ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ มาตรการแก้ปัญหา เรื่องหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไทย โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการรายงานเกี่ยวกับข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหาและมาตรการในการดำเนินงานในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. ความเป็นมา ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไทยได้กระจายเนื้อหาวิชาดังกล่าวสอดแทรกไว้ในกลุ่มประสบการณ์และวิชาต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่สอดรับกับกระแสความต้องการของสังคม กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไทย ให้มีเนื้อหา รายละเอียด ความลึกซึ้งตามระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งในปัจจุบันและที่จะเป็นในอนาคต สำหรับหลักสูตรการศึกษาในอดีตและปัจจุบันในเรื่องหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรมและประวัติศาสตร์ มีดังนี้
- การจัดการศึกษาในอดีต ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงสร้างของหลักสูตร จะประกอบด้วยหมวดวิชาต่าง ๆ เช่น สังคมศึกษา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ พลานามัยศิลปศึกษา หัตถศึกษา ภาษาต่างประเทศ เป็นต้น วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ เป็นวิชาย่อยที่อยู่หมวดสังคมศึกษา
- หลักสูตรการศึกษาที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาเปลี่ยนแปลงไปจากหลักสูตรเดิมฉบับพุทธศักราช 2503 โดยมีแนวความคิดในการจัดการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตจริง ในระดับประถมศึกษา ได้จัดหลักสูตรแบบบูรณาการ โดยเฉพาะกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตว่าด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาของชีวิตและสังคม กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยว่าด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมลักษณะนิสัย ค่านิยม เจตคติและพฤติกรรม
- ในระดับมัธยมศึกษา โครงสร้างของหลักสูตรจัดเป็นกลุ่มวิชา และกำหนดเวลาเรียนคล้ายกับหลักสูตรการศึกษาในอดีต แต่เน้นให้ผู้เรียนค้นคว้าจากสื่อที่หลากหลาย วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และวิชาประวัติศาสตร์ ในหลักสูตรการศึกษาฉบับที่ใช้ในปัจจุบันยังคงมีเนื้อหาสาระครบถ้วน โดยเฉพาะกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของหลักสูตรประถมศึกษาและจัดให้อยู่ในกลุ่มวิชาสังคมศึกษาของหลักสูตรมัธยมศึกษา
2. มาตรการและแนวทางการดำเนินงาน
เพื่อให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และสอดรับกับกระแสเรียกร้องของสังคมอยู่ในขณะนี้ จึงมีมาตรการและแนวทางการดำเนินงาน คือ กำหนดและจัดให้มี "วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม" ในหลักสูตรทุกระดับ โดยนำเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับ "หน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม" ซึ่งได้บูรณาการไว้ในกลุ่มประสบการณ์และกลุ่มวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2533 ออกมาจัดทำเป็นเนื้อหา "วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม" เป็นการเฉพาะ โดยกำหนดเนื้อหาในระดับประถมศึกษาเป็นหน่วย ในระดับมัธยมศึกษาเป็นรายวิชาสำหรับการดำเนินงานดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นก่อนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544
กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื้อหาวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม ในหลักสูตรปัจจุบันมีเนื้อหาวิชามากกว่าหลักสูตรเดิม โดยหลักสูตรปัจจุบันระดับประถมศึกษาได้จัดไว้ในกลุ่มประสบการณ์ และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจัดไว้ในกลุ่มวิชาสังคมศึกษาโดยในการจัดการเรียนการสอนจะสอนแบบบูรณาการเข้ากับวิชาอื่น ๆ และสอนเป็นวิชาเฉพาะเรื่องด้วย เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้รับการปลูกฝังด้านหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม มากยิ่งขึ้น สำหรับวิชาประวัติศาสตร์ได้ดำเนินการจัดทำเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์เป็นการเฉพาะขึ้นแล้วเมื่อปีพุทธศักราช 2542 และได้แจ้งให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินกาารจัดการเรียนการสอนเรียบร้อยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ มาตรการแก้ปัญหา เรื่องหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไทย โดยให้รับความเห็นของกระทรวงมหาดไทย และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการรายงานเกี่ยวกับข้อมูลสภาพปัจจุบัน ปัญหาและมาตรการในการดำเนินงานในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. ความเป็นมา ปัจจุบันการจัดการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไทยได้กระจายเนื้อหาวิชาดังกล่าวสอดแทรกไว้ในกลุ่มประสบการณ์และวิชาต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่สอดรับกับกระแสความต้องการของสังคม กระทรวงศึกษาธิการจึงได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ไทย ให้มีเนื้อหา รายละเอียด ความลึกซึ้งตามระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของสังคมทั้งในปัจจุบันและที่จะเป็นในอนาคต สำหรับหลักสูตรการศึกษาในอดีตและปัจจุบันในเรื่องหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรมและประวัติศาสตร์ มีดังนี้
- การจัดการศึกษาในอดีต ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงสร้างของหลักสูตร จะประกอบด้วยหมวดวิชาต่าง ๆ เช่น สังคมศึกษา ภาษาไทย วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ พลานามัยศิลปศึกษา หัตถศึกษา ภาษาต่างประเทศ เป็นต้น วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และประวัติศาสตร์ เป็นวิชาย่อยที่อยู่หมวดสังคมศึกษา
- หลักสูตรการศึกษาที่ใช้ในปัจจุบัน โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาเปลี่ยนแปลงไปจากหลักสูตรเดิมฉบับพุทธศักราช 2503 โดยมีแนวความคิดในการจัดการศึกษาที่มุ่งให้ผู้เรียนนำประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนไปใช้เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตจริง ในระดับประถมศึกษา ได้จัดหลักสูตรแบบบูรณาการ โดยเฉพาะกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตว่าด้วยกระบวนการแก้ไขปัญหาของชีวิตและสังคม กลุ่มสร้างเสริมลักษณะนิสัยว่าด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมลักษณะนิสัย ค่านิยม เจตคติและพฤติกรรม
- ในระดับมัธยมศึกษา โครงสร้างของหลักสูตรจัดเป็นกลุ่มวิชา และกำหนดเวลาเรียนคล้ายกับหลักสูตรการศึกษาในอดีต แต่เน้นให้ผู้เรียนค้นคว้าจากสื่อที่หลากหลาย วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม และวิชาประวัติศาสตร์ ในหลักสูตรการศึกษาฉบับที่ใช้ในปัจจุบันยังคงมีเนื้อหาสาระครบถ้วน โดยเฉพาะกลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตของหลักสูตรประถมศึกษาและจัดให้อยู่ในกลุ่มวิชาสังคมศึกษาของหลักสูตรมัธยมศึกษา
2. มาตรการและแนวทางการดำเนินงาน
เพื่อให้การจัดกระบวนการเรียนรู้ วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม มีความชัดเจนยิ่งขึ้น และสอดรับกับกระแสเรียกร้องของสังคมอยู่ในขณะนี้ จึงมีมาตรการและแนวทางการดำเนินงาน คือ กำหนดและจัดให้มี "วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม" ในหลักสูตรทุกระดับ โดยนำเนื้อหาวิชาที่เกี่ยวกับ "หน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม" ซึ่งได้บูรณาการไว้ในกลุ่มประสบการณ์และกลุ่มวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรฉบับปรับปรุงพุทธศักราช 2533 ออกมาจัดทำเป็นเนื้อหา "วิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม" เป็นการเฉพาะ โดยกำหนดเนื้อหาในระดับประถมศึกษาเป็นหน่วย ในระดับมัธยมศึกษาเป็นรายวิชาสำหรับการดำเนินงานดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้เสร็จสิ้นก่อนภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2544
กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาแล้วเห็นว่า เนื้อหาวิชาหน้าที่พลเมือง - ศีลธรรม ในหลักสูตรปัจจุบันมีเนื้อหาวิชามากกว่าหลักสูตรเดิม โดยหลักสูตรปัจจุบันระดับประถมศึกษาได้จัดไว้ในกลุ่มประสบการณ์ และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลายจัดไว้ในกลุ่มวิชาสังคมศึกษาโดยในการจัดการเรียนการสอนจะสอนแบบบูรณาการเข้ากับวิชาอื่น ๆ และสอนเป็นวิชาเฉพาะเรื่องด้วย เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้และได้รับการปลูกฝังด้านหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม มากยิ่งขึ้น สำหรับวิชาประวัติศาสตร์ได้ดำเนินการจัดทำเนื้อหาวิชาประวัติศาสตร์เป็นการเฉพาะขึ้นแล้วเมื่อปีพุทธศักราช 2542 และได้แจ้งให้สถานศึกษาทุกแห่งดำเนินกาารจัดการเรียนการสอนเรียบร้อยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-