คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ร่างอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับประเทศบาห์เรน และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศรับไปดำเนินการ เพื่อให้อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้คณะผู้แทนไทยดำเนินการเจรจาจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศบาห์เรน นั้น ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ทุกข้อบท และได้มีการลงนามย่อกำกับร่างอนุสัญญาฯ ฉบับที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สรุปสาระสำคัญของอนุสัญญาได้ ดังนี้
1. ขอบข่ายของอนุสัญญาฯ อนุสัญญาฯ นี้จะใช้กับผู้มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยหรือประเทศบาห์เรนหรือทั้งสองประเทศ และจะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากฐานเงินได้
2. วิธีขจัดภาษีซ้อน
ประเทศคู่สัญญาจะยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ของตนนำภาษีที่เสียไว้แล้วในอีกประเทศหนึ่งมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศตนเท่าจำนวนภาษีที่ได้ชำระไว้จริงแต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ในประเทศตน
นอกจากนี้ อนุสัญญาฯ ยังได้กำหนดให้มีมาตรการ Tax Sparing Credit ด้วย กล่าวคือ กรณีได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีตามกฎหมายภายในของประเทศหนึ่ง (ประเทศแหล่งเงินได้) อีกประเทศหนึ่ง (ประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้รับเงินได้) จะยอมให้นำจำนวนภาษีที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าวไปถือเป็นเครดิตภาษีได้อีก
3. การเก็บภาษีจากกำไรธุรกิจ ประเทศที่มีการจ่ายเงินได้จะเก็บภาษีจากผู้รับเงินได้ซึ่งเป็นวิสาหกิจของอีกประเทศหนึ่งได้ต่อเมื่อวิสาหกิจนั้นดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
4. การเก็บภาษีจากการขนส่งระหว่างประเทศ ประเทศแหล่งเงินได้ยกเว้นภาษีให้เฉพาะการขนส่งทางอากาศ ส่วนการขนส่งทางเรือจะลดภาษีให้กึ่งหนึ่ง
5. การเก็บภาษีจากทรัพย์สินประเภททุน กรณีเงินปันผล เงินได้จากสิทธิเรียกร้องให้หนี้ (ดอกเบี้ย) และค่าสิทธิ จะมีการจำกัดอัตราภาษีในประเทศผู้จ่ายเงินได้โดยไม่ให้เก็บเกินกว่าเพดานภาษีตามที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้ กรณีค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผลได้จากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ของสถานประกอบการถาวร ให้ประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ยังคงมีสิทธิเก็บภาษีได้ เว้นแต่ผลได้จากการจำหน่ายเรือและอากาศยานที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศให้เก็บภาษีได้เฉพาะในประเทศที่ผู้จำหน่ายมีถิ่นที่อยู่ ส่วนผลได้จากการขายหุ้นให้ประเทศแหล่งเงินได้ยังคงมีสิทธิเก็บภาษีได้
6. การเก็บภาษีจากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการจ้างแรงงานและการให้บริการส่วนบุคคล หากมีการให้บริการในประเทศใดให้ประเทศนั้นมีสิทธิเก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่อนุสัญญาฯกำหนดไว้
7. บทบัญญัติพิเศษอื่น ๆ เช่น คำนิยามทั่วไป การไม่เลือกประติบัติ วิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน มีการบัญญัติขึ้นเพื่อให้การใช้บังคับอนุสัญญาฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติและมีการประสานงานเพือ่ประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญา
8. การเริ่มใช้และการเลิกใช้อนุสัญญาฯ เมื่อประเทศคู่สัญญาได้ดำเนินการตามแบบพิธีที่มีอยู่ตามกฎหมายภายในของตน และได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารแล้ว อนุสัญญาฯ จึงจะมีผลบังคับใช้ โดยที่ในส่วนของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย นั้น จะใช้บังคับกับเงินได้ที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีซึ่งอนุสัญญาฯ มีผลบังคับ และในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ นั้น จะใช้บังคับสำหรับภาษีที่เรียกเก็บในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ
สำหรับการเลิกใช้นั้น ประเทศคู่สัญญาสามารถแจ้งการเลิกใช้ด้วยวิธีทางการทูตภายหลังจากที่อนุสัญญาฯนี้มีผลบังคับมาแล้ว 5 ปี โดยแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยในส่วนของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในประเทศไทยจะมีผลเลิกใช้กับเงินได้ที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม ถัดจากวันที่มีการแจ้งการเลิกใช้ ในประเทศบาห์เรนจะมีผลเลิกใช้กับเงินได้ที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม ถัดจากวันที่มีการแจ้งการเลิกใช้ และในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ นั้น ในประเทศไทยจะมีผลเลิกใช้สำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันที่1 มกราคม ถัดจากวันที่มีการแจ้งการเลิกใช้ ในประเทศบาห์เรนจะมีผลเลิกใช้สำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม ถัดจากวันที่มีการแจ้งการเลิกใช้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
กระทรวงการคลังรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้คณะผู้แทนไทยดำเนินการเจรจาจัดทำอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศบาห์เรน นั้น ทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงกันได้ทุกข้อบท และได้มีการลงนามย่อกำกับร่างอนุสัญญาฯ ฉบับที่ได้ตกลงกันไว้แล้ว สรุปสาระสำคัญของอนุสัญญาได้ ดังนี้
1. ขอบข่ายของอนุสัญญาฯ อนุสัญญาฯ นี้จะใช้กับผู้มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศไทยหรือประเทศบาห์เรนหรือทั้งสองประเทศ และจะใช้บังคับกับภาษีเก็บจากฐานเงินได้
2. วิธีขจัดภาษีซ้อน
ประเทศคู่สัญญาจะยอมให้ผู้มีถิ่นที่อยู่ของตนนำภาษีที่เสียไว้แล้วในอีกประเทศหนึ่งมาหักออกจากภาษีที่ต้องชำระในประเทศตนเท่าจำนวนภาษีที่ได้ชำระไว้จริงแต่ต้องไม่เกินกว่าจำนวนภาษีที่คำนวณได้ในประเทศตน
นอกจากนี้ อนุสัญญาฯ ยังได้กำหนดให้มีมาตรการ Tax Sparing Credit ด้วย กล่าวคือ กรณีได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีตามกฎหมายภายในของประเทศหนึ่ง (ประเทศแหล่งเงินได้) อีกประเทศหนึ่ง (ประเทศถิ่นที่อยู่ของผู้รับเงินได้) จะยอมให้นำจำนวนภาษีที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนดังกล่าวไปถือเป็นเครดิตภาษีได้อีก
3. การเก็บภาษีจากกำไรธุรกิจ ประเทศที่มีการจ่ายเงินได้จะเก็บภาษีจากผู้รับเงินได้ซึ่งเป็นวิสาหกิจของอีกประเทศหนึ่งได้ต่อเมื่อวิสาหกิจนั้นดำเนินธุรกิจผ่านสถานประกอบการถาวรในประเทศที่มีการจ่ายเงินได้นั้น
4. การเก็บภาษีจากการขนส่งระหว่างประเทศ ประเทศแหล่งเงินได้ยกเว้นภาษีให้เฉพาะการขนส่งทางอากาศ ส่วนการขนส่งทางเรือจะลดภาษีให้กึ่งหนึ่ง
5. การเก็บภาษีจากทรัพย์สินประเภททุน กรณีเงินปันผล เงินได้จากสิทธิเรียกร้องให้หนี้ (ดอกเบี้ย) และค่าสิทธิ จะมีการจำกัดอัตราภาษีในประเทศผู้จ่ายเงินได้โดยไม่ให้เก็บเกินกว่าเพดานภาษีตามที่อนุสัญญาฯ กำหนดไว้ กรณีค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ และผลได้จากการจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์และสังหาริมทรัพย์ของสถานประกอบการถาวร ให้ประเทศที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ยังคงมีสิทธิเก็บภาษีได้ เว้นแต่ผลได้จากการจำหน่ายเรือและอากาศยานที่ใช้ในการขนส่งระหว่างประเทศให้เก็บภาษีได้เฉพาะในประเทศที่ผู้จำหน่ายมีถิ่นที่อยู่ ส่วนผลได้จากการขายหุ้นให้ประเทศแหล่งเงินได้ยังคงมีสิทธิเก็บภาษีได้
6. การเก็บภาษีจากเงินเดือน ค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนจากการจ้างแรงงานและการให้บริการส่วนบุคคล หากมีการให้บริการในประเทศใดให้ประเทศนั้นมีสิทธิเก็บภาษีได้ แต่อาจได้รับยกเว้นภาษีตามเงื่อนไขที่อนุสัญญาฯกำหนดไว้
7. บทบัญญัติพิเศษอื่น ๆ เช่น คำนิยามทั่วไป การไม่เลือกประติบัติ วิธีการดำเนินการเพื่อความตกลงร่วมกัน มีการบัญญัติขึ้นเพื่อให้การใช้บังคับอนุสัญญาฯ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ไม่เกิดการเลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติและมีการประสานงานเพือ่ประโยชน์ในการบริหารจัดเก็บภาษีของประเทศคู่สัญญา
8. การเริ่มใช้และการเลิกใช้อนุสัญญาฯ เมื่อประเทศคู่สัญญาได้ดำเนินการตามแบบพิธีที่มีอยู่ตามกฎหมายภายในของตน และได้มีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารแล้ว อนุสัญญาฯ จึงจะมีผลบังคับใช้ โดยที่ในส่วนของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย นั้น จะใช้บังคับกับเงินได้ที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีซึ่งอนุสัญญาฯ มีผลบังคับ และในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ นั้น จะใช้บังคับสำหรับภาษีที่เรียกเก็บในปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันแรกของเดือนมกราคมถัดจากปีที่อนุสัญญาฯ มีผลบังคับ
สำหรับการเลิกใช้นั้น ประเทศคู่สัญญาสามารถแจ้งการเลิกใช้ด้วยวิธีทางการทูตภายหลังจากที่อนุสัญญาฯนี้มีผลบังคับมาแล้ว 5 ปี โดยแจ้งภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ โดยในส่วนของภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ในประเทศไทยจะมีผลเลิกใช้กับเงินได้ที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม ถัดจากวันที่มีการแจ้งการเลิกใช้ ในประเทศบาห์เรนจะมีผลเลิกใช้กับเงินได้ที่จ่ายหรือนำส่งในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม ถัดจากวันที่มีการแจ้งการเลิกใช้ และในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้อื่น ๆ นั้น ในประเทศไทยจะมีผลเลิกใช้สำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันที่1 มกราคม ถัดจากวันที่มีการแจ้งการเลิกใช้ ในประเทศบาห์เรนจะมีผลเลิกใช้สำหรับปีภาษีหรือรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มต้นในหรือหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม ถัดจากวันที่มีการแจ้งการเลิกใช้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-