คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการต่างประเทศรายงาน ดังนี้
1. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะที่ประชุมได้หารือและเห็นชอบต่อมาตรการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมหลายเรื่อง เพื่อเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายต่าง ๆ ที่อาเซียนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน ได้แก่ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ภัยจากการก่อการร้ายสากล รวมทั้งการที่อาเซียนสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันและการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
2. สำหรับมาตรการความร่วมมือซึ่งที่ประชุมได้พิจารณานั้น ครอบคลุมหลายเรื่อง อาทิ การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การเร่งรัดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการลดช่องว่างในระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ สรุปได้ดังนี้
2.1 ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
ความร่วมมือเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายสากลเป็นผลการประชุมที่เด่นชัดที่สุดเรื่องหนึ่งเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผู้นำอาเซียนแสดงท่าทีร่วมในเรื่องนี้หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่11 กันยายน 2544 ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้ออกปฏิญญาเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งระบุมาตรการความร่วมมือต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม อาทิ การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันการก่อการร้าย การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานปฏิบัติ การขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและมอบหมายให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน รวมทั้งรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องติดตามผลการดำเนินการตามปฏิญญาฉบับนี้ต่อไป ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 245 ในประเทศไทย เพื่อติดตามผลการดำเนินการตามปฏิญญาฯและเพื่อแสดงบทบาทนำของไทยในเรื่องนี้
2.2 การกระชับความร่วมมือด้านการเมืองและอาชญากรรมข้ามชาติ
1) สืบเนื่องจากการที่อาเซียนไม่สามารถมีท่าทีร่วมหรือตอบสนองต่อเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที อาทิ ปัญหาในติมอร์ตะวันออกเมื่อปี 2542 และการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และบทบาทนำของอาเซียนในภูมิภาคและเวทีโลกนายกรัฐมนตรีจึงได้เสนอให้มีการใช้กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียน หรือ ASEAN Troika (ซึ่งปกติประกอบด้วยประธานคณะกรรมการประจำของอาเซียนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต) เพื่อเป็นกลไกที่สามารถรับกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจส่งผลกระทบต่อภูมิภาคได้อย่างเร็ว โดยกลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะทำหน้าที่ติดตามเหตุการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น และเสนอแนวทางหรือมาตรการที่เหมาะสมโดยไม่เกี่ยวกับการแทรกแซงกิจการภายในอันจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2) ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีให้มีการกระชับความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด
2.3 การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนซึ่งลดลงเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การที่จีนกลายเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนซึ่งเป็นประเด็นที่อาเซียนได้หารืออย่างต่อเนื่องในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นพ้องกับข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1) ให้อาเซียนเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมการค้าระหว่างกันเองผ่านการค้าแบบหักบัญชี (account trade) และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าเพื่อช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง (SMEs) และขจัดความยากจน
2) ผลักดันโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อาทิ เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area) ให้ลุล่วงตามกำหนด รวมทั้งเร่งการเจรจาเปิดเสรีการค้าในภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะการค้าบริการ
3) ประชาสัมพันธ์ศักยภาพและคุณภาพของสินค้าอาเซียนในงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEANTrade Fair) ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนตุลาคม 2545 และเชิญชวนให้จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมในงานดังกล่าว
4) จัดการประชุมผู้นำภาคธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Summit) เพื่อช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยอาจจัดการประชุมครั้งแรกในระหว่างงานแสดงสินค้าอาเซียน อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเสนอให้จัดในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อไปที่กรุงพนมเปญในปี 2545
2.4 การลดช่องว่างในระดับการพัฒนาของอาเซียน
ในฐานะที่ไทยมีบทบาทสำคัญในการลดช่องว่างในระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเนื่องจากดำรงตำแหน่งประธานกรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาอาเซียน - ลุ่มน้ำโขง (ASEAN Mekong Basin Development Cooperation) ในปีนี้ นายกรัฐมนตรีได้ผลักดันในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) ให้ประเทศสมาชิกเก่าของอาเซียนให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ในลักษณะเป็นโครงการร่วม (Joint Initiative for ASEAN Integration Project) เพื่อเสริมความช่วยเหลือที่สมาชิกเก่าแต่ละประเทศให้แก่ประเทศสมาชิกใหม่ในระดับทวิภาคีแล้ว
2) สนับสนุนด้านการเงินในการก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางรถไฟระหว่างสิงคโปร์ถึงคุนหมิงในช่วงที่ยังไม่เรียบร้อย โดยเฉพาะเส้นทางจากชายแดนไทย - กัมพูชาที่ปอยเปตถึงเมืองศรีโสภณในกัมพูชา
2.5 การส่งเสริมความร่วมมือกับเอเชียตะวันออก
ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก (East Asian Vision Group) ในการส่งเสริมการรวมตัวระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี โดยเฉพาะการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกและการจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกแทนการประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 ซึ่งบางประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีข้อกังวลว่า ข้อเสนอดังกล่าวอาจทำให้อาเซียนอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบและถูกบดบังบทบาทโดยทั้งสามประเทศได้ จึงเห็นว่าน่าจะพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีเป็นรายประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทั้งสามประเทศมีความเชี่ยวชาญ และเห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้เริ่มการเจรจาในเรื่องดังกล่าวในต้นปี 2545
2.6 การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน - อินเดีย
นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เสนอให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียน - อินเดีย ในลักษณะของการประชุมอาเซียน + 1 ซึ่งที่ประชุมไม่ขัดข้อง
2.7 ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้รับเชิญเป็นผู้กล่าวนำเนื่องจากที่ประชุมตระหนักถึงความสำเร็จของไทยในการแก้ไขปัญหานี้ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำนโยบายและประสบการณ์ของไทยที่ให้ความสำคัญแก่มาตรการป้องกันเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ ในการนี้ ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับโรคเอดส์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
1. การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 นับว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก เพราะที่ประชุมได้หารือและเห็นชอบต่อมาตรการความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมหลายเรื่อง เพื่อเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายต่าง ๆ ที่อาเซียนกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน ได้แก่ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ภัยจากการก่อการร้ายสากล รวมทั้งการที่อาเซียนสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขันและการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
2. สำหรับมาตรการความร่วมมือซึ่งที่ประชุมได้พิจารณานั้น ครอบคลุมหลายเรื่อง อาทิ การต่อต้านการก่อการร้ายสากล การเร่งรัดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการลดช่องว่างในระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนรวมทั้งการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ สรุปได้ดังนี้
2.1 ความร่วมมือในการต่อต้านการก่อการร้ายสากล
ความร่วมมือเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้ายสากลเป็นผลการประชุมที่เด่นชัดที่สุดเรื่องหนึ่งเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่ผู้นำอาเซียนแสดงท่าทีร่วมในเรื่องนี้หลังจากเกิดเหตุการณ์การก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่11 กันยายน 2544 ในการนี้ ผู้นำอาเซียนได้ออกปฏิญญาเกี่ยวกับการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งระบุมาตรการความร่วมมือต่าง ๆ ที่เป็นรูปธรรม อาทิ การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเพื่อป้องกันการก่อการร้าย การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างหน่วยงานปฏิบัติ การขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมประเทศนอกภูมิภาค โดยเฉพาะจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลีและมอบหมายให้รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน รวมทั้งรัฐมนตรีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องติดตามผลการดำเนินการตามปฏิญญาฉบับนี้ต่อไป ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 245 ในประเทศไทย เพื่อติดตามผลการดำเนินการตามปฏิญญาฯและเพื่อแสดงบทบาทนำของไทยในเรื่องนี้
2.2 การกระชับความร่วมมือด้านการเมืองและอาชญากรรมข้ามชาติ
1) สืบเนื่องจากการที่อาเซียนไม่สามารถมีท่าทีร่วมหรือตอบสนองต่อเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงที อาทิ ปัญหาในติมอร์ตะวันออกเมื่อปี 2542 และการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544ซึ่งความล่าช้าดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ความน่าเชื่อถือ และบทบาทนำของอาเซียนในภูมิภาคและเวทีโลกนายกรัฐมนตรีจึงได้เสนอให้มีการใช้กลุ่มผู้ประสานงานอาเซียน หรือ ASEAN Troika (ซึ่งปกติประกอบด้วยประธานคณะกรรมการประจำของอาเซียนในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต) เพื่อเป็นกลไกที่สามารถรับกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่อาจส่งผลกระทบต่อภูมิภาคได้อย่างเร็ว โดยกลุ่มผู้ประสานงานอาเซียนจะทำหน้าที่ติดตามเหตุการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้น และเสนอแนวทางหรือมาตรการที่เหมาะสมโดยไม่เกี่ยวกับการแทรกแซงกิจการภายในอันจะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านการเมืองระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2) ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอของนายกรัฐมนตรีให้มีการกระชับความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ โดยเฉพาะปัญหายาเสพติด
2.3 การรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียนซึ่งลดลงเนื่องจากผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การที่จีนกลายเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีนซึ่งเป็นประเด็นที่อาเซียนได้หารืออย่างต่อเนื่องในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นพ้องกับข้อเสนอของนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1) ให้อาเซียนเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจโดยการส่งเสริมการค้าระหว่างกันเองผ่านการค้าแบบหักบัญชี (account trade) และกระตุ้นเศรษฐกิจในระดับรากหญ้าเพื่อช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดย่อมและขนาดกลาง (SMEs) และขจัดความยากจน
2) ผลักดันโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจต่าง ๆ อาทิ เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area) และเขตการลงทุนอาเซียน (ASEAN Investment Area) ให้ลุล่วงตามกำหนด รวมทั้งเร่งการเจรจาเปิดเสรีการค้าในภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะการค้าบริการ
3) ประชาสัมพันธ์ศักยภาพและคุณภาพของสินค้าอาเซียนในงานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEANTrade Fair) ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนตุลาคม 2545 และเชิญชวนให้จีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมในงานดังกล่าว
4) จัดการประชุมผู้นำภาคธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Summit) เพื่อช่วยขยายโอกาสทางธุรกิจ โดยอาจจัดการประชุมครั้งแรกในระหว่างงานแสดงสินค้าอาเซียน อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเสนอให้จัดในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งต่อไปที่กรุงพนมเปญในปี 2545
2.4 การลดช่องว่างในระดับการพัฒนาของอาเซียน
ในฐานะที่ไทยมีบทบาทสำคัญในการลดช่องว่างในระดับการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเนื่องจากดำรงตำแหน่งประธานกรอบความร่วมมือเพื่อพัฒนาอาเซียน - ลุ่มน้ำโขง (ASEAN Mekong Basin Development Cooperation) ในปีนี้ นายกรัฐมนตรีได้ผลักดันในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
1) ให้ประเทศสมาชิกเก่าของอาเซียนให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ในลักษณะเป็นโครงการร่วม (Joint Initiative for ASEAN Integration Project) เพื่อเสริมความช่วยเหลือที่สมาชิกเก่าแต่ละประเทศให้แก่ประเทศสมาชิกใหม่ในระดับทวิภาคีแล้ว
2) สนับสนุนด้านการเงินในการก่อสร้างและปรับปรุงเส้นทางรถไฟระหว่างสิงคโปร์ถึงคุนหมิงในช่วงที่ยังไม่เรียบร้อย โดยเฉพาะเส้นทางจากชายแดนไทย - กัมพูชาที่ปอยเปตถึงเมืองศรีโสภณในกัมพูชา
2.5 การส่งเสริมความร่วมมือกับเอเชียตะวันออก
ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับข้อเสนอของกลุ่มวิสัยทัศน์เอเชียตะวันออก (East Asian Vision Group) ในการส่งเสริมการรวมตัวระหว่างอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี โดยเฉพาะการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชียตะวันออกและการจัดการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกแทนการประชุมสุดยอดอาเซียน + 3 ซึ่งบางประเทศสมาชิกอาเซียนยังมีข้อกังวลว่า ข้อเสนอดังกล่าวอาจทำให้อาเซียนอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบและถูกบดบังบทบาทโดยทั้งสามประเทศได้ จึงเห็นว่าน่าจะพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างไรก็ดี ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลีเป็นรายประเทศ รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทั้งสามประเทศมีความเชี่ยวชาญ และเห็นชอบให้มีการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน - จีน ภายในระยะเวลา 10 ปี โดยนายกรัฐมนตรีเสนอให้เริ่มการเจรจาในเรื่องดังกล่าวในต้นปี 2545
2.6 การจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน - อินเดีย
นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์เสนอให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียน - อินเดีย ในลักษณะของการประชุมอาเซียน + 1 ซึ่งที่ประชุมไม่ขัดข้อง
2.7 ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาโรคเอดส์
นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีมาเลเซียได้รับเชิญเป็นผู้กล่าวนำเนื่องจากที่ประชุมตระหนักถึงความสำเร็จของไทยในการแก้ไขปัญหานี้ โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวย้ำนโยบายและประสบการณ์ของไทยที่ให้ความสำคัญแก่มาตรการป้องกันเพื่อลดอัตราการติดเชื้อ ในการนี้ ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 เกี่ยวกับโรคเอดส์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-