ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
เกี่ยวกับอาเซียนคณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 ตุลาคม 2543 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือในการจัดทำรายละเอียด และดำเนินการตามโครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจอาเซียนให้เป็นรูปธรรมต่อไปสำหรับสาระสำคัญของรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 6 สรุปได้ดังนี้1.โครงการโทรทัศน์ดาวเทียมอาเซียน ซึ่งที่ประชุมพิจารณาให้ระงับโครงการดังกล่าวไว้ก่อน ขณะเดียวกันให้ประเทศสมาชิกพัฒนาโครงการความร่วมมืออื่นๆ ที่มีอยู่แล้วเป็นการทดแทน ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการใหญ่และต้องใช้งบประมาณของแต่ละประเทศเป็นจำนวนมาก
2. การพัฒนาโครงการเว็ปไซต์อาเซียน ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่าเว็ปไซต์อาเซียนซึ่งได้มีการเปิดตัวในการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2541 ควรมีการพัฒนาให้ทันสมัยและบรรจุข้อมูลต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการขยายแหล่งข้อมูล และส่งเสริมโครงการความร่วมมืออื่นๆ
3. การประชุมอาเซียนว่าด้วยอินเตอร์เน็ต ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการจัดประชุมว่าด้วยสื่ออินเตอร์เน็ต ครั้งที่ 2 เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้สื่อดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ขณะเดียวกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกพิจารณาส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาสื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อากรประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การส่งเสริมภาพลักษณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งที่ประชุมได้มีการอภิปรายและประชุมโต๊ะกลมเกี่ยวกับสถานภาพของอาเซียนในปัจจุบัน โดยต่างเห็นพ้องว่าอาเซียนยังขาดภาพลักษณ์ที่ชัดเจน และประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในประเทศ สมาชิก และนอกภูมิภาค ยังมีความรู้ ความเข้าใจน้อยเกี่ยวกับอาเซียน
4.1 แผนการประชาสัมพันธ์ ซึ่งประเทศไทยได้เสนอให้พิจารณาประเด็นโดยยึดสาระสำคัญของ "แผนปฏิบัติการฮานอย" และ "วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (พ.ศ.2563)" ซึ่งในส่วนประเทศไทยได้เน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและผลกระทบทางสังคมเป็นหลัก เนื่องจากหัวข้อดังกล้าวเป็นเรื่องเร่งด่วนและสอดคล้องกับวาระแห่งชาติ
4.2 การส่งเสริมภาพลักษณ์ และความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งประเทศไทยได้นำเสนอกลยุทธ์ โดยประยุกต์จากหลักการโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Advertising : Braning ASEAN Strategy) ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องในหลักการโดยเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการศึกษา จัดทำรายละเอียดและดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยรับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการด้านวัฒนธรรม และสารสนเทศอาเซียนต่อไป5. การลงนามบันทึกความเข้าใจ ซึ่งรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนได้รับรองและร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยแผนการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความตระหนัก และความเข้าใจอาเซียน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2543 และการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
เกี่ยวกับอาเซียนคณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 6 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-13 ตุลาคม 2543 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ กรมประชาสัมพันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมหารือในการจัดทำรายละเอียด และดำเนินการตามโครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจอาเซียนให้เป็นรูปธรรมต่อไปสำหรับสาระสำคัญของรายงานผลการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 6 สรุปได้ดังนี้1.โครงการโทรทัศน์ดาวเทียมอาเซียน ซึ่งที่ประชุมพิจารณาให้ระงับโครงการดังกล่าวไว้ก่อน ขณะเดียวกันให้ประเทศสมาชิกพัฒนาโครงการความร่วมมืออื่นๆ ที่มีอยู่แล้วเป็นการทดแทน ทั้งนี้ เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการใหญ่และต้องใช้งบประมาณของแต่ละประเทศเป็นจำนวนมาก
2. การพัฒนาโครงการเว็ปไซต์อาเซียน ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาเห็นว่าเว็ปไซต์อาเซียนซึ่งได้มีการเปิดตัวในการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 5 ที่กรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ.2541 ควรมีการพัฒนาให้ทันสมัยและบรรจุข้อมูลต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการขยายแหล่งข้อมูล และส่งเสริมโครงการความร่วมมืออื่นๆ
3. การประชุมอาเซียนว่าด้วยอินเตอร์เน็ต ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องให้มีการจัดประชุมว่าด้วยสื่ออินเตอร์เน็ต ครั้งที่ 2 เพื่อศึกษาผลกระทบของการใช้สื่อดังกล่าว โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ขณะเดียวกัน เพื่อให้ประเทศสมาชิกพิจารณาส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนาสื่ออินเตอร์เน็ตเพื่อากรประชาสัมพันธ์ และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศอาเซียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. การส่งเสริมภาพลักษณ์และความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งที่ประชุมได้มีการอภิปรายและประชุมโต๊ะกลมเกี่ยวกับสถานภาพของอาเซียนในปัจจุบัน โดยต่างเห็นพ้องว่าอาเซียนยังขาดภาพลักษณ์ที่ชัดเจน และประชาชนส่วนใหญ่ทั้งในประเทศ สมาชิก และนอกภูมิภาค ยังมีความรู้ ความเข้าใจน้อยเกี่ยวกับอาเซียน
4.1 แผนการประชาสัมพันธ์ ซึ่งประเทศไทยได้เสนอให้พิจารณาประเด็นโดยยึดสาระสำคัญของ "แผนปฏิบัติการฮานอย" และ "วิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (พ.ศ.2563)" ซึ่งในส่วนประเทศไทยได้เน้นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับนโยบายความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและผลกระทบทางสังคมเป็นหลัก เนื่องจากหัวข้อดังกล้าวเป็นเรื่องเร่งด่วนและสอดคล้องกับวาระแห่งชาติ
4.2 การส่งเสริมภาพลักษณ์ และความตระหนักเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งประเทศไทยได้นำเสนอกลยุทธ์ โดยประยุกต์จากหลักการโฆษณาประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Advertising : Braning ASEAN Strategy) ซึ่งที่ประชุมเห็นพ้องในหลักการโดยเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในการศึกษา จัดทำรายละเอียดและดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยรับการสนับสนุนงบประมาณจากคณะกรรมการด้านวัฒนธรรม และสารสนเทศอาเซียนต่อไป5. การลงนามบันทึกความเข้าใจ ซึ่งรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนได้รับรองและร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยแผนการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความตระหนัก และความเข้าใจอาเซียน เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2543 และการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-