ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. …. ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมดังนี้
1. ปรับปรุงคำนิยาม "ขายตรง" โดยขยายความให้กว้างยิ่งขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมการทำตลาดสินค้าหรือบริการต่อผู้บริโภค ไม่ว่าจะผ่านทางผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงชั้นเดียวหรือหลายชั้น และให้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้การทำนิติกรรมอื่นใดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้ด้วย
2. ปรับปรุงคำนิยาม "ผู้จำหน่ายอิสระ" ให้แตกต่างจาก "ตัวแทนขายตรง" เนื่องจากผู้จำหน่ายอิสระเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรง ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ เพื่อให้มีความชัดเจนระหว่าง "ผู้จำหน่ายอิสระ" กับ "ตัวแทนขายตรง" ซึ่งมีความผูกพันกับผู้ประกอบธุรกิจขายตรง
3. ปรับปรุงอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะจะต้องมีเหตุพิเศษในการเข้าไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อมิให้ขัดแย้งกับมาตรา 238 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
4. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการโดยกำหนดให้ประธานกรรมการจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการขายตรงและตลาดแบบตรง โดยคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเดิมได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
5. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่จำเป็นต้องเฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งตามหลักการของร่างเดิมผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงต้องเฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องการค้าโดยเสรี
6. เพิ่มมาตรการคุ้มครองตัวแทนขายตรงที่มิใช่ลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจขายตรงที่นำสินค้าไปเสนอขายต่อผู้บริโภคว่าจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับผู้จำหน่ายอิสระ
7. กำหนดให้ผู้จำหน่ายอิสระที่นำสินค้าหรือบริการไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภคต้องดำเนินการตามเงื่อนไขและแผนการขายของผู้ประกอบธุรกิจขายตรงด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติผู้จำหน่ายอิสระจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงให้เป็นผู้จำหน่ายอิสระในสังกัดของผู้ประกอบธุรกิจขายตรง อันจะทำให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองจากการเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้จำหน่ายอิสระ
8. กำหนดให้ข้อความในการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการธุรกิจตลาดแบบตรง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 27) และให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณามาใช้บังคับกับการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงด้วยโดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความคล่องตัวตามสภาวการณ์
9. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลิกสัญญาซื้อสินค้าหรือบริการจากการขายตรงหรือจากการขายผ่านตลาดแบบตรงภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับสินค้าหรือบริการ โดยกำหนดให้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการคืนสินค้าหรือบริการ และให้มีการตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นสัญญาซื้อขายสินค้าหรือบริการบางประเภทที่ผู้บริโภคไม่อาจเลิกสัญญาได้ ทั้งนี้ เนื่องจากการซื้อสินค้าหรือบริการบางประเภท เช่น Computer Software หรือข้อมูล (Electronic Data) นั้น ผู้บริโภคสามารถคัดลอกสำเนาได้โดยไม่ทำให้สินค้าเปลี่ยนสภาพ การให้ผู้บริโภคคืนสินค้าประเภทดังกล่าวได้จะไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง10. เพิ่มบทบาทกำหนดโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการหรืออนุกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อให้อำนาจของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการในการสั่งให้บุคคลมาให้ข้อเท็จจริง หรือให้ส่งเอกสาร มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย นอกจากนั้น ได้ปรับปรุงบทกำหนดโทษ โดยจัดกลุ่มบทบัญญัติของอัตราโทษที่เท่ากันให้รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบร่างพระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. …. ตามที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมดังนี้
1. ปรับปรุงคำนิยาม "ขายตรง" โดยขยายความให้กว้างยิ่งขึ้น เพื่อให้ครอบคลุมการทำตลาดสินค้าหรือบริการต่อผู้บริโภค ไม่ว่าจะผ่านทางผู้จำหน่ายอิสระหรือตัวแทนขายตรงชั้นเดียวหรือหลายชั้น และให้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดให้การทำนิติกรรมอื่นใดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัตินี้ด้วย
2. ปรับปรุงคำนิยาม "ผู้จำหน่ายอิสระ" ให้แตกต่างจาก "ตัวแทนขายตรง" เนื่องจากผู้จำหน่ายอิสระเป็นผู้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรง ซึ่งได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ เพื่อให้มีความชัดเจนระหว่าง "ผู้จำหน่ายอิสระ" กับ "ตัวแทนขายตรง" ซึ่งมีความผูกพันกับผู้ประกอบธุรกิจขายตรง
3. ปรับปรุงอำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะจะต้องมีเหตุพิเศษในการเข้าไปด้วย ทั้งนี้ เพื่อมิให้ขัดแย้งกับมาตรา 238 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
4. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการโดยกำหนดให้ประธานกรรมการจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการขายตรงและตลาดแบบตรง โดยคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งเดิมได้กำหนดให้นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ
5. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง ตามพระราชบัญญัตินี้ไม่จำเป็นต้องเฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ซึ่งตามหลักการของร่างเดิมผู้ประกอบธุรกิจขายตรงหรือตลาดแบบตรงต้องเฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับเรื่องการค้าโดยเสรี
6. เพิ่มมาตรการคุ้มครองตัวแทนขายตรงที่มิใช่ลูกจ้างของผู้ประกอบธุรกิจขายตรงที่นำสินค้าไปเสนอขายต่อผู้บริโภคว่าจะได้รับการคุ้มครองเช่นเดียวกับผู้จำหน่ายอิสระ
7. กำหนดให้ผู้จำหน่ายอิสระที่นำสินค้าหรือบริการไปเสนอขายตรงต่อผู้บริโภคต้องดำเนินการตามเงื่อนไขและแผนการขายของผู้ประกอบธุรกิจขายตรงด้วย ทั้งนี้ เนื่องจากในทางปฏิบัติผู้จำหน่ายอิสระจะต้องได้รับอนุมัติจากผู้ประกอบธุรกิจขายตรงให้เป็นผู้จำหน่ายอิสระในสังกัดของผู้ประกอบธุรกิจขายตรง อันจะทำให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองจากการเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้จำหน่ายอิสระ
8. กำหนดให้ข้อความในการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบการธุรกิจตลาดแบบตรง ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง (ร่างมาตรา 27) และให้นำบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคในด้านการโฆษณามาใช้บังคับกับการสื่อสารข้อมูลเพื่อเสนอขายสินค้าหรือบริการของผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรงด้วยโดยอนุโลม ทั้งนี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายมีความคล่องตัวตามสภาวการณ์
9. ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลิกสัญญาซื้อสินค้าหรือบริการจากการขายตรงหรือจากการขายผ่านตลาดแบบตรงภายในเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับสินค้าหรือบริการ โดยกำหนดให้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการคืนสินค้าหรือบริการ และให้มีการตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นสัญญาซื้อขายสินค้าหรือบริการบางประเภทที่ผู้บริโภคไม่อาจเลิกสัญญาได้ ทั้งนี้ เนื่องจากการซื้อสินค้าหรือบริการบางประเภท เช่น Computer Software หรือข้อมูล (Electronic Data) นั้น ผู้บริโภคสามารถคัดลอกสำเนาได้โดยไม่ทำให้สินค้าเปลี่ยนสภาพ การให้ผู้บริโภคคืนสินค้าประเภทดังกล่าวได้จะไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบธุรกิจตลาดแบบตรง10. เพิ่มบทบาทกำหนดโทษสำหรับผู้ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการหรืออนุกรรมการ ทั้งนี้ เพื่อให้อำนาจของคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการในการสั่งให้บุคคลมาให้ข้อเท็จจริง หรือให้ส่งเอกสาร มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย นอกจากนั้น ได้ปรับปรุงบทกำหนดโทษ โดยจัดกลุ่มบทบัญญัติของอัตราโทษที่เท่ากันให้รวมอยู่ในกลุ่มเดียวกันด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-