คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอให้องค์การสวนยางใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออก (Packing Credit) เพิ่มเติมอีก 1,300 ล้านบาท ตามมูลค่ายางในสต๊อคที่มีอยู่ จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และหรือสถาบันการเงินอื่นเพื่อนำเงินไปใช้ดำเนินงานโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราระยะที่ 6 ต่อไป ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีไว้แล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการใช้สินเชื่อเพื่อการส่งออกให้เบิกจ่ายจากโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราระยะที่ 6 ต่อไป เนื่องจากสถานการณ์ราคายางในท้องถิ่นอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 16 - 17 บาท ซึ่งยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย โดยการนำ Letter of Credit ค่าขายยาง และหรือสัญญาการซื้อขายยางของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราไปขอสินเชื่อเพื่อการส่งออกเพื่อนำเงินไปใช้หมุนเวียนซื้อยางตามโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา โดยให้ดำเนินการแทรกแซงซื้อยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ต่อเนื่องจากวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 ต่อไปจนกว่าราคายางจะกลับสู่ภาวะปกติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2542 หรือจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น
สำหรับราคายาง ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2544 มีดังนี้
1. ราคาซื้อยางแผ่นรมควัน ชั้น 3 FOB กรุงเทพฯ กิโลกรัมละ 21.30 บาท
2. ราคาประมูลซื้อขายยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ นครศรีธรรมราช และ สุราษฎร์ธานี กิโลกรัมละ 17.50 - 17.70 บาท
3. ราคาซื้อขายยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดท้องถิ่นกิโลกรัมละ 16.50 - 17.00 บาท
4. ราคาแทรกแซงซื้อยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 22.75 บาท
5. ในช่วงระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2544 ใช้เงินซื้อยางประมาณวันละ 80 - 90 ล้านบาท และคาดว่าในช่วงเดือนธันวาคม 2544 จะต้องใช้เงินซื้อยางประมาณวันละ 90 - 100 ล้านบาทสถานะ การเงินของโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2544
1. มีเงินคงเหลือในบัญชี 50 ล้านบาท
2. วงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออก 1,000 ล้านบาท
คงเหลือที่จะสามารถทำสินเชื่อเพื่อการส่งออกได้อีก 150 ล้านบาท
3. เงินที่คาดว่าจะเก็บได้อีกจากการขายยาง 800 ล้านบาท
(ทะยอยรับตั้งแต่ธันวาคม 2544 - 15 กุมภาพันธ์ 2545)
สต๊อคยางที่ไม่มีภาระผูกพัน 80,520 ตัน มูลค่า ณ โกดัง ประมาณ 1,470 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. สต๊อคยางลูกขุนพร้อมขาย จำนวน 57,240 ตัน
2. ยางแผ่นอยู่ระหว่างการผลิต จำนวน 23,280 ตัน
ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การสวนยาง ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2544 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 จึงมีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้องค์การสวนยางใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออกเพิ่มเติมอีก 1,300 ล้านบาท ตามมูลค่ายางในสต๊อคที่มีอยู่จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่ามีความจำเป็นต้องดำเนินการโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราระยะที่ 6 ต่อไป เนื่องจากสถานการณ์ราคายางในท้องถิ่นอยู่ในระดับกิโลกรัมละ 16 - 17 บาท ซึ่งยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย โดยการนำ Letter of Credit ค่าขายยาง และหรือสัญญาการซื้อขายยางของโครงการแทรกแซงตลาดยางพาราไปขอสินเชื่อเพื่อการส่งออกเพื่อนำเงินไปใช้หมุนเวียนซื้อยางตามโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา โดยให้ดำเนินการแทรกแซงซื้อยางโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ต่อเนื่องจากวันที่ 31 กรกฎาคม 2544 ต่อไปจนกว่าราคายางจะกลับสู่ภาวะปกติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2542 หรือจนกว่าคณะรัฐมนตรีจะมีมติเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นอย่างอื่น
สำหรับราคายาง ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2544 มีดังนี้
1. ราคาซื้อยางแผ่นรมควัน ชั้น 3 FOB กรุงเทพฯ กิโลกรัมละ 21.30 บาท
2. ราคาประมูลซื้อขายยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ณ ตลาดกลางยางพาราหาดใหญ่ นครศรีธรรมราช และ สุราษฎร์ธานี กิโลกรัมละ 17.50 - 17.70 บาท
3. ราคาซื้อขายยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 ตลาดท้องถิ่นกิโลกรัมละ 16.50 - 17.00 บาท
4. ราคาแทรกแซงซื้อยางแผ่นดิบคุณภาพ 3 กิโลกรัมละ 22.75 บาท
5. ในช่วงระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2544 ใช้เงินซื้อยางประมาณวันละ 80 - 90 ล้านบาท และคาดว่าในช่วงเดือนธันวาคม 2544 จะต้องใช้เงินซื้อยางประมาณวันละ 90 - 100 ล้านบาทสถานะ การเงินของโครงการแทรกแซงตลาดยางพารา ระยะที่ 6 ณ วันที่ 4 ธันวาคม 2544
1. มีเงินคงเหลือในบัญชี 50 ล้านบาท
2. วงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออก 1,000 ล้านบาท
คงเหลือที่จะสามารถทำสินเชื่อเพื่อการส่งออกได้อีก 150 ล้านบาท
3. เงินที่คาดว่าจะเก็บได้อีกจากการขายยาง 800 ล้านบาท
(ทะยอยรับตั้งแต่ธันวาคม 2544 - 15 กุมภาพันธ์ 2545)
สต๊อคยางที่ไม่มีภาระผูกพัน 80,520 ตัน มูลค่า ณ โกดัง ประมาณ 1,470 ล้านบาท แบ่งเป็น
1. สต๊อคยางลูกขุนพร้อมขาย จำนวน 57,240 ตัน
2. ยางแผ่นอยู่ระหว่างการผลิต จำนวน 23,280 ตัน
ดังนั้น คณะกรรมการบริหารกิจการขององค์การสวนยาง ในคราวประชุมครั้งที่ 11/2544 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2544 จึงมีมติเห็นชอบให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้องค์การสวนยางใช้วงเงินสินเชื่อเพื่อการส่งออกเพิ่มเติมอีก 1,300 ล้านบาท ตามมูลค่ายางในสต๊อคที่มีอยู่จากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-