การปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เกี่ยวกับการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 สำหรับหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 31 สิงหาคม 2544 จำนวน 20,000 ล้านบาท ดังนี้
1. ออกพันธบัตรรัฐบาลโดยการประมูลผลตอบแทน (yield) ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจะใช้วิธีการพันธบัตรใหม่ หรือ Re-open พันธบัตรรุ่นเดิม
2. อายุพันธบัตรไม่เกิน 20 ปี โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ย (coupon) ตามอัตราตลาดหรือไม่เกินอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่จะ Re-open
3. ออกตราสารเงินกู้ระยะสั้นโดยมีอายุไม่เกิน 12 เดือน และหรือทำสัญญาเงินกู้จากสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลของรัฐฯ
4. สำหรับรายละเอียดและเงื่อนไขอื่นในการปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ดังเช่นกรณีก่อนหน้านี้ดังที่เคยปฏิบัติมา หรือในกรณีที่ได้มีการออกตราสารเงินกู้ระยะสั้นเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และเมื่อตราสารเงินกู้ระยะสั้นครบกำหนดชำระแล้ว ไม่สามารถออกพันธบัตรรัฐบาลไปทดแทนได้ ก็ให้ดำเนินการออกตราสารเงินกู้ระยะสั้นต่อไปได้ตามความเหมาะสม โดยให้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
อนึ่ง ในการดำเนินการออกตราสารเงินกู้ระยะสั้นเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หรือกู้เงินจากสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลของรัฐฯ ก่อนหนี้ครบกำหนด แล้วจึงทำการประมูลพันธบัตรนั้นจะเกิดภาระดอกเบี้ยขึ้น ในขณะที่ก็ยังคงมีภาระดอกเบี้ยของหนี้ที่กำลังจะถึงกำหนดชำระในช่วงเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังจะพิจารณาและดูแลให้เกิดภาระดอกเบี้ยดังกล่าวน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
กระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 ออกพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น500,000 ล้านบาท และได้ชำระคืนต้นเงินไปแล้วบางส่วน จำนวน 1,034.52 ล้านบาท คงเหลืออีกจำนวน 498,796.48ล้านบาท บัดนี้พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ 2541/3/2 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10.5 ต่อปี วงเงิน 20,000 ล้านบาท จะครบกำหนดชำระในวันที่ 31 สิงหาคม 2544
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กำหนดให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของกระทรวงการคลัง โดยสามารถกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ ซึ่งหนี้ที่ถึงกำหนดชำระคืนมีเป็นจำนวนสูง ประกอบกับเงินกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้มีจำนวน 153.43 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ดังกล่าว ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเห็นควรปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ จำนวน 20,000 ล้านบาท ดังกล่าว
เนื่องจากต้นเงินของพันธบัตรที่จะครบกำหนดในวันที่ 31 สิงหาคม 2544 วงเงินจำนวน 20,000 ล้านบาท ไม่สามารถกู้เงินทั้งจำนวนจากตลาดการเงินในวันที่ถึงกำหนดชำระคืนในวันเดียวได้ และในการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะมีความเสี่ยงในการหาเงินให้ได้ในจำนวนที่เพียงพอแล้ว ยังมีผลกระทบต่อตลาดเงินและต้นทุนการกู้เป็นอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถระดมทุนเพื่อมาไถ่ถอนพันธบัตรได้ในคราวเดียว จึงจำเป็นต้องกำหนดแผนการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามพระราชกำหนดฯ โดยทยอยกู้เพื่อให้ได้ครบตามจำนวนที่ต้องชำระ โดยต้องดำเนินการกู้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 ก.ค.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการตามที่กระทรวงการคลังเสนอ เกี่ยวกับการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 สำหรับหนี้ที่จะครบกำหนดชำระในวันที่ 31 สิงหาคม 2544 จำนวน 20,000 ล้านบาท ดังนี้
1. ออกพันธบัตรรัฐบาลโดยการประมูลผลตอบแทน (yield) ซึ่งในการดำเนินการดังกล่าวจะใช้วิธีการพันธบัตรใหม่ หรือ Re-open พันธบัตรรุ่นเดิม
2. อายุพันธบัตรไม่เกิน 20 ปี โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ย (coupon) ตามอัตราตลาดหรือไม่เกินอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรที่จะ Re-open
3. ออกตราสารเงินกู้ระยะสั้นโดยมีอายุไม่เกิน 12 เดือน และหรือทำสัญญาเงินกู้จากสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลของรัฐฯ
4. สำหรับรายละเอียดและเงื่อนไขอื่นในการปรับโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ ดังเช่นกรณีก่อนหน้านี้ดังที่เคยปฏิบัติมา หรือในกรณีที่ได้มีการออกตราสารเงินกู้ระยะสั้นเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และเมื่อตราสารเงินกู้ระยะสั้นครบกำหนดชำระแล้ว ไม่สามารถออกพันธบัตรรัฐบาลไปทดแทนได้ ก็ให้ดำเนินการออกตราสารเงินกู้ระยะสั้นต่อไปได้ตามความเหมาะสม โดยให้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบหลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
อนึ่ง ในการดำเนินการออกตราสารเงินกู้ระยะสั้นเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ หรือกู้เงินจากสถาบันการเงินที่อยู่ในความดูแลของรัฐฯ ก่อนหนี้ครบกำหนด แล้วจึงทำการประมูลพันธบัตรนั้นจะเกิดภาระดอกเบี้ยขึ้น ในขณะที่ก็ยังคงมีภาระดอกเบี้ยของหนี้ที่กำลังจะถึงกำหนดชำระในช่วงเวลาเดียวกันด้วย ซึ่งกระทรวงการคลังจะพิจารณาและดูแลให้เกิดภาระดอกเบี้ยดังกล่าวน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
กระทรวงการคลังอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน และจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 ออกพันธบัตรรัฐบาลไปแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น500,000 ล้านบาท และได้ชำระคืนต้นเงินไปแล้วบางส่วน จำนวน 1,034.52 ล้านบาท คงเหลืออีกจำนวน 498,796.48ล้านบาท บัดนี้พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ 2541/3/2 อายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 10.5 ต่อปี วงเงิน 20,000 ล้านบาท จะครบกำหนดชำระในวันที่ 31 สิงหาคม 2544
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน กำหนดให้กระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของกระทรวงการคลัง โดยสามารถกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ในประเทศ ซึ่งหนี้ที่ถึงกำหนดชำระคืนมีเป็นจำนวนสูง ประกอบกับเงินกองทุนเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้มีจำนวน 153.43 ล้านบาท ซึ่งไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ดังกล่าว ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงเห็นควรปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลกรณีพิเศษ จำนวน 20,000 ล้านบาท ดังกล่าว
เนื่องจากต้นเงินของพันธบัตรที่จะครบกำหนดในวันที่ 31 สิงหาคม 2544 วงเงินจำนวน 20,000 ล้านบาท ไม่สามารถกู้เงินทั้งจำนวนจากตลาดการเงินในวันที่ถึงกำหนดชำระคืนในวันเดียวได้ และในการดำเนินการดังกล่าว นอกจากจะมีความเสี่ยงในการหาเงินให้ได้ในจำนวนที่เพียงพอแล้ว ยังมีผลกระทบต่อตลาดเงินและต้นทุนการกู้เป็นอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถระดมทุนเพื่อมาไถ่ถอนพันธบัตรได้ในคราวเดียว จึงจำเป็นต้องกำหนดแผนการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ตามพระราชกำหนดฯ โดยทยอยกู้เพื่อให้ได้ครบตามจำนวนที่ต้องชำระ โดยต้องดำเนินการกู้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม 2544 เป็นต้นไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 ก.ค.44--
-สส-