ที่มอบหมายให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รับผิดชอบปฏิบัติไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ฉบับที่1/2543 จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในวิชาชีพการตรวจเงินแผ่นดิน ข้อ 13 ซึ่งกำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ต้องไม่มีส่วนร่วมในการทำงานของหน่วยรับตรวจเว้นแต่เป็นการให้คำแนะนำตามอำนาจหน้าที่เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องของหน่วยรับตรวจ ไม่เป็นผู้ดูแลรักษาทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจ และไม่เป็นตัวแทนของหน่วยรับตรวจเพื่อดำเนินการใด ๆ นอกจากที่กฎหมายกำหนด
2. อนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณซึ่งไม่ขัดข้องที่จะได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการกำหนดและออกแบบระบบในการดำเนินการตามมาตรการฯ เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากการดังกล่าวในการวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนการผลิต การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสินทรัพย์ การตรวจสอบภายใน และการติดตามประเมินผลได้ แต่ขณะนี้สำนักงบประมาณอยู่ในระหว่างการพิจารณากำหนดระบบการบริหารสินทรัพย์ ซึ่งเป็น 1 ใน 7 ของมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ประการ ที่ส่วนราชการต่าง ๆ ต้องยึดถือปฏิบัติในการจัดทำงบประมาณ โดยเป็นไปตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11พฤษภาคม 2542 ประกอบกับการกำหนด/ออกแบบระบบดังกล่าว ซึ่งสามารถปรับใช้ให้สอดคล้องกับภารกิจการเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามมาตรการฯ ได้นั้น จะต้องใช้รายละเอียดข้อมูลเป็นจำนวนมาก ตลอดจนจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องจากระบบได้ถูกกำหนด/ออกแบบให้ส่วนราชการบริหารสินทรัพย์โดยหน่วยงานเองก่อนเป็นอันดับแรก และหน่วยงานกลางอื่นดังกล่าวจะเป็นหน่วยตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ประหยัดและไม่จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรในการทำงานดังนั้น จึงต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการระยะหนึ่งในการประสานและหารือกับหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ได้ข้อยุติทั้งนี้ เพื่อให้การกำหนด/ออกแบบระบบมีความสมบูรณ์และใช้เป็นมาตรฐานได้กับทุกส่วนราชการ โดยสำนักงบประมาณจะเป็นเพียงหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำเท่านั้น เพื่อให้ข้อมูลที่ส่วนราชการจัดทำตามระบบดังกล่าวมีความสอดคล้องสัมพันธ์และนำไปปฏิบัติใช้ได้กับระบบอื่น ๆ อีก 6 ระบบตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ประการสำหรับในส่วนของหน่วยงานที่จะต้องดำเนินการตามมาตรการฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการตรวจสอบภายในอันเป็น 1 ใน 7 ของมาตรฐานฯ นั้น ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยมุ่งเน้นให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างสำนักงบประมาณกำหนด/ออกแบบระบบการบริหารสินทรัพย์ จึงเห็นสมควรให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการตามมาตรการฯ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 ไปพลางก่อนโดยส่งสำเนาบัญชีพัสดุเกินความจำเป็นหรือความต้องการใช้งานให้สำนักงบประมาณทราบด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-
1. มอบหมายให้หน่วยงานอื่นคือ สำนักงบประมาณ เป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามมาตรการตรวจสอบพัสดุที่ใช้ในราชการ และการจัดสรรนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ทั้งนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอว่า ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 ที่มอบหมายให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน รับผิดชอบปฏิบัติไม่สอดคล้องกับมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ฉบับที่1/2543 จรรยาบรรณและความรับผิดชอบในวิชาชีพการตรวจเงินแผ่นดิน ข้อ 13 ซึ่งกำหนดให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ต้องไม่มีส่วนร่วมในการทำงานของหน่วยรับตรวจเว้นแต่เป็นการให้คำแนะนำตามอำนาจหน้าที่เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องของหน่วยรับตรวจ ไม่เป็นผู้ดูแลรักษาทรัพย์สินของหน่วยรับตรวจ และไม่เป็นตัวแทนของหน่วยรับตรวจเพื่อดำเนินการใด ๆ นอกจากที่กฎหมายกำหนด
2. อนุมัติตามความเห็นของสำนักงบประมาณซึ่งไม่ขัดข้องที่จะได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการกำหนดและออกแบบระบบในการดำเนินการตามมาตรการฯ เนื่องจากสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลจากการดังกล่าวในการวางแผนงบประมาณ การคำนวณต้นทุนการผลิต การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง การบริหารสินทรัพย์ การตรวจสอบภายใน และการติดตามประเมินผลได้ แต่ขณะนี้สำนักงบประมาณอยู่ในระหว่างการพิจารณากำหนดระบบการบริหารสินทรัพย์ ซึ่งเป็น 1 ใน 7 ของมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ประการ ที่ส่วนราชการต่าง ๆ ต้องยึดถือปฏิบัติในการจัดทำงบประมาณ โดยเป็นไปตามแผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11พฤษภาคม 2542 ประกอบกับการกำหนด/ออกแบบระบบดังกล่าว ซึ่งสามารถปรับใช้ให้สอดคล้องกับภารกิจการเป็นหน่วยงานผู้รับผิดชอบในการดำเนินการตามมาตรการฯ ได้นั้น จะต้องใช้รายละเอียดข้อมูลเป็นจำนวนมาก ตลอดจนจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ กรมบัญชีกลาง และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เนื่องจากระบบได้ถูกกำหนด/ออกแบบให้ส่วนราชการบริหารสินทรัพย์โดยหน่วยงานเองก่อนเป็นอันดับแรก และหน่วยงานกลางอื่นดังกล่าวจะเป็นหน่วยตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแนวทางที่ประหยัดและไม่จำเป็นต้องเพิ่มบุคลากรในการทำงานดังนั้น จึงต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการระยะหนึ่งในการประสานและหารือกับหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ได้ข้อยุติทั้งนี้ เพื่อให้การกำหนด/ออกแบบระบบมีความสมบูรณ์และใช้เป็นมาตรฐานได้กับทุกส่วนราชการ โดยสำนักงบประมาณจะเป็นเพียงหน่วยงานที่คอยกำกับดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำเท่านั้น เพื่อให้ข้อมูลที่ส่วนราชการจัดทำตามระบบดังกล่าวมีความสอดคล้องสัมพันธ์และนำไปปฏิบัติใช้ได้กับระบบอื่น ๆ อีก 6 ระบบตามมาตรฐานการจัดการทางการเงิน 7 ประการสำหรับในส่วนของหน่วยงานที่จะต้องดำเนินการตามมาตรการฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบการตรวจสอบภายในอันเป็น 1 ใน 7 ของมาตรฐานฯ นั้น ส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยมุ่งเน้นให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับระบบอื่น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ ขณะนี้อยู่ในระหว่างสำนักงบประมาณกำหนด/ออกแบบระบบการบริหารสินทรัพย์ จึงเห็นสมควรให้ส่วนราชการพิจารณาดำเนินการตามมาตรการฯ ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2541 ไปพลางก่อนโดยส่งสำเนาบัญชีพัสดุเกินความจำเป็นหรือความต้องการใช้งานให้สำนักงบประมาณทราบด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 15 พ.ค.2544
-สส-