ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากการกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ได้ใช้มานานแล้ว และไม่เหมาะกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกในองค์การการค้าโลก ทำให้ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถใช้มาตรการทางด้านภาษีในการกีดกันทางการค้าได้ จึงส่งผลให้มีการนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรได้ง่ายขึ้น ประกอบกับปัจจุบันได้มีโรคระบาดในสัตว์ชนิดแปลกใหม่ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น และสร้างความสูญเสียให้กับประเทศต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้การควบคุมโรคระบาดจากการนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้า ออก หรือผ่านราชอาณาจักรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นการปกป้องคุ้มครองชีวิต สุขภาพและสุขอนามัยของประชาชนและสัตว์ภายในประเทศ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศผู้นำเข้าสัตว์ ซากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ส่งออกจากประเทศไทยในด้านความปลอดภัยจากโรคระบาดหรือการปราศจากสารหรือสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายใด ๆ ที่เป็นข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
2. กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอ ให้ยื่นก่อนนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
3. กำหนดให้เจ้าของอากาศยานหรือเจ้าของเรือจะต้องแจ้งรายการสินค้า ประเภทสินค้า ประเภทสัตว์หรือซากสัตว์ที่บรรทุกมากับอากาศยานหรือเรือนั้นให้กับสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าที่นำเข้าทราบก่อนที่อากาศยานหรือเรือนั้นจะเดินทางมาถึงท่าเข้า
4. ในกรณีนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรโดยยานพาหนะใด ๆ จะนำสัตว์หรือซากสัตว์นั้นลงจากยานพาหนะได้ต่อเมื่อสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าที่นำเข้านั้นได้ตรวจและอนุญาตแล้ว และต้องนำสัตว์หรือซากสัตว์นั้นไปยังสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ เพื่อให้สัตวแพทย์ประจำท่าเข้าตรวจโรค และทำลายเชื้อโรคตามระเบียบของกรมปศุสัตว์
5. ในกรณีสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าที่นำเข้ามีความสงสัยโดยมีเหตุอันสมควรว่าสัตว์หรือซากสัตว์ที่นำเข้ารายใดมีเชื้อโรคระบาดหรือมาจากฝูงที่เป็นโรคระบาด หรือไม่มีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์หรือหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ กำกับมาพร้อมกับสัตว์หรือซากสัตว์ที่นำเข้า ให้สัตวแพทย์ประจำท่าเข้ากักสัตว์หรือซากสัตว์นั้นไว้เพื่อพิสูจน์โดยให้เจ้าของเป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายเอง
6. กำหนดให้การนำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรต้องยื่นคำขอต่อสัตว์แพทย์ประจำท่าออกถ้าเป็นสัตว์ที่ต้องมีตั๋วรูปพรรณต้องแนบไปกับคำขอด้วย และให้นำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ของท่าออก หรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์เพื่อการส่งออกที่กรมปศุสัตว์รับรอง หรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ที่สัตวแพทย์ประจำท่าออกกำหนด เพื่อให้สัตวแพทย์ประจำท่าออกตรวจโรคและทำลายเชื้อโรค หรือจัดการอย่างอื่นใดตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-
ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 (กำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอว่า เนื่องจากการกำหนดวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการนำเข้า นำออก หรือนำผ่านราชอาณาจักร ซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ได้ใช้มานานแล้ว และไม่เหมาะกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปเช่น การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกในองค์การการค้าโลก ทำให้ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถใช้มาตรการทางด้านภาษีในการกีดกันทางการค้าได้ จึงส่งผลให้มีการนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรได้ง่ายขึ้น ประกอบกับปัจจุบันได้มีโรคระบาดในสัตว์ชนิดแปลกใหม่ที่ร้ายแรงเกิดขึ้น และสร้างความสูญเสียให้กับประเทศต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้การควบคุมโรคระบาดจากการนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้า ออก หรือผ่านราชอาณาจักรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป และเป็นการปกป้องคุ้มครองชีวิต สุขภาพและสุขอนามัยของประชาชนและสัตว์ภายในประเทศ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศผู้นำเข้าสัตว์ ซากสัตว์หรือผลิตภัณฑ์สัตว์ที่ส่งออกจากประเทศไทยในด้านความปลอดภัยจากโรคระบาดหรือการปราศจากสารหรือสิ่งปนเปื้อนที่เป็นอันตรายใด ๆ ที่เป็นข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าว ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยกเลิกกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2512) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499
2. กำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอ ให้ยื่นก่อนนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักรไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
3. กำหนดให้เจ้าของอากาศยานหรือเจ้าของเรือจะต้องแจ้งรายการสินค้า ประเภทสินค้า ประเภทสัตว์หรือซากสัตว์ที่บรรทุกมากับอากาศยานหรือเรือนั้นให้กับสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าที่นำเข้าทราบก่อนที่อากาศยานหรือเรือนั้นจะเดินทางมาถึงท่าเข้า
4. ในกรณีนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรโดยยานพาหนะใด ๆ จะนำสัตว์หรือซากสัตว์นั้นลงจากยานพาหนะได้ต่อเมื่อสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าที่นำเข้านั้นได้ตรวจและอนุญาตแล้ว และต้องนำสัตว์หรือซากสัตว์นั้นไปยังสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ เพื่อให้สัตวแพทย์ประจำท่าเข้าตรวจโรค และทำลายเชื้อโรคตามระเบียบของกรมปศุสัตว์
5. ในกรณีสัตวแพทย์ประจำท่าเข้าที่นำเข้ามีความสงสัยโดยมีเหตุอันสมควรว่าสัตว์หรือซากสัตว์ที่นำเข้ารายใดมีเชื้อโรคระบาดหรือมาจากฝูงที่เป็นโรคระบาด หรือไม่มีหนังสือรับรองสุขภาพสัตว์หรือหนังสือรับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ กำกับมาพร้อมกับสัตว์หรือซากสัตว์ที่นำเข้า ให้สัตวแพทย์ประจำท่าเข้ากักสัตว์หรือซากสัตว์นั้นไว้เพื่อพิสูจน์โดยให้เจ้าของเป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายเอง
6. กำหนดให้การนำสัตว์หรือซากสัตว์ออกนอกราชอาณาจักรต้องยื่นคำขอต่อสัตว์แพทย์ประจำท่าออกถ้าเป็นสัตว์ที่ต้องมีตั๋วรูปพรรณต้องแนบไปกับคำขอด้วย และให้นำสัตว์หรือซากสัตว์ไปยังสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ของท่าออก หรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์เพื่อการส่งออกที่กรมปศุสัตว์รับรอง หรือสถานกักกันสัตว์หรือที่พักซากสัตว์ที่สัตวแพทย์ประจำท่าออกกำหนด เพื่อให้สัตวแพทย์ประจำท่าออกตรวจโรคและทำลายเชื้อโรค หรือจัดการอย่างอื่นใดตามระเบียบของกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้ ให้เจ้าของเป็นผู้ควบคุมดูแลรับผิดชอบและออกค่าใช้จ่ายเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-