คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่สนับสนุนและติดตามการดำเนินงาน ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามนโยบายของคณะรัฐมนตรี (ป.ท.) ครั้งที่ 2/2544 และเห็นชอบมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
คณะกรรมการ ป.ท. ได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ป.ท. ครั้งที่ 2/2544 ในช่วงระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม - 24 สิงหาคม 2544 ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการปราบปราม ด้านการประสานงาน และด้านธุรการและการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร้องเรียนการทุจริต เป็นระยะเวลา 5 เดือน คณะกรรมการ ป.ท. ได้มีการประชุมไปแล้วรวมทั้งสิ้น 17 ครั้ง ได้มีมติสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งเห็นสมควรดำเนินการให้ปรากฏเป็นรูปธรรมต่อไปโดยเร็วโดยดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. กำหนดตำแหน่งและบุคคลที่สมควรยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
2. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
3. จัดประชุม Workshop การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
4. กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องยื่น และหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน โดยให้นำเสนอเป็นประเด็นเข้าที่ประชุม Workshop พิจารณาต่อไป
5. ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมคนดีให้สังคมได้รับรู้และเป็นแบบอย่างโดยให้นำเสนอในรูปวีดีทัศน์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในรายการคนดีของแผ่นดิน โดยใน 20 ตอนแรกให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่ได้รับเลือกเป็นข้าราชการดีเด่นจำนวน 20 คนมาเป็นตัวอย่าง และในตอนต่อไปเป็นตัวแทนนักศึกษาของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
6. ให้อธิการบดีของทุกสถาบันการศึกษาร่วมกันดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีของนักศึกษาของสถาบันอย่างจริงจังด้วยตนเอง
7. ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ได้เน้นในด้านส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวให้เข้มแข็ง
8. ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ดำเนินการปรับระดับเกณฑ์อายุช่วง 15 - 25 ปีใหม่ เป็น อายุ 15 - 19 ปี และ 20 - 25 ปี ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง และประสานกับกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยหาวิธีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทยให้แก่เด็กนักเรียน นักศึกษา ไม่ประพฤติในสิ่งที่ไม่ชอบต่าง ๆ
9. แก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
10. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการเร่งรัดกวดขันปรามนักศึกษาที่ทำการค้าประเวณีในทุกเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างเฉียบขาดจริงจัง
11. ให้กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยแจ้งไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้อธิการบดีเข้ามาดำเนินการรับผิดชอบในการป้องกันการค้าประเวณีของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาด้วยตนเองอย่างจริงจังควบคู่กันไปกับการปราบปรามร่วมกับตำรวจ
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
คณะกรรมการ ป.ท. ได้รายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ป.ท. ครั้งที่ 2/2544 ในช่วงระหว่างวันที่ 18 พฤษภาคม - 24 สิงหาคม 2544 ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการป้องกัน ด้านการปราบปราม ด้านการประสานงาน และด้านธุรการและการตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการร้องเรียนการทุจริต เป็นระยะเวลา 5 เดือน คณะกรรมการ ป.ท. ได้มีการประชุมไปแล้วรวมทั้งสิ้น 17 ครั้ง ได้มีมติสำคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ซึ่งเห็นสมควรดำเนินการให้ปรากฏเป็นรูปธรรมต่อไปโดยเร็วโดยดำเนินการตามมาตรการ ดังนี้
1. กำหนดตำแหน่งและบุคคลที่สมควรยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินและเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินต่อสาธารณชนโดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม
2. ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
3. จัดประชุม Workshop การป้องกันและปราบปรามการทุจริต
4. กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่จะต้องยื่น และหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการรับการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน โดยให้นำเสนอเป็นประเด็นเข้าที่ประชุม Workshop พิจารณาต่อไป
5. ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมคนดีให้สังคมได้รับรู้และเป็นแบบอย่างโดยให้นำเสนอในรูปวีดีทัศน์ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ในรายการคนดีของแผ่นดิน โดยใน 20 ตอนแรกให้สำนักงาน ก.พ. พิจารณาคัดเลือกบุคคลที่ได้รับเลือกเป็นข้าราชการดีเด่นจำนวน 20 คนมาเป็นตัวอย่าง และในตอนต่อไปเป็นตัวแทนนักศึกษาของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
6. ให้อธิการบดีของทุกสถาบันการศึกษาร่วมกันดำเนินการป้องกันและปราบปรามการค้าประเวณีของนักศึกษาของสถาบันอย่างจริงจังด้วยตนเอง
7. ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ได้เน้นในด้านส่งเสริมและพัฒนาครอบครัวให้เข้มแข็ง
8. ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานเยาวชนแห่งชาติ (สยช.) ดำเนินการปรับระดับเกณฑ์อายุช่วง 15 - 25 ปีใหม่ เป็น อายุ 15 - 19 ปี และ 20 - 25 ปี ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถาบันครอบครัวเข้มแข็ง และประสานกับกระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยหาวิธีการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมไทยให้แก่เด็กนักเรียน นักศึกษา ไม่ประพฤติในสิ่งที่ไม่ชอบต่าง ๆ
9. แก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535
10. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการเร่งรัดกวดขันปรามนักศึกษาที่ทำการค้าประเวณีในทุกเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างเฉียบขาดจริงจัง
11. ให้กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัยแจ้งไปยังสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ให้อธิการบดีเข้ามาดำเนินการรับผิดชอบในการป้องกันการค้าประเวณีของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาด้วยตนเองอย่างจริงจังควบคู่กันไปกับการปราบปรามร่วมกับตำรวจ
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-