คณะรัฐมนตรีอนุมัตินโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2545 - 2549) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติเสนอ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนใช้เป็นแนวทางในการวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศต่อไป ทั้งนี้ สภาวิจัยแห่งชาติได้เห็นชอบในการประชุมประจำปี 2544 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2544 แล้ว ซึ่งร่างนโยบายฯ ดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์มี 4 ประการ คือ
1.1 เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่จะสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและพึ่งตนเองในทุกสถานการณ์ และได้องค์ความรู้ใหม่ ตลอดจนองค์ความรู้ที่สืบสานภูมิปัญญาไทย
1.2 เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันเสรีบนเวทีโลก
1.3 เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
1.4 เพื่อให้ได้ระบบการวิจัยที่สามารถสร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศระดับชุมชนระดับภูมิภาค และระดับประเทศในระยะยาว
2. เป้าหมายกำหนดไว้ 4 ประการ ดังนี้
2.1 ผลงานวิจัยสี่ด้านหลัก ได้แก่ ด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ และด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม
2.2 ผลงานวิจัยในแต่ละด้านจะได้มาจากชุดโครงการวิจัยแห่งชาติ การวิจัยประยุกต์ และการวิจัยพื้นฐาน
2.3 กำลังคนด้านการวิจัยที่มีคุณภาพ และสามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเพียงพอ
2.4 ระบบการวิจัยที่มีโครงสร้างและการบริหารที่มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการมีส่วนร่วมจากภาครัฐภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน
3. การกำหนดนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติไว้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด ดังนี้
3.1 ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติ เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาที่สำคัญของชาติในภาวะวิกฤต และสามารถจัดการกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกต่อไป ได้แก่
1) ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติด้านเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร จะมุ่งพัฒนาการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปสินค้าเกษตรหลัก
2) ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมจะมุ่งพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรม พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นอุตสาหกรรมอาหาร เทคโนโลยีสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต พลังงานทดแทน เทคโนโลยีสะอาดและเทคโนโลยีบำบัดของเสีย คอมพิวเตอร์ และการวิจัยนโยบายอุตสาหกรรมไทย
3) ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติด้านสุขภาพ จะเน้นการปรับระบบสุขภาพจากการรักษามามุ่งการป้องกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุและภยันตราย สมรรถนะของมนุษย์ การกระจายอำนาจระบบบริการสุขภาพ อุตสาหกรรมยาภายในประเทศ และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
4) ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม จะมุ่งแก้ปัญหาเร่งด่วนและสร้างภูมิคุ้มกันให้สังคมเข้มแข็งในด้านสำนึกไทยและวินัยในวิถีชีวิตไทย การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ต่อสังคมไทย การบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขวิกฤตยาเสพติดและแรงงานของประเทศ
3.2 การวิจัยประยุกต์ จะเน้นการวิจัยต่อยอดความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศตามความต้องการของคณะรัฐมนตรี หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9โดยมุ่งสร้างนักวิจัยและผลงานวิจัยในรูปของสิทธิบัตร สิ่งประดิษฐ์ คู่มือปฏิบัติการและผลงานวิจัยอื่นที่เป็นรูปธรรม
3.3 การวิจัยพื้นฐาน จะเน้นนวัตกรรม บทความตีพิมพ์ และความเป็นเลิศด้านวิชาการที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ เพื่อเป็นฐานขององค์ความรู้สำหรับการขยายผลประโยชน์ที่เกิดจากชุดโครงการวิจัยแห่งชาติ และการวิจัยประยุกต์ ตลอดจนการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ให้เป็นทุนปัญญาของชาติในระยะยาว
4. ระบบบริหารการวิจัยของชาติ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม จึงต้องใช้แนวทางการปรับระบบบริหารการวิจัยของชาติให้เหมาะสมกับการบริหารชุดโครงการวิจัยแห่งชาติ การวิจัยประยุกต์ การวิจัยพื้นฐาน ดังนี้
4.1 แนวทางการปรับความเชื่อมโยงของหน่วยงานในระบบการวิจัย "จตุภาคีการวิจัย"
4.2 แนวทางการปรับนโยบายการวิจัยตามความต้องการของสังคม
4.3 แนวทางการสร้างวัฒนธรรมการใช้ผลงานวิจัยในการแก้ปัญหา
4.4 แนวทางการพัฒนาอาชีพนักวิจัย
4.5 แนวทางการติดตามประเมินผลการวิจัย
4.6 แนวทางการร่วมมือกับต่างประเทศด้านการวิจัย
4.7 แนวทางการบริหารงบประมาณการวิจัย
4.8 แนวทางการพัฒนาการวิจัยในภาคธุรกิจเอกชน
4.9 แนวทางการนำนโยบายการวิจัยสู่แผนปฏิบัติการ
เมื่อสิ้นสุดปี 2549 เป็นที่คาดหวังว่าประเทศจะมีผลงานวิจัยที่สามารถใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมีกำลังคนด้านการวิจัย และระบบบริหารการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ภาคธุรกิจเอกชนสามารถทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นักวิจัยไทยมีความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาการวิจัยของชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-
1. วัตถุประสงค์มี 4 ประการ คือ
1.1 เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่จะสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนและพึ่งตนเองในทุกสถานการณ์ และได้องค์ความรู้ใหม่ ตลอดจนองค์ความรู้ที่สืบสานภูมิปัญญาไทย
1.2 เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในการแข่งขันเสรีบนเวทีโลก
1.3 เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทย ตามแนวทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
1.4 เพื่อให้ได้ระบบการวิจัยที่สามารถสร้างองค์ความรู้ให้เหมาะสมกับการพัฒนาประเทศระดับชุมชนระดับภูมิภาค และระดับประเทศในระยะยาว
2. เป้าหมายกำหนดไว้ 4 ประการ ดังนี้
2.1 ผลงานวิจัยสี่ด้านหลัก ได้แก่ ด้านเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม ด้านสุขภาพ และด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม
2.2 ผลงานวิจัยในแต่ละด้านจะได้มาจากชุดโครงการวิจัยแห่งชาติ การวิจัยประยุกต์ และการวิจัยพื้นฐาน
2.3 กำลังคนด้านการวิจัยที่มีคุณภาพ และสามารถดำเนินการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้รับการส่งเสริมสนับสนุนอย่างเพียงพอ
2.4 ระบบการวิจัยที่มีโครงสร้างและการบริหารที่มีประสิทธิภาพ และเอื้อต่อการมีส่วนร่วมจากภาครัฐภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน
3. การกำหนดนโยบายและแนวทางการวิจัยของชาติไว้ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนด ดังนี้
3.1 ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติ เพื่อสร้างผลงานวิจัยที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาที่สำคัญของชาติในภาวะวิกฤต และสามารถจัดการกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของโลกต่อไป ได้แก่
1) ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติด้านเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร จะมุ่งพัฒนาการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการแปรรูปสินค้าเกษตรหลัก
2) ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและอุตสาหกรรมจะมุ่งพัฒนาสินค้าอุตสาหกรรม พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นอุตสาหกรรมอาหาร เทคโนโลยีสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิต พลังงานทดแทน เทคโนโลยีสะอาดและเทคโนโลยีบำบัดของเสีย คอมพิวเตอร์ และการวิจัยนโยบายอุตสาหกรรมไทย
3) ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติด้านสุขภาพ จะเน้นการปรับระบบสุขภาพจากการรักษามามุ่งการป้องกันเกี่ยวกับอุบัติเหตุและภยันตราย สมรรถนะของมนุษย์ การกระจายอำนาจระบบบริการสุขภาพ อุตสาหกรรมยาภายในประเทศ และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ
4) ชุดโครงการวิจัยแห่งชาติด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม จะมุ่งแก้ปัญหาเร่งด่วนและสร้างภูมิคุ้มกันให้สังคมเข้มแข็งในด้านสำนึกไทยและวินัยในวิถีชีวิตไทย การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยว ผลกระทบจากกระแสโลกาภิวัตน์ต่อสังคมไทย การบริหารจัดการป้องกันและแก้ไขวิกฤตยาเสพติดและแรงงานของประเทศ
3.2 การวิจัยประยุกต์ จะเน้นการวิจัยต่อยอดความรู้ เพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศตามความต้องการของคณะรัฐมนตรี หน่วยงานราชการ และรัฐวิสาหกิจ ในการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9โดยมุ่งสร้างนักวิจัยและผลงานวิจัยในรูปของสิทธิบัตร สิ่งประดิษฐ์ คู่มือปฏิบัติการและผลงานวิจัยอื่นที่เป็นรูปธรรม
3.3 การวิจัยพื้นฐาน จะเน้นนวัตกรรม บทความตีพิมพ์ และความเป็นเลิศด้านวิชาการที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบ เพื่อเป็นฐานขององค์ความรู้สำหรับการขยายผลประโยชน์ที่เกิดจากชุดโครงการวิจัยแห่งชาติ และการวิจัยประยุกต์ ตลอดจนการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ให้เป็นทุนปัญญาของชาติในระยะยาว
4. ระบบบริหารการวิจัยของชาติ เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม จึงต้องใช้แนวทางการปรับระบบบริหารการวิจัยของชาติให้เหมาะสมกับการบริหารชุดโครงการวิจัยแห่งชาติ การวิจัยประยุกต์ การวิจัยพื้นฐาน ดังนี้
4.1 แนวทางการปรับความเชื่อมโยงของหน่วยงานในระบบการวิจัย "จตุภาคีการวิจัย"
4.2 แนวทางการปรับนโยบายการวิจัยตามความต้องการของสังคม
4.3 แนวทางการสร้างวัฒนธรรมการใช้ผลงานวิจัยในการแก้ปัญหา
4.4 แนวทางการพัฒนาอาชีพนักวิจัย
4.5 แนวทางการติดตามประเมินผลการวิจัย
4.6 แนวทางการร่วมมือกับต่างประเทศด้านการวิจัย
4.7 แนวทางการบริหารงบประมาณการวิจัย
4.8 แนวทางการพัฒนาการวิจัยในภาคธุรกิจเอกชน
4.9 แนวทางการนำนโยบายการวิจัยสู่แผนปฏิบัติการ
เมื่อสิ้นสุดปี 2549 เป็นที่คาดหวังว่าประเทศจะมีผลงานวิจัยที่สามารถใช้แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมมีกำลังคนด้านการวิจัย และระบบบริหารการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ ภาคธุรกิจเอกชนสามารถทำการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นักวิจัยไทยมีความร่วมมือกับต่างประเทศในการพัฒนาการวิจัยของชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-