คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) เป็นประธานกรรมการฯ ให้ประเทศไทยสมัครเข้าเป็นภาคีสมาชิกของศูนย์นานาชาติด้านพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ และให้ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เป็นผู้ประสานงานกับศูนย์นานาชาติฯ สำหรับการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้นำธรรมนูญของศูนย์นานาชาติฯ เสนอรัฐสภาให้ความเห็นชอบต่อไป เมื่อรัฐสภาให้ความเห็นชอบธรรมนูญฯ แล้ว ให้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมออกพระราชบัญญัติอนุวัติการให้เป็นไปตามธรรมนูญฯ ก่อน ตามความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศ สำหรับเงินเพื่อเป็นค่าสมาชิก จำนวน 23,000 เหรียญสหรัฐฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ให้เจียดจ่ายจากเงินงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ และในปีต่อ ๆ ไป ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรให้ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรชีววัสดุ ซึ่งพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพสามารถพัฒนาการวิจัยและการใช้วัตถุดิบธรรมชาติ และผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สามารถนำผลผลิตจากการแปรรูปวัตถุดิบภายในประเทศมาใช้ทดแทนการนำเข้า ดังนั้น การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการแพร่กระจายความรู้ในแขนงนี้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิก ได้แก่ การทำงานวิจัยร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของศูนย์นานาชาติฯ การสมัครเข้ารับทุนแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศภาคีสมาชิก การสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ จากฐานข้อมูลที่รวบรวมโดยศูนย์นานาชาติฯ การเข้าร่วมรับการอบรม (Workshop, Symposium และหลักสูตรภาคปฏิบัติ)การได้รับสิทธิสมัครเพื่อรับทุนการศึกษา (Fellowship) อนึ่ง ประเภทภาคีสมาชิกสามารถแสดงเจตจำนงเพื่อจัดตั้งสถาบันวิจัย หรือ Affiliated Centre ได้โดยศูนย์นานาชาติฯ จะให้การสนับสนุนทางการเงินให้แก่ศูนย์ Affiliated Centre ไม่เกิน25,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา และในการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก รัฐบาลไทยจะต้องแจ้งความจำนงขอสมัครเป็นประเทศภาคีสมาชิกของศูนย์นานาชาติฯ และจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับการเป็นสมาชิกจำนวน 47,600 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปี ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติยินดีรับเป็นผู้ประสานงานกับศูนย์นานาชาติฯ สำหรับการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ต่อไป
ศูนย์นานาชาติฯ เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานวิจัยและการอบรมทางพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งในขณะนี้ ICGEB มีสมาชิกทั้งหมด 43 ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ลงนามสนับสนุนการก่อตั้งศูนย์นานาชาติฯ และยังคงสถานภาพเป็น Signatory Country อยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะต้องแสดงความจำนงเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิกเพื่อจะได้เป็นสมาชิกเต็มสมบูรณ์ (FullMember State) จึงจะมีสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์นานาชาติฯ และมีสิทธิในการเสนอวาระและการแสดงความเห็นให้ศูนย์นานาชาติฯ นำไปพิจารณาดำเนินการได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
ทั้งนี้ เนื่องจากประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรชีววัสดุ ซึ่งพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพสามารถพัฒนาการวิจัยและการใช้วัตถุดิบธรรมชาติ และผลผลิตทางการเกษตรให้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สามารถนำผลผลิตจากการแปรรูปวัตถุดิบภายในประเทศมาใช้ทดแทนการนำเข้า ดังนั้น การถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านนี้จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มสมรรถนะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ยังจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการศึกษา การฝึกอบรม การวิจัยและพัฒนา รวมถึงการแพร่กระจายความรู้ในแขนงนี้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
ประโยชน์ที่จะได้รับจากการเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิก ได้แก่ การทำงานวิจัยร่วมกับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ของศูนย์นานาชาติฯ การสมัครเข้ารับทุนแลกเปลี่ยนนักวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศภาคีสมาชิก การสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ จากฐานข้อมูลที่รวบรวมโดยศูนย์นานาชาติฯ การเข้าร่วมรับการอบรม (Workshop, Symposium และหลักสูตรภาคปฏิบัติ)การได้รับสิทธิสมัครเพื่อรับทุนการศึกษา (Fellowship) อนึ่ง ประเภทภาคีสมาชิกสามารถแสดงเจตจำนงเพื่อจัดตั้งสถาบันวิจัย หรือ Affiliated Centre ได้โดยศูนย์นานาชาติฯ จะให้การสนับสนุนทางการเงินให้แก่ศูนย์ Affiliated Centre ไม่เกิน25,000 เหรียญสหรัฐอเมริกา และในการเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิก รัฐบาลไทยจะต้องแจ้งความจำนงขอสมัครเป็นประเทศภาคีสมาชิกของศูนย์นานาชาติฯ และจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับการเป็นสมาชิกจำนวน 47,600 เหรียญสหรัฐอเมริกาต่อปี ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติยินดีรับเป็นผู้ประสานงานกับศูนย์นานาชาติฯ สำหรับการดำเนินกิจกรรมความร่วมมือต่าง ๆ ต่อไป
ศูนย์นานาชาติฯ เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนางานวิจัยและการอบรมทางพันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งในขณะนี้ ICGEB มีสมาชิกทั้งหมด 43 ประเทศ โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในหลายประเทศที่ลงนามสนับสนุนการก่อตั้งศูนย์นานาชาติฯ และยังคงสถานภาพเป็น Signatory Country อยู่จนถึงปัจจุบัน ซึ่งขั้นตอนต่อไปจะต้องแสดงความจำนงเข้าเป็นประเทศภาคีสมาชิกเพื่อจะได้เป็นสมาชิกเต็มสมบูรณ์ (FullMember State) จึงจะมีสิทธิในการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของศูนย์นานาชาติฯ และมีสิทธิในการเสนอวาระและการแสดงความเห็นให้ศูนย์นานาชาติฯ นำไปพิจารณาดำเนินการได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-