แท็ก
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
ความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มพร.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 3
คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มพร.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 3 ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายสาวิตต์ โพธิวิหค) เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของโครงการ มพร. ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 โครงการที่ได้รับอนุมัติ 479โครงการ วงเงิน 53,567.81 ล้านบาท ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 159 โครงการ มีวงเงินเบิกจ่ายจำนวน 47,310.51 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.32 ของวงเงินอนุมัติ และสามารถส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย มพร. ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.8 - 0.9 ในปี 2542 และร้อยละ 0.3 - 0.5 ในปี 2543
2. ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแนวทางภายใต้ มพร.
2.1 การจ้างงาน มีโครงการหลักจำนวน 320 โครงการ ไม่มีโครงการที่มีปัญหาด้านการเบิกจ่ายล่าช้าจากการประเมินพบว่า โครงการจ้างงานนอกจากจะช่วยให้ผู้ว่างงานได้มีงานทำแล้ว ยังได้มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับความพึงพอใจของประชาชนในด้านการช่วยจ้างงาน มีความพอใจอยู่ในระดับสูงสุดถึงร้อยละ62.57 ซึ่งโครงการจ้างงานที่มีความโดดเด่นคือ งานสนับสนุนสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
2.2 การบรรเทาผลกระทบทางสังคม มีโครงการหลัก 15 โครงการ ไม่มีโครงการที่มีปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้า ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากการส่งประโยชน์ถึงผู้ยากจนระดับล่างยังเป็นไปไม่ทั่วถึง จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องฐานข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนถูกต้องและทันสมัยและการใช้เกณฑ์ความยากจนเป็นปัจจัยในกระบวนการจัดสรรเงิน และจากการสำรวจความพึงพอใจ พบว่าประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 22.42
2.3 การพัฒนาคุณภาพชีวิต มีโครงการหลักจำนวน 44 โครงการ มีโครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า10 โครงการ เนื่องจากปัญหาพื้นที่ก่อสร้างไม่พร้อมและขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเร่งรัดการขยายระบบประปาชนบทมีการดำเนินการซ้ำซ้อนโดยหลายหน่วยงานในพื้นที่เดียวกัน สำหรับการประเมินความพึงพอใจของประชาชนพบว่า มีความพอใจในระดับหนึ่งเพราะทำให้หมู่บ้านมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 8.07 เป็นอันดับสองรองจากถนน (ร้อยละ 27.80)
2.4 สนับสนุนการสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศ มีโครงการหลักจำนวน 12 โครงการ ไม่มีโครงการที่มีปัญหาด้านการเบิกจ่ายล่าช้า และการดำเนินงานได้มีส่วนช่วยส่วนขยายโอกาสทางการศึกษา ช่วยพัฒนาศักยภาพของสหกรณ์ การรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร แนวทางการให้กู้ยืมและให้เกษตรกรสมทบเงินบางส่วนเพื่อซื้อปุ๋ยเคมีในโครงการ มพร. เมื่อประเมินความพึงพอใจของประชาชนในผลการดำเนินงานข้างต้นพบว่าประชาชนมีความพอใจถึงพอใจมากร้อยละ 48.33 โดยเฉพาะเกี่ยวกับการให้กู้ยืมที่ทำให้มีเงินลงทุนเพิ่ม ซึ่งประชาชนมีความพอใจถึงพอใจมากถึงร้อยละ 39.97
2.5 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งออกของประเทศ มีโครงการหลัก 16 โครงการพบว่ามีโครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า 1 โครงการ ซึ่งโครงการในแนวทางนี้ก่อให้เกิดผลในด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม และจัดทำฐานข้อมูลด้านการตลาด จากการประเมินผลโดยรวมมีความสอดคล้องกับโครงการ มพร.เนื่องจากกิจกรรมเป็นการอบรมและสร้างพื้นฐานในการแข่งขัน ผลกระทบในระยะสั้นจึงยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม และเมื่อประเมินความพึงพอใจของประชาชนในผลการดำเนินงานพบว่าประชาชนมีความพอใจถึงพอใจมาร้อยละ 33.86
2.6 สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่เฉพาะและชายแดน มีโครงการหลัก 21 โครงการ ลักษณะโครงการเป็นการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ผลการประเมินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสม โดยมีโครงการที่ควรปรับปรุง คือ โครงการสนับสนุนการสร้างงานและพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ชายแดนและชนบทห่างไกล
2.7 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มีโครงการหลัก 51 โครงการ มีโครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า 9 โครงการ เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่เป็นการจ้างที่ปรึกษาหรือผู้รับเหมามาดำเนินการอย่างเบ็ดเสร็จโครงการที่มีความโดดเด่นภายใต้แนวทางนี้ คือโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดทำข้อมูลเพื่อการวางแผนและเตือนภัยทางเศรษฐกิจและสังคม
3. สรุป จากการประเมินสามารถสรุปได้ว่าโครงการ มพร. สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นการลงทุนและสร้างงานได้ในระดับน่าพอใจ แต่วัตถุประสงค์รองในการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายยากจนด้อยโอกาสยังควรปรับปรุงเพิ่มเติม สำหรับวัตถุประสงค์รองอีกประการหนึ่งในการวางรากฐานการพัฒนาในระยะต่อไปนั้น พบว่ามีหลายโครงการที่มีคุณภาพและศักยภาพสูง โดยเฉพาะในด้านเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่การส่งผลลัพธ์ ผลกระทบที่ชัดเจนต้องรอระยะต่อไป ในด้านความพอใจและยอมรับของกลุ่มเป้าหมายและสังคม จากการสอบถามประชาชน 40,699 คน ทั่วประเทศพบว่า ประชาชนร้อยละ 47.79 มีความรู้สึกค่อนข้างพอใจถึงพอใจมาก โดยประชาชนในชนบทพอใจมากกว่าประชาชนในเมือง และประชาชนร้อยละ 52.83 เห็นว่าควรมี มพร. ในปีต่อไป เพื่อสร้างงาน พัฒนาชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ด้านความโปร่งใสของการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับน่าพอใจ โดยมีข้อร้องเรียนในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
ความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มพร.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 3
คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการติดตามประเมินผลมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (มพร.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 ครั้งที่ 3 ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี(นายสาวิตต์ โพธิวิหค) เสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของโครงการ มพร. ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2543 โครงการที่ได้รับอนุมัติ 479โครงการ วงเงิน 53,567.81 ล้านบาท ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว 159 โครงการ มีวงเงินเบิกจ่ายจำนวน 47,310.51 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 88.32 ของวงเงินอนุมัติ และสามารถส่งผลในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดย มพร. ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 0.8 - 0.9 ในปี 2542 และร้อยละ 0.3 - 0.5 ในปี 2543
2. ผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแนวทางภายใต้ มพร.
2.1 การจ้างงาน มีโครงการหลักจำนวน 320 โครงการ ไม่มีโครงการที่มีปัญหาด้านการเบิกจ่ายล่าช้าจากการประเมินพบว่า โครงการจ้างงานนอกจากจะช่วยให้ผู้ว่างงานได้มีงานทำแล้ว ยังได้มีส่วนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ สำหรับความพึงพอใจของประชาชนในด้านการช่วยจ้างงาน มีความพอใจอยู่ในระดับสูงสุดถึงร้อยละ62.57 ซึ่งโครงการจ้างงานที่มีความโดดเด่นคือ งานสนับสนุนสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)
2.2 การบรรเทาผลกระทบทางสังคม มีโครงการหลัก 15 โครงการ ไม่มีโครงการที่มีปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้า ผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ อย่างไรก็ดี เนื่องจากการส่งประโยชน์ถึงผู้ยากจนระดับล่างยังเป็นไปไม่ทั่วถึง จึงเห็นควรให้มีการปรับปรุงเพิ่มเติม โดยเฉพาะในเรื่องฐานข้อมูลที่ยังไม่ครบถ้วนถูกต้องและทันสมัยและการใช้เกณฑ์ความยากจนเป็นปัจจัยในกระบวนการจัดสรรเงิน และจากการสำรวจความพึงพอใจ พบว่าประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 22.42
2.3 การพัฒนาคุณภาพชีวิต มีโครงการหลักจำนวน 44 โครงการ มีโครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า10 โครงการ เนื่องจากปัญหาพื้นที่ก่อสร้างไม่พร้อมและขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการเร่งรัดการขยายระบบประปาชนบทมีการดำเนินการซ้ำซ้อนโดยหลายหน่วยงานในพื้นที่เดียวกัน สำหรับการประเมินความพึงพอใจของประชาชนพบว่า มีความพอใจในระดับหนึ่งเพราะทำให้หมู่บ้านมีการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 8.07 เป็นอันดับสองรองจากถนน (ร้อยละ 27.80)
2.4 สนับสนุนการสร้างรากฐานในการพัฒนาประเทศ มีโครงการหลักจำนวน 12 โครงการ ไม่มีโครงการที่มีปัญหาด้านการเบิกจ่ายล่าช้า และการดำเนินงานได้มีส่วนช่วยส่วนขยายโอกาสทางการศึกษา ช่วยพัฒนาศักยภาพของสหกรณ์ การรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตร แนวทางการให้กู้ยืมและให้เกษตรกรสมทบเงินบางส่วนเพื่อซื้อปุ๋ยเคมีในโครงการ มพร. เมื่อประเมินความพึงพอใจของประชาชนในผลการดำเนินงานข้างต้นพบว่าประชาชนมีความพอใจถึงพอใจมากร้อยละ 48.33 โดยเฉพาะเกี่ยวกับการให้กู้ยืมที่ทำให้มีเงินลงทุนเพิ่ม ซึ่งประชาชนมีความพอใจถึงพอใจมากถึงร้อยละ 39.97
2.5 การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและส่งออกของประเทศ มีโครงการหลัก 16 โครงการพบว่ามีโครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า 1 โครงการ ซึ่งโครงการในแนวทางนี้ก่อให้เกิดผลในด้านการเกษตร ด้านอุตสาหกรรม และจัดทำฐานข้อมูลด้านการตลาด จากการประเมินผลโดยรวมมีความสอดคล้องกับโครงการ มพร.เนื่องจากกิจกรรมเป็นการอบรมและสร้างพื้นฐานในการแข่งขัน ผลกระทบในระยะสั้นจึงยังไม่เห็นเป็นรูปธรรม และเมื่อประเมินความพึงพอใจของประชาชนในผลการดำเนินงานพบว่าประชาชนมีความพอใจถึงพอใจมาร้อยละ 33.86
2.6 สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่เฉพาะและชายแดน มีโครงการหลัก 21 โครงการ ลักษณะโครงการเป็นการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ผลการประเมินโครงการโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสม โดยมีโครงการที่ควรปรับปรุง คือ โครงการสนับสนุนการสร้างงานและพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ชายแดนและชนบทห่างไกล
2.7 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาครัฐ มีโครงการหลัก 51 โครงการ มีโครงการขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า 9 โครงการ เนื่องจากโครงการส่วนใหญ่เป็นการจ้างที่ปรึกษาหรือผู้รับเหมามาดำเนินการอย่างเบ็ดเสร็จโครงการที่มีความโดดเด่นภายใต้แนวทางนี้ คือโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดทำข้อมูลเพื่อการวางแผนและเตือนภัยทางเศรษฐกิจและสังคม
3. สรุป จากการประเมินสามารถสรุปได้ว่าโครงการ มพร. สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นการลงทุนและสร้างงานได้ในระดับน่าพอใจ แต่วัตถุประสงค์รองในการบรรเทาผลกระทบต่อกลุ่มเป้าหมายยากจนด้อยโอกาสยังควรปรับปรุงเพิ่มเติม สำหรับวัตถุประสงค์รองอีกประการหนึ่งในการวางรากฐานการพัฒนาในระยะต่อไปนั้น พบว่ามีหลายโครงการที่มีคุณภาพและศักยภาพสูง โดยเฉพาะในด้านเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่การส่งผลลัพธ์ ผลกระทบที่ชัดเจนต้องรอระยะต่อไป ในด้านความพอใจและยอมรับของกลุ่มเป้าหมายและสังคม จากการสอบถามประชาชน 40,699 คน ทั่วประเทศพบว่า ประชาชนร้อยละ 47.79 มีความรู้สึกค่อนข้างพอใจถึงพอใจมาก โดยประชาชนในชนบทพอใจมากกว่าประชาชนในเมือง และประชาชนร้อยละ 52.83 เห็นว่าควรมี มพร. ในปีต่อไป เพื่อสร้างงาน พัฒนาชุมชน กระตุ้นเศรษฐกิจ และพัฒนาคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ด้านความโปร่งใสของการดำเนินงานโดยรวมอยู่ในระดับน่าพอใจ โดยมีข้อร้องเรียนในสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-