ทำเนียบรัฐบาล--8 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
9. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขร่างมาตรา 6 จากเดิมซึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครได้หนึ่งคน เป็น ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งการแก้ไขในครั้งนี้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 และเป็นไปตามหลักเหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. คำนิยาม
2. บททั่วไป การลงคะแนนเสียง การจัดการเลือกตั้ง
3. การกำหนดเขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง
4. การดำเนินการเลือกตั้ง
5. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
6. ผู้สมัครรับเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง และตัวแทนผู้สมัคร
7. ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีหาเสียงเลือกตั้ง
8. การลงคะแนนเลือกตั้ง
9. การนับคะแนนเลือกตั้งและการประกาศผลการเลือกตั้ง
10. การคัดค้านการเลือกตั้ง
11. การควบคุมการเลือกตั้ง
12. บทกำหนดโทษ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-
9. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ….
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา แล้วนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาเป็นเรื่องด่วนต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้แก้ไขร่างมาตรา 6 จากเดิมซึ่งบัญญัติให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครได้หนึ่งคน เป็น ให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครได้ไม่เกินจำนวนสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นที่จะพึงมีในเขตเลือกตั้งนั้น ซึ่งการแก้ไขในครั้งนี้เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2543 และเป็นไปตามหลักเหตุผล
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. คำนิยาม
2. บททั่วไป การลงคะแนนเสียง การจัดการเลือกตั้ง
3. การกำหนดเขตเลือกตั้ง หน่วยเลือกตั้ง และที่เลือกตั้ง
4. การดำเนินการเลือกตั้ง
5. ผู้มีสิทธิเลือกตั้งและบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
6. ผู้สมัครรับเลือกตั้ง การสมัครรับเลือกตั้ง และตัวแทนผู้สมัคร
7. ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งและวิธีหาเสียงเลือกตั้ง
8. การลงคะแนนเลือกตั้ง
9. การนับคะแนนเลือกตั้งและการประกาศผลการเลือกตั้ง
10. การคัดค้านการเลือกตั้ง
11. การควบคุมการเลือกตั้ง
12. บทกำหนดโทษ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-