คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาเพิ่มสาขาแห่งการประกอบโรคศิลปะ (ร่างพระราชกฤษฎีกา รวม 6 ฉบับ) ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เนื่องจากการประกอบโรคศิลปะในสาขากิจกรรมบำบัด สาขารังสีเทคนิคสาขาโสตสัมผัสวิทยา สาขาการแก้ไขการพูด สาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก และสาขาเวชกิจฉุกเฉิน รวม 6 สาขา ได้มีการเปิดสอนอยู่แล้วในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และมีการให้บริการแก่ผู้ป่วยมานานหลายปีแล้ว โดยทบวงมหาวิทยาลัย และสถาบันวิชาการอื่น ๆ ร่วมกันวางมาตรฐานและควบคุมดูแลหลักสูตรการเรียนการสอนดังกล่าว แต่การประกอบอาชีพทางด้านโรคศิลปะทั้ง 6 สาขา นั้น ยังไม่มีกฎหมายรองรับหรือการออกใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะ กระทรวงสาธารณสุขในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแลการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 จึงได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาเพิ่มสาขาแห่งการประกอบโรคศิลปะ รวม 6 ฉบับ เพื่อให้มีการจัดระบบการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ การเพิ่มคุณภาพการให้บริการ และการควบคุมกำกับมิให้ออกนอกองค์ความรู้วิชาที่ควรจะเป็น ซึ่งในการออกใบอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะจะมีคณะกรรมการวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ และทบวงมหาวิทยาลัย แห่งละ 1 คน รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิไม่เกิน 3 คน และจากการเลือกตั้งของผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขานั้น ๆ เป็นผู้พิจารณา จึงเห็นว่าในกรณีที่ผู้ประกอบวิชาชีพ ทั้ง 6 สาขา อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ถ้าคณะกรรมการวิชาชีพมีมติอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะได้ ก็สามารถขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตได้
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติหลักการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 6 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขากิจกรรมบำบัด พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "กิจกรรมบำบัด"
1.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัด ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่งกรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
1.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด
1.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "รังสีเทคนิค"
2.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
2.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค
2.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
3. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขาโสตสัมผัสวิทยา พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "โสตสัมผัสวิทยา"
3.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาโสตสัมผัสวิทยา ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาโสตสัมผัสวิทยา ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
3.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาโสตสัมผัสวิทยา
3.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
4. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขาการแก้ไขการพูด พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "สาขาการแก้ไขการพูด"
4.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแก้ไขการพูด ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแก้ไขการพูด ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
4.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแก้ไขการพูด
4.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
5. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
5.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก"
5.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
5.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
5.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
6. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขาเวชกิจฉุกเฉิน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
6.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "เวชกิจฉุกเฉิน" "ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉิน"
6.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาเวชกิจฉุกเฉิน ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกิจฉุกเฉิน ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
6.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกิจฉุกเฉิน
6.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 มีข้อสังเกตว่า การประกอบโรคศิลปะเป็นการประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับสุขอนามัยของมนุษย์ หากจะไม่ให้มีการประเมิน หรือตรวจสอบผู้ประกอบวิชาชีพนี้เลย ก็ไม่เหมาะสม แต่ควรคำนึงถึงผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้อยู่เดิมด้วย ดังนั้น จึงน่าจะกำหนดให้มีบทเฉพาะกาลเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทั้ง 6 สาขา อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ยังคงประกอบวิชาชีพไปได้ระยะเวลาหนึ่งในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการประกอบวิชาชีพและการรักษาพยาบาลผู้ป่วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติหลักการตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการฯ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาทั้ง 6 ฉบับ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขากิจกรรมบำบัด พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "กิจกรรมบำบัด"
1.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขากิจกรรมบำบัด ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่งกรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
1.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขากิจกรรมบำบัด
1.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขารังสีเทคนิค พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "รังสีเทคนิค"
2.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขารังสีเทคนิค ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิคให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
2.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขารังสีเทคนิค
2.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
3. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขาโสตสัมผัสวิทยา พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
3.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "โสตสัมผัสวิทยา"
3.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาโสตสัมผัสวิทยา ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาโสตสัมผัสวิทยา ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
3.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาโสตสัมผัสวิทยา
3.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
4. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขาการแก้ไขการพูด พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
4.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "สาขาการแก้ไขการพูด"
4.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแก้ไขการพูด ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแก้ไขการพูด ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
4.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแก้ไขการพูด
4.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
5. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
5.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "เทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก"
5.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
5.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก
5.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
6. ร่างพระราชกฤษฎีกาสาขาเวชกิจฉุกเฉิน พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
6.1 กำหนดคำนิยามคำว่า "เวชกิจฉุกเฉิน" "ผู้บาดเจ็บและผู้ป่วยฉุกเฉิน"
6.2 ให้มีคณะกรรมการวิชาชีพสาขาเวชกิจฉุกเฉิน ประกอบด้วย กรรมการวิชาชีพโดยตำแหน่ง กรรมการวิชาชีพซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และกรรมการวิชาชีพซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกิจฉุกเฉิน ให้ผู้อำนวยการกองการประกอบโรคศิลปะเป็นกรรมการและเลขานุการ กำหนดคุณสมบัติของกรรมการและวาระการดำรงตำแหน่ง
6.3 กำหนดคุณสมบัติของผู้ขอขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาเวชกิจฉุกเฉิน
6.4 ให้ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเก้าสิบวัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 4 มีข้อสังเกตว่า การประกอบโรคศิลปะเป็นการประกอบวิชาชีพเกี่ยวกับสุขอนามัยของมนุษย์ หากจะไม่ให้มีการประเมิน หรือตรวจสอบผู้ประกอบวิชาชีพนี้เลย ก็ไม่เหมาะสม แต่ควรคำนึงถึงผู้ที่ประกอบวิชาชีพนี้อยู่เดิมด้วย ดังนั้น จึงน่าจะกำหนดให้มีบทเฉพาะกาลเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพทั้ง 6 สาขา อยู่ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ยังคงประกอบวิชาชีพไปได้ระยะเวลาหนึ่งในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอุปสรรคในการประกอบวิชาชีพและการรักษาพยาบาลผู้ป่วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-