คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 45/2544 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2544 เป็นต้นไป ซึ่งมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ดังนี้
องค์ประกอบ จำนวน 35 คน ได้แก่ นายเสนาะ เทียนทอง เป็นประธานกรรมการ นายปองพล อดิเรกสาร เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1 นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2 พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 3 นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 4 นายประมวล รุจนเสรี เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 5 นายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 6 และกรรมการ ประกอบด้วย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี นายปกิต พัฒนกุล นายอำนวย คลังผา นายประสานต์ บุญมี นายวิทยา บุรณศิริ นายประกิจ พลเดช นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ นายสุพล ฟองงาม นายทศพล สังขทรัพย์ นายธวัชชัย สัจจกุล นางลลิตา ฤกษ์สำราญ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ นายภิญโญ นิโรจน์ นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์ นายเฉลิมชัย อุฬารกุล นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์ นายสมศักดิ์ คุณเงิน นางผณินทรา ภัคเกษม โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ ผู้อำนวยการส่วนภายในประเทศ สำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ มีดังนี้
1. พิจารณาดำเนินการหรือประสานงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา ตามที่ได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
2. ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล เพื่อให้มีความเข้าใจ และมีการลงมติที่สอดคล้องกันในเรื่องหรือญัตติใดๆ ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา
3. พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน และมีมติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบหรือเห็นชอบแล้วแต่กรณี ก่อนแจ้งให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคร่วมรัฐบาลทราบและถือปฏิบัติ ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
4. ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมรัฐสภา คณะกรรมการสามารถพิจารณาวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการตามข้อ 3. ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น
5. ให้คณะกรรมการมีอำนาจเชิญส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงและจัดส่งเอกสารข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ
6. วางระเบียบวิธีการประสานงานเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้
7. ให้ประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ประสานงานหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) เป็นผู้รวบรวมมติคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 13 มี.ค.2544
-สส-
องค์ประกอบ จำนวน 35 คน ได้แก่ นายเสนาะ เทียนทอง เป็นประธานกรรมการ นายปองพล อดิเรกสาร เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 1 นายอดิศร เพียงเกษ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 2 พลตำรวจโท วิโรจน์ เปาอินทร์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 3 นายอารีเพ็ญ อุตรสินธุ์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 4 นายประมวล รุจนเสรี เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 5 นายพินิจ จันทรสุรินทร์ เป็นรองประธานกรรมการ คนที่ 6 และกรรมการ ประกอบด้วย นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี นายปกิต พัฒนกุล นายอำนวย คลังผา นายประสานต์ บุญมี นายวิทยา บุรณศิริ นายประกิจ พลเดช นายทรงศักดิ์ ทองศรี นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง นายดนัยฤทธิ์ วัชราภรณ์ นายสุพล ฟองงาม นายทศพล สังขทรัพย์ นายธวัชชัย สัจจกุล นางลลิตา ฤกษ์สำราญ นายวิสาร เตชะธีราวัฒน์ นายภิญโญ นิโรจน์ นายสุรสิทธิ์ นิติวุฒิวรรักษ์ นายประสิทธิ์ ตั้งศรีเกียรติกุล นายอรรถสิทธิ์ ทรัพยสิทธิ์ นายเฉลิมชัย อุฬารกุล นายสุทธิชัย จันทร์อารักษ์ นายสมศักดิ์ คุณเงิน นางผณินทรา ภัคเกษม โดยมี นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการสำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และ ผู้อำนวยการส่วนภายในประเทศ สำนักประสานงานการเมือง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็น กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
อำนาจหน้าที่ มีดังนี้
1. พิจารณาดำเนินการหรือประสานงานในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรหรือรัฐสภา ตามที่ได้รับนโยบายจากนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
2. ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและพรรคการเมืองร่วมรัฐบาล เพื่อให้มีความเข้าใจ และมีการลงมติที่สอดคล้องกันในเรื่องหรือญัตติใดๆ ในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา
3. พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงาน และมีมติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบหรือเห็นชอบแล้วแต่กรณี ก่อนแจ้งให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคร่วมรัฐบาลทราบและถือปฏิบัติ ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี
4. ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมรัฐสภา คณะกรรมการสามารถพิจารณาวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการตามข้อ 3. ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น
5. ให้คณะกรรมการมีอำนาจเชิญส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าชี้แจงข้อเท็จจริงและจัดส่งเอกสารข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ
6. วางระเบียบวิธีการประสานงานเพื่อให้เป็นไปตามคำสั่งนี้
7. ให้ประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งผู้ประสานงานหรือคณะอนุกรรมการ เพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงานในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา) เป็นผู้รวบรวมมติคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร ให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 13 มี.ค.2544
-สส-