ทำเนียบรัฐบาล--28 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างแผนพัฒนาการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาการเมืองฉบับปรังปรุง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ของคณะกรรมการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาการเมือง
2. มอบให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรับร่างแผนพัฒนาการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และข้อสังเกตของคณะกรรมการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาการเมืองไปพิจารณาดำเนินการ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรี ต่อไป ดังนี้
2.1 จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเมืองขึ้นรับผิดชอบกำกับดูแล ประสานงาน ติดตามการนำแผนไปบังคับใช้ จัดทำแผนฯ และปรับปรุงแผนฯ เป็นระยะ ๆ ให้สอดคล้องกับระยะของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2 ในชั้นต้นควรมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาการเมือง จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเมืองและฝ่ายเลขานุการขึ้น
2.3 ในระยะยาวควรมีการตราพระราชบัญญัติรองรับ
ทั้งนี้ แผนพัฒนาการเมืองนี้เป็นแผนที่กำหนดกรอบทิศทางยุทธศาสตร์และมาตรการดำเนินการในแต่ละส่วนของการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองในระดับปฏิบัติการให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาการเมืองตามแนวทางและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1. แนวคิด ทิศทาง และวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาการเมือง
จากแนวคิดที่ว่า การเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน จึงสามารถกำหนด "วิสัยทัศน์ใหม่ในการพัฒนาการเมืองไทย" ได้ว่า "เป็นการร่วมกันบริหารจัดการการเมืองการปกครองประเทศของคนไทยทุกคน โดยยึดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในแนวทางธรรมรัฐหรือธรรมะครองแผ่นดิน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน มีความสมดุลในการใช้อำนาจรัฐ ที่มีความมีเสถียรภาพความมั่นคง ยั่งยืน และทันสมัยของระบบการเมืองเป็นเป้าหมาย ทั้งนี้ จะยึดหลักการใช้วัฒนธรรมแห่งความมีเหตุมีผลตามวิถีทางของระบอบการปกครองแบบธรรมรัฐเป็นคตินิยมในการตัดสินและดำเนินการบริหารการเมืองการปกครองในทุกระดับ โดยจะจัดระบบการปกครองให้มีความเป็นประชาธิปไตยแบบธรรมรัฐ ที่มีความชอบธรรม มีประสิทธิภาพ ประชาชนมีส่วนร่วมสามารถตรวจสอบได้ และสนองตอบต่อความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องครอบคลุมการดำเนินการให้นักการเมืองไทยใฝ่ธรรมะ เคารพในศักดิ์ศรีของตนเอง/ผู้อื่นและเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนการมีจิตสำนึกและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีของคนไทยทุกคน"
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาการเมือง
2.1 วัตถุประสงค์
1) เพื่อวางรากฐานให้สถาบันการเมืองไทยมีเสถียรภาพ เข้มแข็ง มั่นคง ทันสมัยและสนองตอบต่อความต้องการของสังคม
2) เพื่อเสริมสร้างการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน
3) เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรด้านนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ให้มีประสิทธิผลสูงสุดต่อการพัฒนาสังคมไทย
4) เพื่อเป็นกลไกในการชักนำบุคลากรที่มีศักยภาพ คุณธรรมและจริยธรรมเข้าสู่ระบบการเมืองและเสริมสร้างภาวะผู้นำทางการเมืองที่ดีให้มากขึ้น ฯลฯ
2.2 เป้าหมาย
1) ประชาชนชาวไทยทุกคนมีจิตสำนึกและวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบธรรมรัฐ
2) นักการเมืองไทยใฝ่ธรรมะ เคารพในเหตุผลและศักดิ์ศรีของตนเอง ผู้อื่นและเพื่อนมนุษย์ไม่ยอมให้อำนาจใดเข้าครอบงำ
3) สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้โครงสร้างและการใช้อำนาจรัฐที่สามารถตรวจสอบได้ฯลฯ
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมือง
ยุทธศาสตร์การคุ้มครองและขยายสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1) การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมทางการเมือง
2) การสร้างผู้นำทางการเมืองที่มีคุณธรรม มีความสามารถ และมีความรับผิดชอบต่อประชาชน
3) การสร้างระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ
4) การพัฒนาพรรคการเมืองให้มีความเข้มแข็งและเป็นพรรคของประชาชนฯลฯ
ยุทธศาสตร์การจัดการโครงสร้าง อำนาจสถาบันการเมืองการปกครองและสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการเข้าสู่อำนาจและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1) การพัฒนาสภาวะแวดล้อมทางสังคมให้เอื้อต่อการสนับสนุนให้คนที่ดีและมีความสามารถเข้าสู่ภาคการเมืองและภาคข้าราชการ
2) การให้การศึกษาทางด้านประชาธิปไตย
3) การส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ภาคประชาชน
4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรชุมชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1) การให้ความรู้และสร้างจิตสำนึก วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
2) การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาวัฒนธรรม ประชาธิปไตย
4. แนวทางการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติให้สัมฤทธิผล โดยดำเนินการ ดังนี้
4.1 ให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
4.2 รัฐบาลต้องประกาศวิสัยทัศน์ทางการเมืองและเผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นสัญญาประชาคม
4.3 ประชาชนต้องรวมตัวกันและประสานงานเป็นเครือข่ายเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเมือง
4.4 องค์กรอิสระทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญต้องมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นอิสระมีความโปร่งใสและมีคุณธรรม ประสานงานกันระหว่างองค์กรอิสระทางการเมืองด้วยกัน และกับรัฐบาลหรือรัฐสภา
4.5 พรรคการเมืองต้องสร้างระบบการคัดเลือกและควบคุมความประพฤติของสมาชิกพรรคให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม คุณภาพ มีวิสัยทัศน์และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างแผนพัฒนาการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างแผนพัฒนาการเมืองฉบับปรังปรุง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ของคณะกรรมการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาการเมือง
2. มอบให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรับร่างแผนพัฒนาการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และข้อสังเกตของคณะกรรมการพิจารณาจัดทำร่างแผนพัฒนาการเมืองไปพิจารณาดำเนินการ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรี ต่อไป ดังนี้
2.1 จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาเมืองขึ้นรับผิดชอบกำกับดูแล ประสานงาน ติดตามการนำแผนไปบังคับใช้ จัดทำแผนฯ และปรับปรุงแผนฯ เป็นระยะ ๆ ให้สอดคล้องกับระยะของแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2.2 ในชั้นต้นควรมีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาการเมือง จัดตั้งคณะกรรมการพัฒนาการเมืองและฝ่ายเลขานุการขึ้น
2.3 ในระยะยาวควรมีการตราพระราชบัญญัติรองรับ
ทั้งนี้ แผนพัฒนาการเมืองนี้เป็นแผนที่กำหนดกรอบทิศทางยุทธศาสตร์และมาตรการดำเนินการในแต่ละส่วนของการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อให้เกิดการปฏิรูปการเมืองในระดับปฏิบัติการให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการพัฒนาการเมืองตามแนวทางและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ดังนี้
1. แนวคิด ทิศทาง และวิสัยทัศน์ใหม่ของการพัฒนาการเมือง
จากแนวคิดที่ว่า การเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน จึงสามารถกำหนด "วิสัยทัศน์ใหม่ในการพัฒนาการเมืองไทย" ได้ว่า "เป็นการร่วมกันบริหารจัดการการเมืองการปกครองประเทศของคนไทยทุกคน โดยยึดหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในแนวทางธรรมรัฐหรือธรรมะครองแผ่นดิน เพื่อมุ่งไปสู่การพัฒนาสังคมไทยอย่างยั่งยืน มีความสมดุลในการใช้อำนาจรัฐ ที่มีความมีเสถียรภาพความมั่นคง ยั่งยืน และทันสมัยของระบบการเมืองเป็นเป้าหมาย ทั้งนี้ จะยึดหลักการใช้วัฒนธรรมแห่งความมีเหตุมีผลตามวิถีทางของระบอบการปกครองแบบธรรมรัฐเป็นคตินิยมในการตัดสินและดำเนินการบริหารการเมืองการปกครองในทุกระดับ โดยจะจัดระบบการปกครองให้มีความเป็นประชาธิปไตยแบบธรรมรัฐ ที่มีความชอบธรรม มีประสิทธิภาพ ประชาชนมีส่วนร่วมสามารถตรวจสอบได้ และสนองตอบต่อความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะต้องครอบคลุมการดำเนินการให้นักการเมืองไทยใฝ่ธรรมะ เคารพในศักดิ์ศรีของตนเอง/ผู้อื่นและเพื่อนมนุษย์ ตลอดจนการมีจิตสำนึกและวัฒนธรรมทางการเมืองที่ดีของคนไทยทุกคน"
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลักของการพัฒนาการเมือง
2.1 วัตถุประสงค์
1) เพื่อวางรากฐานให้สถาบันการเมืองไทยมีเสถียรภาพ เข้มแข็ง มั่นคง ทันสมัยและสนองตอบต่อความต้องการของสังคม
2) เพื่อเสริมสร้างการใช้หลักนิติธรรมในการบริหารราชการแผ่นดิน
3) เพื่อเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการทำงานขององค์กรด้านนิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ ให้มีประสิทธิผลสูงสุดต่อการพัฒนาสังคมไทย
4) เพื่อเป็นกลไกในการชักนำบุคลากรที่มีศักยภาพ คุณธรรมและจริยธรรมเข้าสู่ระบบการเมืองและเสริมสร้างภาวะผู้นำทางการเมืองที่ดีให้มากขึ้น ฯลฯ
2.2 เป้าหมาย
1) ประชาชนชาวไทยทุกคนมีจิตสำนึกและวัฒนธรรมประชาธิปไตยแบบธรรมรัฐ
2) นักการเมืองไทยใฝ่ธรรมะ เคารพในเหตุผลและศักดิ์ศรีของตนเอง ผู้อื่นและเพื่อนมนุษย์ไม่ยอมให้อำนาจใดเข้าครอบงำ
3) สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลภายใต้โครงสร้างและการใช้อำนาจรัฐที่สามารถตรวจสอบได้ฯลฯ
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเมือง
ยุทธศาสตร์การคุ้มครองและขยายสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1) การสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่ประชาชนมีจิตสำนึกและมีส่วนร่วมทางการเมือง
2) การสร้างผู้นำทางการเมืองที่มีคุณธรรม มีความสามารถ และมีความรับผิดชอบต่อประชาชน
3) การสร้างระบบตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่มีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ
4) การพัฒนาพรรคการเมืองให้มีความเข้มแข็งและเป็นพรรคของประชาชนฯลฯ
ยุทธศาสตร์การจัดการโครงสร้าง อำนาจสถาบันการเมืองการปกครองและสถาบันอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กระบวนการเข้าสู่อำนาจและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1) การพัฒนาสภาวะแวดล้อมทางสังคมให้เอื้อต่อการสนับสนุนให้คนที่ดีและมีความสามารถเข้าสู่ภาคการเมืองและภาคข้าราชการ
2) การให้การศึกษาทางด้านประชาธิปไตย
3) การส่งเสริมการกระจายอำนาจสู่ภาคประชาชน
4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรชุมชน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาวัฒนธรรมประชาธิปไตย ประกอบด้วยมาตรการต่าง ๆ ดังนี้
1) การให้ความรู้และสร้างจิตสำนึก วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย
2) การสร้างสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนาวัฒนธรรม ประชาธิปไตย
4. แนวทางการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติให้สัมฤทธิผล โดยดำเนินการ ดังนี้
4.1 ให้รัฐสภาออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
4.2 รัฐบาลต้องประกาศวิสัยทัศน์ทางการเมืองและเผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างกว้างขวางเพื่อเป็นสัญญาประชาคม
4.3 ประชาชนต้องรวมตัวกันและประสานงานเป็นเครือข่ายเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาการเมือง
4.4 องค์กรอิสระทางการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญต้องมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพอย่างเป็นอิสระมีความโปร่งใสและมีคุณธรรม ประสานงานกันระหว่างองค์กรอิสระทางการเมืองด้วยกัน และกับรัฐบาลหรือรัฐสภา
4.5 พรรคการเมืองต้องสร้างระบบการคัดเลือกและควบคุมความประพฤติของสมาชิกพรรคให้เป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรม คุณภาพ มีวิสัยทัศน์และจรรยาบรรณในวิชาชีพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 พ.ย. 2543--
-สส-