คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างกรอบแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 - 2549)ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (พลเอก ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ประธานกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย เสนอ เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทที่วางกรอบนโยบายการพัฒนากีฬาของชาติ ดังนี้
1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและองค์กรเอกชน ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดในแผน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับกรอบและแนวทางของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 - 2549)
2. ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลงานด้านแผนงานโครงการ งบประมาณ และอัตรากำลังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับ กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน ให้การสนับสนุนเป็นพิเศษในการพัฒนาการกีฬาให้เป็นไปตามกรอบและแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 -2549)
3. ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานประสานในการนิเทศแผน การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับ และมีหน้าที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 - 2549)
กรอบแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 - 2549) มีกรอบและทิศทางสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะเปิดรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประชาคมโลก อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสมดุลด้วยคุณภาพอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งบุคคลกลุ่มพิเศษและผู้ด้อยโอกาส ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อพัฒนาให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย น้ำใจนักกีฬา และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. เพื่อพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬาเพื่อมวลชน กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กีฬาเพื่อการอาชีพ ตามลำดับ โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬามาประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนของการพัฒนากีฬา
3. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา จัดหา จัดสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์กีฬา และสถานกีฬาให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น
4. เพื่อพัฒนาองค์กรกีฬาให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกีฬาอย่างเป็นระบบ และมีการกระจายอำนาจ การบริหารการกีฬาสู่ระดับท้องถิ่นอย่างทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกีฬา
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาฯ ดังกล่าว มีเป้าหมายหลัก ดังนี้
1. ประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งบุคคลกลุ่มพิเศษและผู้ด้อยโอกาสมีความเสมอภาคได้รับโอกาสในการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ โดยใช้กีฬาเป็นสื่อ
2. เด็กและเยาวชนร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจมีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา และมีทักษะกีฬาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และน้ำใจนักกีฬา
3. ประชาชนร้อยละ 60 ได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ สมรรถภาพทางกายและมิตรภาพระหว่างครอบครัว ชุมชน อย่างเหมาะสมและทั่วถึง
4. มีการพัฒนาสถานกีฬา ดังนี้
1) มีการสร้าง พัฒนา ปรับปรุง และดูแลสนามกีฬาระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น
2) มีการสร้าง พัฒนา ปรับปรุงและดูแลสถานที่ออกกำลังกาย ลานกีฬา สนามกีฬาระดับชุมชน หมู่บ้าน และตำบล ให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
3) มีศูนย์กีฬา ศูนย์อุปกรณ์กีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวกทุกหมู่บ้าน
5. มีนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพ คุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย และน้ำใจนักกีฬาของนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาอย่างต่อเนื่อง
6. มีการส่งเสริมมาตรฐานการกีฬาให้สูงขึ้นตามลำดับจากกีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬาเพื่อมวลชน กีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพ ทั้งในด้านบุคลากรอุปกรณ์ สถานกีฬาและการจัดการแข่งขัน ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ และนานาชาติ โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
7. มีการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการกีฬาเพิ่มขึ้นทั้งด้านบุคลากรเครื่องมือ อุปกรณ์ การศึกษาวิจัย และมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย รวมทั้งมีหน่วยงานรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นทั้งในระดับภาคและจังหวัด
8. มีองค์กรกีฬาที่มีเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกีฬา
นอกจากนี้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการดำเนินงาน 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) การพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน 2) การพัฒนาการกีฬาเพื่อมวลชน 3) การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ 4) การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ 5) การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 6) การพัฒนาการบริหารการกีฬา
สำหรับองค์กรที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นองค์กรหลัก คือ
1. องค์กรหลักภาครัฐ ได้แก่ การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2. องค์กรหลักภาคเอกชน ได้แก่ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยสมาคมกีฬาจังหวัด บริษัทห้างร้าน ประชาชนและชุมชน นอกจากนี้ยังมีองค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการบริหารและพัฒนาการกีฬาของประเทศที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการ ให้ร่วมรับผิดชอบยุทธศาสตร์ทั้ง6 ยุทธศาสตร์ ในแผนดังกล่าวอีกหลายองค์กร
ทั้งนี้ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 29 พ.ค.2544
-สส-
1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับกระทรวง ทบวง กรม จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจและองค์กรเอกชน ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดในแผน รวมทั้งจัดทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับกรอบและแนวทางของแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 - 2549)
2. ให้หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลงานด้านแผนงานโครงการ งบประมาณ และอัตรากำลังของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับ กระทรวง ทบวง กรม จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ และองค์กรเอกชน ให้การสนับสนุนเป็นพิเศษในการพัฒนาการกีฬาให้เป็นไปตามกรอบและแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 -2549)
3. ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานประสานในการนิเทศแผน การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติในทุกระดับ และมีหน้าที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 - 2549)
กรอบแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2545 - 2549) มีกรอบและทิศทางสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาประเทศชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมที่จะเปิดรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับประชาคมโลก อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสมดุลด้วยคุณภาพอย่างแท้จริง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งบุคคลกลุ่มพิเศษและผู้ด้อยโอกาส ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อพัฒนาให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งมีคุณธรรม จริยธรรมระเบียบวินัย น้ำใจนักกีฬา และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
2. เพื่อพัฒนากีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬาเพื่อมวลชน กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ กีฬาเพื่อการอาชีพ ตามลำดับ โดยนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬามาประยุกต์ใช้ในทุกขั้นตอนของการพัฒนากีฬา
3. เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการกีฬา จัดหา จัดสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์กีฬา และสถานกีฬาให้เหมาะสมกับความต้องการของท้องถิ่น
4. เพื่อพัฒนาองค์กรกีฬาให้มีเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกีฬาอย่างเป็นระบบ และมีการกระจายอำนาจ การบริหารการกีฬาสู่ระดับท้องถิ่นอย่างทั่วถึง รวมทั้งสนับสนุนให้องค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกีฬา
การดำเนินงานตามแผนพัฒนาการกีฬาฯ ดังกล่าว มีเป้าหมายหลัก ดังนี้
1. ประชาชนทุกกลุ่มรวมทั้งบุคคลกลุ่มพิเศษและผู้ด้อยโอกาสมีความเสมอภาคได้รับโอกาสในการพัฒนาให้เป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพ โดยใช้กีฬาเป็นสื่อ
2. เด็กและเยาวชนร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจมีเจตคติที่ดีต่อการออกกำลังกาย และเล่นกีฬา และมีทักษะกีฬาขั้นพื้นฐาน รวมทั้งได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรม จริยธรรม มีระเบียบวินัย และน้ำใจนักกีฬา
3. ประชาชนร้อยละ 60 ได้ออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ สมรรถภาพทางกายและมิตรภาพระหว่างครอบครัว ชุมชน อย่างเหมาะสมและทั่วถึง
4. มีการพัฒนาสถานกีฬา ดังนี้
1) มีการสร้าง พัฒนา ปรับปรุง และดูแลสนามกีฬาระดับอำเภอ จังหวัด และประเทศให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานเพิ่มมากขึ้น
2) มีการสร้าง พัฒนา ปรับปรุงและดูแลสถานที่ออกกำลังกาย ลานกีฬา สนามกีฬาระดับชุมชน หมู่บ้าน และตำบล ให้เป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
3) มีศูนย์กีฬา ศูนย์อุปกรณ์กีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวกทุกหมู่บ้าน
5. มีนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการพัฒนาศักยภาพ คุณธรรม จริยธรรม ระเบียบวินัย และน้ำใจนักกีฬาของนักกีฬาและบุคลากรทางการกีฬาอย่างต่อเนื่อง
6. มีการส่งเสริมมาตรฐานการกีฬาให้สูงขึ้นตามลำดับจากกีฬาขั้นพื้นฐาน กีฬาเพื่อมวลชน กีฬาเพื่อความเป็นเลิศและกีฬาเพื่อการอาชีพ ทั้งในด้านบุคลากรอุปกรณ์ สถานกีฬาและการจัดการแข่งขัน ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับประเทศ และนานาชาติ โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ
7. มีการส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการกีฬาเพิ่มขึ้นทั้งด้านบุคลากรเครื่องมือ อุปกรณ์ การศึกษาวิจัย และมีการนำไปใช้อย่างแพร่หลาย รวมทั้งมีหน่วยงานรับผิดชอบเพิ่มมากขึ้นทั้งในระดับภาคและจังหวัด
8. มีองค์กรกีฬาที่มีเอกภาพและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกีฬา
นอกจากนี้ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการดำเนินงาน 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้ 1) การพัฒนาการกีฬาขั้นพื้นฐาน 2) การพัฒนาการกีฬาเพื่อมวลชน 3) การพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศ 4) การพัฒนาการกีฬาเพื่อการอาชีพ 5) การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 6) การพัฒนาการบริหารการกีฬา
สำหรับองค์กรที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นองค์กรหลัก คือ
1. องค์กรหลักภาครัฐ ได้แก่ การกีฬาแห่งประเทศไทย กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นกระทรวงการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงกลาโหม และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
2. องค์กรหลักภาคเอกชน ได้แก่ คณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ สมาคมกีฬาแห่งประเทศไทยสมาคมกีฬาจังหวัด บริษัทห้างร้าน ประชาชนและชุมชน นอกจากนี้ยังมีองค์กรที่เกี่ยวข้อง และองค์กรต่าง ๆ ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการบริหารและพัฒนาการกีฬาของประเทศที่ได้รับมอบหมายอย่างเป็นทางการ ให้ร่วมรับผิดชอบยุทธศาสตร์ทั้ง6 ยุทธศาสตร์ ในแผนดังกล่าวอีกหลายองค์กร
ทั้งนี้ ให้การกีฬาแห่งประเทศไทยรับความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 29 พ.ค.2544
-สส-