ทำเนียบรัฐบาล--20 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปี 2542 และ 4 เดือนแรกของปี 2543 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สรุปภาพรวมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
โดยสรุปสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในส่วนที่เป็นเงินบาทได้ปรับตัวดีขึ้นในปี 2542 และ 2543 ดังนี้
1.1 ตัวเลขสินเชื่อที่ปรากฏในงบดุลของธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ลดลงเป็นจำนวน 224 พันล้านบาท ในปี 2542 และลดลงอีก 59 พันล้านบาท ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2543 แต่เมื่อปรับผลจากการที่มีการตัดหนี้สูญ การโอนสินเชื่อไป AMC การรับโอนสินเชื่อจาก 12 บริษัทเงินทุน (มีนาคม 2542) และปรับผลจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนสินเชื่อวิเทศธนกิจแล้ว ปรากฏว่าปริมาณสินเชื่อที่ภาคเอกชนได้รับจากธนาคารพาณิชย์และวิเทศธนกิจกลับเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 67 พันล้านบาทในปี 2542 ซึ่งเป็นการปรับตัวในทางที่ดีขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับในปี 2541 ที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์และวิเทศธนกิจลดลงถึง 175 พันล้านบาท
1.2 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 สินเชื่อธนาคารพาณิชย์และวิเทศธนกิจลดลง 47 พันล้านบาท เนื่องจากธนาคารญี่ปุ่นลดยอดสินเชื่อในช่วงปิดบัญชี และธุรกิจไทยหลายแห่งเร่งออกหุ้นกู้กันมากในระยะนี้ เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2543 เป็นต้นไป บริษัทที่จะออกหุ้นกู้แบบ private placement เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องได้รับ credit rating ตามกฎของ ก.ล.ต. ส่วนหนึ่งเมื่อได้รับเงินมาจากการออกหุ้นกู้แล้วก็นำไปชำระคืนหนี้ต่างประเทศประมาณ 33 พันล้านบาท และชำระคืนหนี้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศอีกประมาณ 6 พันล้านบาท ในช่วงไตรมาสแรกของปี (เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับจากการสำรวจ อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นไตรมาสแรกไปแล้ว สินเชื่อกลับมาเพิ่มขึ้น 7 พันล้านบาท ในเดือนเมษายน 2543
1.3 องค์ประกอบของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีการใช้สินเชื่อเงินบาทเพิ่มขึ้น และมีการชำระคืนหนี้วิเทศธนกิจ (BIBF) ต่อเนื่อง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น และหนี้วิเทศธนกิจมีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่สำหรับในปี 2542 นั้น สินเชื่อเงินบาทเพิ่มขึ้นมากกว่าสินเชื่อวิเทศธนกิจที่ลดลง ทำให้ปริมาณสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น
2. สินเชื่อแยกตามหมวดเศรษฐกิจ
สินเชื่อแยกตามภาคเศรษฐกิจภายใต้แผนสินเชื่อนั้น สามารถจำแนกสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ตามหมวดเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่สำคัญเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ การผลิต (มีสัดส่วนร้อยละ 37) การค้าและบริการ (มีสัดส่วนร้อยละ 25)การบริโภค (มีสัดส่วนร้อยละ 4) อสังหาริมทรัพย์ (มีสัดส่วนร้อยละ 18) และอื่น ๆ (มีสัดส่วนร้อยละ 16)
สำหรับแนวโน้มการให้สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2542 คือ สินเชื่อแก่ภาคอุตสาหกรรม สินเชื่อเพื่อการส่งสินค้าออกและสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อแก่ภาคเกษตร สินเชื่อแก่ภาคก่อสร้าง สินเชื่อแก่การพาณิชย์และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยค่อนข้างทรงตัว ส่วนที่มีแนวโน้มลดลงคือสินเชื่อที่ให้กับภาคเหมืองแร่
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 สินเชื่อหลายประเภทมีแนวโน้มชะลอลง ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อแก่ภาคอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการบริโภค ขณะที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงทรงตัว ส่วนสินเชื่อที่ให้กับภาคเหมืองแร่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงของแหล่งเงินทุนภาคเอกชน
ในรอบปี 2542 ถึงไตรมาสแรกของปี 2543 ภาคเอกชนไทยเพิ่มการระดมทุนโดยตรงด้วยการออกหุ้นกู้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บางส่วนที่เพิ่มทุนด้วยการออกจำหน่ายหุ้นสามัญ ทั้งนี้ เงินที่ระดมได้ดังกล่าว มีการนำไปชำระคืนหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และบางส่วนเป็นการเพิ่มการลงทุน
4. ความต้องการสินเชื่อธนาคารพาณิชย์และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นอกเหนือจากการที่ธุรกิจไทยหันไปพึ่งพิงแหล่งเงินทุนอื่นมากขึ้น เช่น การออกหุ้นกู้ อันส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อสถาบันการเงินไม่เพิ่มมากนัก ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ความต้องการสินเชื่อในปัจจุบันไม่มากเหมือนเมื่อช่วงก่อนเกิดวิกฤติ
สำหรับในปี 2543 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าสถานการณ์ด้านสินเชื่อจะดีขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 โดยสินเชื่อเงินบาทในประเทศจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสินเชื่อวิเทศธนกิจที่ลดลง และคาดว่าทั้งปีสินเชื่อจะปรับสูงขึ้นประมาณ 100 - 160 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 2 - 3 จากปี 2542 (หลังจากปรับผลจากการตัดหนี้สูญการโอนสินทรัพย์ไป AMC และปรับผลของอัตราแลกเปลี่ยนของสินเชื่อวิเทศธนกิจแล้ว) ซึ่งสามารถจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับร้อยละ 4 - 5 ได้อย่างเพียงพอ ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อ Nominal GDP ในปี 2543 อยู่ที่ระดับร้อยละ 108 - 109 ซึ่งยังเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ และในระยะต่อไปภาคธุรกิจเอกชนไทยมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ลดลง โดยหันมาระดมทุนจากการออกหุ้นและตราสารหนี้มากขึ้น เนื่องจากต้นทุนที่ถูกกว่า
จากการประมวลความเห็นของธนาคารพาณิชย์ มีความเห็นตรงกันว่าปัญหาสำคัญในการปล่อยสินเชื่อในปัจจุบัน คือ การขาดข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของผู้ขอกู้เงินที่แท้จริง จึงไม่กล้าที่จะปล่อยกู้เต็มที่ ถึงแม้ว่าโครงการที่ขอกู้จะมีศักยภาพก็ตาม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปี 2542 และ 4 เดือนแรกของปี 2543 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. สรุปภาพรวมสินเชื่อธนาคารพาณิชย์
โดยสรุปสถานการณ์การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในส่วนที่เป็นเงินบาทได้ปรับตัวดีขึ้นในปี 2542 และ 2543 ดังนี้
1.1 ตัวเลขสินเชื่อที่ปรากฏในงบดุลของธนาคารพาณิชย์และกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ลดลงเป็นจำนวน 224 พันล้านบาท ในปี 2542 และลดลงอีก 59 พันล้านบาท ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2543 แต่เมื่อปรับผลจากการที่มีการตัดหนี้สูญ การโอนสินเชื่อไป AMC การรับโอนสินเชื่อจาก 12 บริษัทเงินทุน (มีนาคม 2542) และปรับผลจากการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนสินเชื่อวิเทศธนกิจแล้ว ปรากฏว่าปริมาณสินเชื่อที่ภาคเอกชนได้รับจากธนาคารพาณิชย์และวิเทศธนกิจกลับเพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 67 พันล้านบาทในปี 2542 ซึ่งเป็นการปรับตัวในทางที่ดีขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับในปี 2541 ที่สินเชื่อธนาคารพาณิชย์และวิเทศธนกิจลดลงถึง 175 พันล้านบาท
1.2 ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 สินเชื่อธนาคารพาณิชย์และวิเทศธนกิจลดลง 47 พันล้านบาท เนื่องจากธนาคารญี่ปุ่นลดยอดสินเชื่อในช่วงปิดบัญชี และธุรกิจไทยหลายแห่งเร่งออกหุ้นกู้กันมากในระยะนี้ เนื่องจากตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 2543 เป็นต้นไป บริษัทที่จะออกหุ้นกู้แบบ private placement เกิน 100 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องได้รับ credit rating ตามกฎของ ก.ล.ต. ส่วนหนึ่งเมื่อได้รับเงินมาจากการออกหุ้นกู้แล้วก็นำไปชำระคืนหนี้ต่างประเทศประมาณ 33 พันล้านบาท และชำระคืนหนี้ธนาคารพาณิชย์ในประเทศอีกประมาณ 6 พันล้านบาท ในช่วงไตรมาสแรกของปี (เป็นข้อมูลเบื้องต้นที่ได้รับจากการสำรวจ อย่างไรก็ตาม เมื่อพ้นไตรมาสแรกไปแล้ว สินเชื่อกลับมาเพิ่มขึ้น 7 พันล้านบาท ในเดือนเมษายน 2543
1.3 องค์ประกอบของสินเชื่อระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงเปลี่ยนไปในลักษณะที่มีการใช้สินเชื่อเงินบาทเพิ่มขึ้น และมีการชำระคืนหนี้วิเทศธนกิจ (BIBF) ต่อเนื่อง เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในประเทศอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยต่างประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น และหนี้วิเทศธนกิจมีความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน แต่สำหรับในปี 2542 นั้น สินเชื่อเงินบาทเพิ่มขึ้นมากกว่าสินเชื่อวิเทศธนกิจที่ลดลง ทำให้ปริมาณสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้น
2. สินเชื่อแยกตามหมวดเศรษฐกิจ
สินเชื่อแยกตามภาคเศรษฐกิจภายใต้แผนสินเชื่อนั้น สามารถจำแนกสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ตามหมวดเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่สำคัญเป็น 5 หมวดใหญ่ คือ การผลิต (มีสัดส่วนร้อยละ 37) การค้าและบริการ (มีสัดส่วนร้อยละ 25)การบริโภค (มีสัดส่วนร้อยละ 4) อสังหาริมทรัพย์ (มีสัดส่วนร้อยละ 18) และอื่น ๆ (มีสัดส่วนร้อยละ 16)
สำหรับแนวโน้มการให้สินเชื่อธนาคารพาณิชย์ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2542 คือ สินเชื่อแก่ภาคอุตสาหกรรม สินเชื่อเพื่อการส่งสินค้าออกและสินเชื่อเพื่อการบริโภคส่วนบุคคล ขณะที่สินเชื่อแก่ภาคเกษตร สินเชื่อแก่ภาคก่อสร้าง สินเชื่อแก่การพาณิชย์และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยค่อนข้างทรงตัว ส่วนที่มีแนวโน้มลดลงคือสินเชื่อที่ให้กับภาคเหมืองแร่
อย่างไรก็ตาม ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2543 สินเชื่อหลายประเภทมีแนวโน้มชะลอลง ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อแก่ภาคอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการบริโภค ขณะที่สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงทรงตัว ส่วนสินเชื่อที่ให้กับภาคเหมืองแร่เริ่มปรับตัวดีขึ้น
3. การเปลี่ยนแปลงของแหล่งเงินทุนภาคเอกชน
ในรอบปี 2542 ถึงไตรมาสแรกของปี 2543 ภาคเอกชนไทยเพิ่มการระดมทุนโดยตรงด้วยการออกหุ้นกู้มากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์บางส่วนที่เพิ่มทุนด้วยการออกจำหน่ายหุ้นสามัญ ทั้งนี้ เงินที่ระดมได้ดังกล่าว มีการนำไปชำระคืนหนี้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ และบางส่วนเป็นการเพิ่มการลงทุน
4. ความต้องการสินเชื่อธนาคารพาณิชย์และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นอกเหนือจากการที่ธุรกิจไทยหันไปพึ่งพิงแหล่งเงินทุนอื่นมากขึ้น เช่น การออกหุ้นกู้ อันส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อสถาบันการเงินไม่เพิ่มมากนัก ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้ความต้องการสินเชื่อในปัจจุบันไม่มากเหมือนเมื่อช่วงก่อนเกิดวิกฤติ
สำหรับในปี 2543 นั้น ธนาคารแห่งประเทศไทยประเมินว่าสถานการณ์ด้านสินเชื่อจะดีขึ้นต่อเนื่องจากปี 2542 โดยสินเชื่อเงินบาทในประเทศจะเพิ่มขึ้นมากกว่าสินเชื่อวิเทศธนกิจที่ลดลง และคาดว่าทั้งปีสินเชื่อจะปรับสูงขึ้นประมาณ 100 - 160 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มร้อยละ 2 - 3 จากปี 2542 (หลังจากปรับผลจากการตัดหนี้สูญการโอนสินทรัพย์ไป AMC และปรับผลของอัตราแลกเปลี่ยนของสินเชื่อวิเทศธนกิจแล้ว) ซึ่งสามารถจะสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับร้อยละ 4 - 5 ได้อย่างเพียงพอ ทำให้สัดส่วนสินเชื่อต่อ Nominal GDP ในปี 2543 อยู่ที่ระดับร้อยละ 108 - 109 ซึ่งยังเป็นระดับที่สูงกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์ และในระยะต่อไปภาคธุรกิจเอกชนไทยมีแนวโน้มที่จะพึ่งพาแหล่งเงินทุนจากธนาคารพาณิชย์ลดลง โดยหันมาระดมทุนจากการออกหุ้นและตราสารหนี้มากขึ้น เนื่องจากต้นทุนที่ถูกกว่า
จากการประมวลความเห็นของธนาคารพาณิชย์ มีความเห็นตรงกันว่าปัญหาสำคัญในการปล่อยสินเชื่อในปัจจุบัน คือ การขาดข้อมูลเกี่ยวกับฐานะการเงินของผู้ขอกู้เงินที่แท้จริง จึงไม่กล้าที่จะปล่อยกู้เต็มที่ ถึงแม้ว่าโครงการที่ขอกู้จะมีศักยภาพก็ตาม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มิ.ย. 2543--
-สส-