คณะรัฐมนตรีอนุมัติในหลักการตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธีเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ทำหน้าที่ทางวิชาการและเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี
คณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีเป็นกลไกทำหน้าที่ตรวจสอบประเมินสถานการณ์เตือนภัย และเสนอแนวทางการป้องกันและจัดการปัญหาความขัดแย้ง โดยสันติวิธีต่อรัฐบาลและสาธารณชน รวมทั้งเผยแพร่ ประสานความเข้าใจแนวทางสันติวิธีในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งให้เป็นจุดยืนและทิศทางของชาติ และเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของสันติภาพและการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ตามคำสั่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ 1/2544 ลงวันที่ 18 เมษายน 2544
สำหรับการดำเนินการจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธี รวมทั้งด้านงบประมาณและอัตรากำลังให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. ดังนี้1. สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่า
1.1 การจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธีขึ้นเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่มีฐานะเทียบเท่าหน่วยงานระดับสำนัก เพื่อทำหน้าที่ทางวิชาการและฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี ถือว่าเป็นการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ ที่ให้ส่วนราชการระงับการจัดตั้งหรือขยายหน่วยงานใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2541 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 25431.2 เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ขัดกับมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐดังกล่าว ในระยะนี้จึงเห็นควรให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธีเป็นหน่วยงานภายในที่ไม่ใช่หน่วยงานระดับกองหรือสำนักไปพลางก่อน และเกลี่ยอัตรากำลังที่มีอยู่มาช่วยปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการและงานฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว น่าจะเหมาะสมกว่า1.3 สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 สำนักงบประมาณเห็นว่าสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติมิได้จัดเตรียมงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าวไว้ จึงเห็นควรให้ความเห็นชอบให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 877,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างจังหวัด และค่าจัดพิมพ์เอกสารโดยเบิกจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่น ส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 นั้น เนื่องจากขณะนี้การจัดทำร่างพระราชบัญญติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไปแล้ว และอยู่ในระหว่างเตรียมการนำเสนอขออนุมัติต่อสภาผู้แทนราษฎร สำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ได้ จึงขอให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอขอแปรญัตติเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25452. สำนักงาน ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า
2.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศเป็นกลไกและวิธีการที่จะเสริมสร้างความมั่นคงของสังคมให้เกิดความยั่งยืน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่นำไปสู่การเผชิญหน้า และเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของสันติภาพและการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
2.2 โดยที่แนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีเป็นวิธีดำเนินการส่วนหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ จึงอาจจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธี (สยส.) เป็นหน่วยงานภายในของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยในระยะแรกเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ อาจมอบหมายให้กองที่รับผิดชอบงานศึกษาเสนอความเห็น และจัดทำแผนที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ทางวิชาการและเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการดังกล่าว และหากมีความจำเป็นอันหลีกเลี่ยงมิได้ อาจเสนอคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เพื่อขอรับการจัดสรรอัตรากำลังในการปฏิบัติงานดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 5 มิ.ย. 2544
-สส-
คณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีเป็นกลไกทำหน้าที่ตรวจสอบประเมินสถานการณ์เตือนภัย และเสนอแนวทางการป้องกันและจัดการปัญหาความขัดแย้ง โดยสันติวิธีต่อรัฐบาลและสาธารณชน รวมทั้งเผยแพร่ ประสานความเข้าใจแนวทางสันติวิธีในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งให้เป็นจุดยืนและทิศทางของชาติ และเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของสันติภาพและการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ตามคำสั่งสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่ 1/2544 ลงวันที่ 18 เมษายน 2544
สำหรับการดำเนินการจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธี รวมทั้งด้านงบประมาณและอัตรากำลังให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ. ดังนี้1. สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วเห็นว่า
1.1 การจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธีขึ้นเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ที่มีฐานะเทียบเท่าหน่วยงานระดับสำนัก เพื่อทำหน้าที่ทางวิชาการและฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี ถือว่าเป็นการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ที่ไม่สอดคล้องกับมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐ ที่ให้ส่วนราชการระงับการจัดตั้งหรือขยายหน่วยงานใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2541 มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2541 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 25431.2 เพื่อให้การปฏิบัติงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่ขัดกับมาตรการควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคคลภาครัฐดังกล่าว ในระยะนี้จึงเห็นควรให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธีเป็นหน่วยงานภายในที่ไม่ใช่หน่วยงานระดับกองหรือสำนักไปพลางก่อน และเกลี่ยอัตรากำลังที่มีอยู่มาช่วยปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานวิชาการและงานฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว น่าจะเหมาะสมกว่า1.3 สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 สำนักงบประมาณเห็นว่าสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติมิได้จัดเตรียมงบประมาณในการดำเนินการดังกล่าวไว้ จึงเห็นควรให้ความเห็นชอบให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 877,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมสัมมนา ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างจังหวัด และค่าจัดพิมพ์เอกสารโดยเบิกจ่ายในหมวดรายจ่ายอื่น ส่วนค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 นั้น เนื่องจากขณะนี้การจัดทำร่างพระราชบัญญติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไปแล้ว และอยู่ในระหว่างเตรียมการนำเสนอขออนุมัติต่อสภาผู้แทนราษฎร สำนักงบประมาณไม่สามารถจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้ได้ จึงขอให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอขอแปรญัตติเพิ่มงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25452. สำนักงาน ก.พ. พิจารณาแล้วเห็นว่า
2.1 การแต่งตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์สันติวิธี สอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศเป็นกลไกและวิธีการที่จะเสริมสร้างความมั่นคงของสังคมให้เกิดความยั่งยืน เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งที่นำไปสู่การเผชิญหน้า และเพื่อให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของสันติภาพและการจัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
2.2 โดยที่แนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีเป็นวิธีดำเนินการส่วนหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ จึงอาจจัดตั้งสถาบันยุทธศาสตร์สันติวิธี (สยส.) เป็นหน่วยงานภายในของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ โดยในระยะแรกเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ อาจมอบหมายให้กองที่รับผิดชอบงานศึกษาเสนอความเห็น และจัดทำแผนที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ทางวิชาการและเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการดังกล่าว และหากมีความจำเป็นอันหลีกเลี่ยงมิได้ อาจเสนอคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) เพื่อขอรับการจัดสรรอัตรากำลังในการปฏิบัติงานดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 5 มิ.ย. 2544
-สส-