ทำเนียบรัฐบาล--30 ม.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงด้วยปืนเป็นวิธีการฉีดสารพิษ) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2543 ให้กระทรวงมหาดไทยนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการด้านอาชญาวิทยา ทัณฑวิทยา และแพทยศาสตร์ ให้กว้างขวางและหลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีปฏิบัติในการประหารชีวิตของนานาอายรประเทศ และผลกระทบทางด้านสิทธิมนุษยชน ศีลธรรมจรรยา และการแพทย์ โดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อความรู้สึกและการยอมรับของสังคมและผลกระทบที่มีต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น ทั้งนี้ ควรมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบด้วย
กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยในหลักการ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำในร่างกฎหมายว่าควรกำหนดในลักษณะให้ใช้ได้ตลอดไป และไม่ควรกำหนดวิธีการไว้ในร่างฯ นอกจากนี้จากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและการสัมมนาทางวิชาการพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการประหารชีวิตโดยการฉีดสารพิษ ทั้งนี้ ต้องมีการปรับในเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดสารพิษให้ตาย (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 19)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ม.ค. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงด้วยปืนเป็นวิธีการฉีดสารพิษ) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2543 ให้กระทรวงมหาดไทยนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการด้านอาชญาวิทยา ทัณฑวิทยา และแพทยศาสตร์ ให้กว้างขวางและหลากหลายยิ่งขึ้น เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีปฏิบัติในการประหารชีวิตของนานาอายรประเทศ และผลกระทบทางด้านสิทธิมนุษยชน ศีลธรรมจรรยา และการแพทย์ โดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อความรู้สึกและการยอมรับของสังคมและผลกระทบที่มีต่อการปลูกถ่ายอวัยวะ เป็นต้น ทั้งนี้ ควรมีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนประกอบด้วย
กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวแล้ว โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยในหลักการ โดยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้ถ้อยคำในร่างกฎหมายว่าควรกำหนดในลักษณะให้ใช้ได้ตลอดไป และไม่ควรกำหนดวิธีการไว้ในร่างฯ นอกจากนี้จากการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและการสัมมนาทางวิชาการพบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการประหารชีวิตโดยการฉีดสารพิษ ทั้งนี้ ต้องมีการปรับในเรื่องความโปร่งใสในการดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญคือ ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดสารพิษให้ตาย (ร่างมาตรา 3 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 19)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ม.ค. 2544--
-สส-