คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนเตรียมพร้อมด้านพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) รายงานว่า ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์วินาศกรรมในสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2544 และนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน จัดประชุมหารือเพื่อเตรียมความพร้อมทางด้านพลังงาน เนื่องจากประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบด้านการจัดหาน้ำมันจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา นั้น คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้มีการประชุมรวม 2 ครั้ง ซึ่งที่ประชุมได้มีมติ ดังนี้
1. มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายเป็นดังนี้
1.1 น้ำมันดิบให้เพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5
1.2 น้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศทุกชนิดให้เพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5
1.3 น้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาในประเทศทุกชนิดให้เพิ่มจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10
2. ให้มีการบริหารการส่งออกน้ำมัน โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและกรมทะเบียนการค้า เป็นผู้กำกับดูแลและบริหารการส่งออกน้ำมันของประเทศให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์พลังงานของประเทศ ทั้งนี้ ในระหว่างการออกกำหนดวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน น้ำมันส่งออกที่ได้มีการขนถ่ายเพื่อเตรียมการส่งออกเรียบร้อยแล้วให้ส่งออกได้ตามปกติ
3. ให้ผู้ค้ำน้ำมันแจ้งการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ณ สถานีบริการต่อ สพช. และกรมการค้าภายในล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการเปลี่ยนแปลงราคาทุกครั้ง และให้กำกับดูแลการกำหนดราคาขายปลีกของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่แสดงเครื่องหมายการค้าของตนอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค
4. เนื่องจากการดำเนินการปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ จะมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานเกินไป และอาจไม่ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้น เพื่อให้มีการเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันให้เร็วขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้มีการเก็บน้ำมันคงเหลือสำหรับป้องกันการขาดแคลนในช่วงก่อน 90 วัน โดยจะสามารถเร่งสำรองให้เพิ่มขึ้นได้ภายใน 30 วัน ดังนี้
4.1 ให้สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่กลั่นหรือผลิตในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 2
4.2 ให้สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 4
สำหรับมาตรการห้ามหรือจำกัดการส่งออกนั้น เห็นควรดำเนินการเมื่อมีภาวะสงครามเกิดขึ้น และเกิดการขาดแคลน เพื่อรักษาปริมาณน้ำมันให้เพียงพอกับการจำหน่ายในประเทศก่อน โดยยังไม่ต้องประกาศออกไปตอนนี้ เพราะจะทำให้มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันใตลาดสิงคโปร์ได้ แต่ให้ใช้ "มาตรการบริหารการส่งออกแทน"
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาถึงมาตรการประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า แต่เนื่องจากในช่วงระยะเวลานี้ยังไม่เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมัน ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ดำเนินการรณรงค์ ขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการและประชาชนให้ประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า และมาตรการบังคับที่ไม่รุนแรงนัก โดยออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อกำหนดเป็นมาตรการบังคับต่อไป ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ในวันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. มอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์รับไปดำเนินการปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายเป็นดังนี้
1.1 น้ำมันดิบให้เพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5
1.2 น้ำมันสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศทุกชนิดให้เพิ่มจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5
1.3 น้ำมันสำเร็จรูปที่นำเข้ามาในประเทศทุกชนิดให้เพิ่มจากร้อยละ 6 เป็นร้อยละ 10
2. ให้มีการบริหารการส่งออกน้ำมัน โดยมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและกรมทะเบียนการค้า เป็นผู้กำกับดูแลและบริหารการส่งออกน้ำมันของประเทศให้มีความยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์พลังงานของประเทศ ทั้งนี้ ในระหว่างการออกกำหนดวิธีปฏิบัติที่ชัดเจน น้ำมันส่งออกที่ได้มีการขนถ่ายเพื่อเตรียมการส่งออกเรียบร้อยแล้วให้ส่งออกได้ตามปกติ
3. ให้ผู้ค้ำน้ำมันแจ้งการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ณ สถานีบริการต่อ สพช. และกรมการค้าภายในล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนการเปลี่ยนแปลงราคาทุกครั้ง และให้กำกับดูแลการกำหนดราคาขายปลีกของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่แสดงเครื่องหมายการค้าของตนอย่างเคร่งครัด เพื่อมิให้มีการเอาเปรียบผู้บริโภค
4. เนื่องจากการดำเนินการปรับเพิ่มอัตราสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ จะมีผลบังคับใช้ภายใน 90 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานเกินไป และอาจไม่ทันต่อเหตุการณ์ ดังนั้น เพื่อให้มีการเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันให้เร็วขึ้น ที่ประชุมจึงมีมติให้ออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อให้มีการเก็บน้ำมันคงเหลือสำหรับป้องกันการขาดแคลนในช่วงก่อน 90 วัน โดยจะสามารถเร่งสำรองให้เพิ่มขึ้นได้ภายใน 30 วัน ดังนี้
4.1 ให้สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่กลั่นหรือผลิตในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 2
4.2 ให้สำรองน้ำมันเชื้อเพลิงที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรในอัตราร้อยละ 4
สำหรับมาตรการห้ามหรือจำกัดการส่งออกนั้น เห็นควรดำเนินการเมื่อมีภาวะสงครามเกิดขึ้น และเกิดการขาดแคลน เพื่อรักษาปริมาณน้ำมันให้เพียงพอกับการจำหน่ายในประเทศก่อน โดยยังไม่ต้องประกาศออกไปตอนนี้ เพราะจะทำให้มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันใตลาดสิงคโปร์ได้ แต่ให้ใช้ "มาตรการบริหารการส่งออกแทน"
นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาถึงมาตรการประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า แต่เนื่องจากในช่วงระยะเวลานี้ยังไม่เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนน้ำมัน ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ดำเนินการรณรงค์ ขอความร่วมมือจากหน่วยงานราชการและประชาชนให้ประหยัดน้ำมันและไฟฟ้า และมาตรการบังคับที่ไม่รุนแรงนัก โดยออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 เพื่อกำหนดเป็นมาตรการบังคับต่อไป ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งในการประชุมคณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงาน ในวันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-