คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายจากการประชุมระดมความคิดเพื่อกำหนดแนวทางการเอาชนะยาเสพติดเมื่อวันที่10 - 11 มีนาคม 2544 ที่จังหวัดเชียงราย 2 เรื่อง คือ การควบคุมตัวยา และการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพในห้วงเวลาของไตรมาสที่ 2 (เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน) พ.ศ. 2544 กระทรวงสาธารณสุขได้สนองนโยบาย สรุปได้ดังนี้
1. การควบคุมตัวยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกันควบคุมสารตั้งต้น รวมทั้งตัวยาที่ใช้ทดแทนเป็นยาเสพติด โดยศึกษายาที่ใช้เสพติด การควบคุม และหน่วยงานที่จำหน่ายแก่ประชาชนและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำการเผยแพร่การทำลายยาเสพติดของกลางเพื่อให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ในรอบไตรมาสที่ 2 ของ พ.ศ. 2544 ได้ดำเนินการ ดังนี้
1.1 การแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสั้นลง และศาลสามารถบังคับบำบัดได้
1.2 กำหนดรายการยาเสพติด/วัตถุออกฤทธิ์ที่จะต้องควบคุมเข้มงวดในร้านขายยา แล้วดำเนินการอย่างเฉียบขาด
1.3 การเผาทำลายยา
1) ประชาสัมพันธ์การตรวจรับยาเสพติดให้โทษของกลางและคงคลังในแต่ละเดือนในอินเทอร์เนตและปรับข้อมูลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ณ www.fda.moph.go.th
2) เผายาเสพติดให้โทษของกลาง ณ ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดกระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพโดยเน้นที่ 2 กลุ่มเป้าหมายคือผู้เสพยาและผู้ติดยาเสพติดให้เชื่อมโยงประสานสอดคล้องกัน ให้มีการจำแนกทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมายนี้ โดยกระบวนการคัดกรองและเฝ้าระวัง พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินการและวิธีการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพกลุ่มผู้เสพให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งดำเนินการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ในรอบไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2544 ได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
- พัฒนาศักยภาพสถานบริการของหน่วยราชการแบบกายจิตสังคมบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติด
- พัฒนาด้านวิชาการ โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรอบรมวิทยากรจิตสังคมบำบัดสำหรับผู้เสพยาบ้า
- พัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลของรัฐทุกระดับทั่วประเทศในด้านการตรวจหายาเสพติดในร่างกาย
- พัฒนาศักยภาพการบำบัดผู้ติดยาเสพติดของหน่วยงานอื่น
2.2 การดำเนินการในโรงเรียน โดยการพัฒนาศักยภาพครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว เพื่อการสร้างทักษะชีวิตแก่นักเรียนและเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน
2.3 รณรงค์ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และจูงใจให้เข้ารับการบำบัด โดยใช้สื่อสารมวลชน
2.4 โครงการนำร่องแก้ไขปัญหาผู้ติดยาเสพติดแบบครบวงจร
2.5 การบริหารจัดการ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับภารกิจของรัฐบาล ในควบคุมตัวยา และการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ได้ประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติการเอาชนะยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เฉพาะที่ได้รับจัดสรรคืนจำนวน 111,565,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
1. การควบคุมตัวยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกันควบคุมสารตั้งต้น รวมทั้งตัวยาที่ใช้ทดแทนเป็นยาเสพติด โดยศึกษายาที่ใช้เสพติด การควบคุม และหน่วยงานที่จำหน่ายแก่ประชาชนและสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ทำการเผยแพร่การทำลายยาเสพติดของกลางเพื่อให้ประชาชนรับรู้โดยทั่วไปอย่างต่อเนื่อง ในรอบไตรมาสที่ 2 ของ พ.ศ. 2544 ได้ดำเนินการ ดังนี้
1.1 การแก้ไขพระราชบัญญัติยาเสพติดเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสั้นลง และศาลสามารถบังคับบำบัดได้
1.2 กำหนดรายการยาเสพติด/วัตถุออกฤทธิ์ที่จะต้องควบคุมเข้มงวดในร้านขายยา แล้วดำเนินการอย่างเฉียบขาด
1.3 การเผาทำลายยา
1) ประชาสัมพันธ์การตรวจรับยาเสพติดให้โทษของกลางและคงคลังในแต่ละเดือนในอินเทอร์เนตและปรับข้อมูลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ณ www.fda.moph.go.th
2) เผายาเสพติดให้โทษของกลาง ณ ศูนย์บริหารสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อม นิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
2. การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดกระบวนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพโดยเน้นที่ 2 กลุ่มเป้าหมายคือผู้เสพยาและผู้ติดยาเสพติดให้เชื่อมโยงประสานสอดคล้องกัน ให้มีการจำแนกทั้ง 2 กลุ่มเป้าหมายนี้ โดยกระบวนการคัดกรองและเฝ้าระวัง พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินการและวิธีการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพกลุ่มผู้เสพให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งดำเนินการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีความพร้อมในการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ในรอบไตรมาสที่ 2 พ.ศ. 2544 ได้ดำเนินการ ดังนี้
2.1 การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด
- พัฒนาศักยภาพสถานบริการของหน่วยราชการแบบกายจิตสังคมบำบัดสำหรับผู้ติดยาเสพติด
- พัฒนาด้านวิชาการ โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรอบรมวิทยากรจิตสังคมบำบัดสำหรับผู้เสพยาบ้า
- พัฒนาศักยภาพโรงพยาบาลของรัฐทุกระดับทั่วประเทศในด้านการตรวจหายาเสพติดในร่างกาย
- พัฒนาศักยภาพการบำบัดผู้ติดยาเสพติดของหน่วยงานอื่น
2.2 การดำเนินการในโรงเรียน โดยการพัฒนาศักยภาพครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว เพื่อการสร้างทักษะชีวิตแก่นักเรียนและเพื่อการเฝ้าระวัง ป้องกัน และคัดกรอง กลุ่มเสี่ยงในโรงเรียน
2.3 รณรงค์ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ในการสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ และจูงใจให้เข้ารับการบำบัด โดยใช้สื่อสารมวลชน
2.4 โครงการนำร่องแก้ไขปัญหาผู้ติดยาเสพติดแบบครบวงจร
2.5 การบริหารจัดการ ศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหายาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งได้จัดตั้งขึ้นเพื่อรองรับภารกิจของรัฐบาล ในควบคุมตัวยา และการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ได้ประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติการเอาชนะยาเสพติดกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เฉพาะที่ได้รับจัดสรรคืนจำนวน 111,565,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-