แท็ก
รัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543 ตามที่คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิต
1.1 ให้ความเห็นชอบกรอบหลักแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตจากการพึ่งพาแรงงานราคาถูกและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด มาเป็นโครงสร้างการผลิตที่อาศัยความรู้และบุคลากรที่มีคุณภาพสูงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการของไทยอันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและโครงการนำร่อง 3 โครงการ คือ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย โครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งและโครงการพัฒนาสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและเครือข่าย
1.2 ให้ความเห็นชอบกับกรอบวงเงินรวมสำหรับการดำเนินโครงการตามกรอบแผนปฏิบัติการในวงเงิน 7,000ล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (2543 - 2547) และกรอบวงเงินงบประมาณบริหารจัดการแผนปฏิบัติการไม่เกินร้อยละ 3
1.3 มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม หารือกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณในเรื่องงบประมาณสนับสนุนแผนปฏิบัติการต่อไป
2. การติดตามประเมินผลการดำเนินงานการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2.1 เห็นชอบให้มีการติดตามความก้าวหน้าและเร่งรัดแผนงานและโครงการภายใต้กรอบการดำเนินงานของ กปพ.โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.2 มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเสนอต่อคณะกรรมการ กปพ. ในการประชุมครั้งต่อไป
2.3 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานงานกับกระทรวงการคลังและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินกู้รายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้ที่ผ่านมา รวมถึงโครงการมิยาซาวาที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้าง
3. คณะกรรมการ กปพ. ได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ
3.1 กองทุนพัฒนาวัตกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนานวัตกรรมกำลังดำเนินการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนฯ และ สวทช. อยู่ในระหว่างการเตรียมการขอเบิกจ่ายเงินทุนประเดิม รวมทั้งการขอกำหนดวงเงินงบประมาณที่จะขอตั้งเพื่อขยายกองทุนพัฒนานวัตกรรมจำนวน 2,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 4 ปี (2544 - 2547)
3.2 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ คณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ประกอบด้วย ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ และแนวทางที่สำคัญ 4 เรื่อง คือ การสร้างจิตสำนึกการพัฒนาคนและเทคโนโลยี องค์กรรับผิดชอบ และการดำเนินการให้มีดัชนีชี้วัด ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ กำลังดำเนินการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากส่วนราชการ เอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งได้กำหนดให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เป็นโครงการนำร่องที่จะใช้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากขบวนการเพิ่มผลผลิต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบสรุปผลการประชุมคณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543 ตามที่คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการปรับโครงสร้างการผลิต
1.1 ให้ความเห็นชอบกรอบหลักแผนปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตจากการพึ่งพาแรงงานราคาถูกและทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่จำกัด มาเป็นโครงสร้างการผลิตที่อาศัยความรู้และบุคลากรที่มีคุณภาพสูงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการของไทยอันเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและโครงการนำร่อง 3 โครงการ คือ โครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย โครงการเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงกุ้งและโครงการพัฒนาสร้างอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์โทรคมนาคมและเครือข่าย
1.2 ให้ความเห็นชอบกับกรอบวงเงินรวมสำหรับการดำเนินโครงการตามกรอบแผนปฏิบัติการในวงเงิน 7,000ล้านบาท ในช่วงระยะเวลา 5 ปี (2543 - 2547) และกรอบวงเงินงบประมาณบริหารจัดการแผนปฏิบัติการไม่เกินร้อยละ 3
1.3 มอบหมายให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม หารือกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณในเรื่องงบประมาณสนับสนุนแผนปฏิบัติการต่อไป
2. การติดตามประเมินผลการดำเนินงานการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
2.1 เห็นชอบให้มีการติดตามความก้าวหน้าและเร่งรัดแผนงานและโครงการภายใต้กรอบการดำเนินงานของ กปพ.โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประสานงานกับกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
2.2 มอบหมายให้กระทรวงการคลังรับไปจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเสนอต่อคณะกรรมการ กปพ. ในการประชุมครั้งต่อไป
2.3 มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติประสานงานกับกระทรวงการคลังและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการใช้เงินกู้รายงานผลการใช้จ่ายเงินกู้ที่ผ่านมา รวมถึงโครงการมิยาซาวาที่มีต่อระบบเศรษฐกิจและการปรับโครงสร้าง
3. คณะกรรมการ กปพ. ได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานที่สำคัญ คือ
3.1 กองทุนพัฒนาวัตกรรม คณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนานวัตกรรมกำลังดำเนินการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนฯ และ สวทช. อยู่ในระหว่างการเตรียมการขอเบิกจ่ายเงินทุนประเดิม รวมทั้งการขอกำหนดวงเงินงบประมาณที่จะขอตั้งเพื่อขยายกองทุนพัฒนานวัตกรรมจำนวน 2,000 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 4 ปี (2544 - 2547)
3.2 การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ คณะอนุกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ ประกอบด้วย ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ และแนวทางที่สำคัญ 4 เรื่อง คือ การสร้างจิตสำนึกการพัฒนาคนและเทคโนโลยี องค์กรรับผิดชอบ และการดำเนินการให้มีดัชนีชี้วัด ซึ่งคณะอนุกรรมการฯ กำลังดำเนินการจัดสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากส่วนราชการ เอกชน และผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งได้กำหนดให้อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้ยางพารา เป็นโครงการนำร่องที่จะใช้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงผลที่จะเกิดขึ้นจากขบวนการเพิ่มผลผลิต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543--