ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบรายงานสรุปผลการสัมมนาชี้แจงนโยบายและขั้นตอนการกระจายอำนาจกับบทบาทภาคเอกชนและองค์กรท้องถิ่น ซึ่งได้จัดขึ้นในระหว่างเดือนมีนาคม - กรกฎาคม 2543 ใน 4 ภูมิภาค คือ ภาคใต้ (ภูเก็ต) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) ภาคกลาง (ชลบุรี) และภาคเหนือ (เชียงใหม่) โดยมีผู้เข้าสัมมนารวมทั้งสิ้น 1,680 คน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้แทนส่วนราชการในท้องถิ่น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วน3ตำบล องค์กรธุรกิจภาคเอกชน อันประกอบด้วย หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ชมรมธนาคารท้องถิ่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาค สมาคมผู้ค้าปลีก ผู้ประกอบกิจการโรงแรม และสมาคมผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งผลการสัมมนาสรุปได้ ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้ง 4 ภูมิภาค เห็นด้วยกับหลักการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่การดำเนินการใด ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในเรื่องการจัดเก็บภาษีและการจัดบริการสาธารณะ ต้องคำนึงถึงการก่อให้เกิดประโยชน์และการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับทราบเหตุผลที่ชัดเจนของการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น และท้องถิ่นจะต้องแสวงหาอัตราภาษีที่เหมาะสมและการนำภาษีไปจัดบริการสาธารณะแก่ผู้เสียภาษีด้วยความเป็นธรรมด้วย
2. การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นโดยเฉพาะการให้ อบจ. มีอำนาจตัดสินใจจัดเก็บภาษีน้ำมัน ยาสูบ และค่าธรรมเนียมผู้เข้าพักโรงแรมเพิ่มเติมนั้น เป็นไปตามหลักการของการกระจายอำนาจที่ต้องการให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ มีอำนาจตัดสินใจจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนด และต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เสียภาษีให้เข้าไปตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่น ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในที่สุด อย่างไรก็ตาม การให้อำนาจท้องถิ่นจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมนี้จะมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจและการส่งเสริมการลงทุนในท้องถิ่น เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น และมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนเนื่องจากการกระจายอำนาจทำให้ประชาชนเสียภาษีเพิ่ม และเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ควรให้ราชการส่วนกลางและภูมิภาคเป็นผู้จัดเก็บภาษีจากต้นทางหรือขยายฐานภาษีแล้วจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. การจัดบริการสาธารณะบางประเภท เช่น การจัดการศึกษา การกำจัดมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แต่ละแห่งเป็นผู้ลงทุนดำเนินการเองอาจจะไม่มีขีดความสามารถเพียงพอในการจัดบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกันในการจัดบริการสาธารณะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จของการดำเนินการตามนโยบายกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น คือ การสร้างความเข้าใจและแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติร่วมกันในระดับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ปัญหาแนวเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งทับซ้อนกัน การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอยและน้ำเสีย การแก้ไขปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายองค์กร ต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง และวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับพื้นที่ โดยองค์กรที่ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สำหรับความเห็นและข้อเสนอแนะของฝ่ายเลขานุการ มีดังนี้
1. เห็นควรให้คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบรายงานสรุปผลการสัมมนาชี้แจงนโยบายและขั้นตอนการกระจายอำนาจกับบทบาทของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำรายงานดังกล่าวไปพิจารณาในการดำเนินการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามความเหมาะสมต่อไป
2. การดำเนินงานกระจายอำนาจยังมีปัญหาทางปฏิบัติในระดับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายประการ ดังนั้น จึงเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาให้มีคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด โดยให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อเป็นองค์กรในการประสานการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในทางปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. การถ่ายโอนภารกิจการกระจายอำนาจการคลังท้องถิ่น และงบประมาณจากราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องการการสร้างขีดความสามารถของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สามารถรองรับภารกิจดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ จึงเห็นควรมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย รับไปจัดทำโครงการเสริมสร้างสมรรถนะและขีดความสามารถของผู้บริหาร ตลอดจนบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นและการประสานการวางแผนจัดบริการสาธารณะ การวิเคราะห์แผนงานโครงการและงบประมาณ การบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างความเข้าใจในเรื่องบทบาทขององค์กรธุรกิจภาคเอกชนและชุมชนในท้องถิ่นในกระบวนการกระจายอำนาจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบรายงานสรุปผลการสัมมนาชี้แจงนโยบายและขั้นตอนการกระจายอำนาจกับบทบาทภาคเอกชนและองค์กรท้องถิ่น ซึ่งได้จัดขึ้นในระหว่างเดือนมีนาคม - กรกฎาคม 2543 ใน 4 ภูมิภาค คือ ภาคใต้ (ภูเก็ต) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ขอนแก่น) ภาคกลาง (ชลบุรี) และภาคเหนือ (เชียงใหม่) โดยมีผู้เข้าสัมมนารวมทั้งสิ้น 1,680 คน ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ผู้แทนส่วนราชการในท้องถิ่น ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น คือ เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วน3ตำบล องค์กรธุรกิจภาคเอกชน อันประกอบด้วย หอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด ชมรมธนาคารท้องถิ่น สมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวส่วนภูมิภาค สมาคมผู้ค้าปลีก ผู้ประกอบกิจการโรงแรม และสมาคมผู้ค้าน้ำมัน ซึ่งผลการสัมมนาสรุปได้ ดังนี้
1. ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทั้ง 4 ภูมิภาค เห็นด้วยกับหลักการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่การดำเนินการใด ๆ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งในเรื่องการจัดเก็บภาษีและการจัดบริการสาธารณะ ต้องคำนึงถึงการก่อให้เกิดประโยชน์และการยอมรับจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยจะต้องให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับทราบเหตุผลที่ชัดเจนของการจัดเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น และท้องถิ่นจะต้องแสวงหาอัตราภาษีที่เหมาะสมและการนำภาษีไปจัดบริการสาธารณะแก่ผู้เสียภาษีด้วยความเป็นธรรมด้วย
2. การกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นโดยเฉพาะการให้ อบจ. มีอำนาจตัดสินใจจัดเก็บภาษีน้ำมัน ยาสูบ และค่าธรรมเนียมผู้เข้าพักโรงแรมเพิ่มเติมนั้น เป็นไปตามหลักการของการกระจายอำนาจที่ต้องการให้ท้องถิ่นมีความเป็นอิสระ มีอำนาจตัดสินใจจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนด และต้องการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนผู้เสียภาษีให้เข้าไปตรวจสอบการทำงานของท้องถิ่น ซึ่งจะสร้างความเข้มแข็งให้แก่การปฏิบัติงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในที่สุด อย่างไรก็ตาม การให้อำนาจท้องถิ่นจัดเก็บภาษีเพิ่มเติมนี้จะมีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจและการส่งเสริมการลงทุนในท้องถิ่น เนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการสูงขึ้น และมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนเนื่องจากการกระจายอำนาจทำให้ประชาชนเสียภาษีเพิ่ม และเพื่อลดผลกระทบดังกล่าว ควรให้ราชการส่วนกลางและภูมิภาคเป็นผู้จัดเก็บภาษีจากต้นทางหรือขยายฐานภาษีแล้วจัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. การจัดบริการสาธารณะบางประเภท เช่น การจัดการศึกษา การกำจัดมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย หากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) แต่ละแห่งเป็นผู้ลงทุนดำเนินการเองอาจจะไม่มีขีดความสามารถเพียงพอในการจัดบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งสร้างความเข้าใจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมมือกันในการจัดบริการสาธารณะ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
4. ปัจจัยที่เป็นเงื่อนไขความสำเร็จของการดำเนินการตามนโยบายกระจายอำนาจให้ท้องถิ่น คือ การสร้างความเข้าใจและแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติร่วมกันในระดับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่น ปัญหาแนวเขตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งทับซ้อนกัน การจัดการปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ขยะมูลฝอยและน้ำเสีย การแก้ไขปัญหาซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายองค์กร ต้องใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยข้อมูล ข้อเท็จจริง และวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งในระดับพื้นที่ โดยองค์กรที่ประกอบด้วยการมีส่วนร่วมและได้รับการยอมรับของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
สำหรับความเห็นและข้อเสนอแนะของฝ่ายเลขานุการ มีดังนี้
1. เห็นควรให้คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบรายงานสรุปผลการสัมมนาชี้แจงนโยบายและขั้นตอนการกระจายอำนาจกับบทบาทของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นำรายงานดังกล่าวไปพิจารณาในการดำเนินการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามความเหมาะสมต่อไป
2. การดำเนินงานกระจายอำนาจยังมีปัญหาทางปฏิบัติในระดับพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายประการ ดังนั้น จึงเห็นควรมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยรับไปพิจารณาให้มีคณะกรรมการประสานการแก้ไขปัญหาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับจังหวัด โดยให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อเป็นองค์กรในการประสานการสร้างความเข้าใจร่วมกัน และแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในทางปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
3. การถ่ายโอนภารกิจการกระจายอำนาจการคลังท้องถิ่น และงบประมาณจากราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องการการสร้างขีดความสามารถของบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สามารถรองรับภารกิจดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ จึงเห็นควรมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง และกระทรวงมหาดไทย รับไปจัดทำโครงการเสริมสร้างสมรรถนะและขีดความสามารถของผู้บริหาร ตลอดจนบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการวางแผนพัฒนาท้องถิ่นและการประสานการวางแผนจัดบริการสาธารณะ การวิเคราะห์แผนงานโครงการและงบประมาณ การบริหารการเงินการคลังท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างความเข้าใจในเรื่องบทบาทขององค์กรธุรกิจภาคเอกชนและชุมชนในท้องถิ่นในกระบวนการกระจายอำนาจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 ต.ค. 2543--
-สส-