ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
3. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การจ้างบัณฑิตอาสา ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ให้สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการจ้างบัณฑิตอาสาเป็นการดำเนินการตามโครงการชั่วคราว และในระยะยาวแล้วขอให้เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของบัณฑิตอาสาหลังจากสิ้นสุดการจ้าง
2. การจัดระบบการติดตามและประเมินผล
2.1 ระบบการติดตามผล ได้วางระบบการติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และการรายงานเป็นรายเดือนและรายงวด ดังนี้
- การติดตามผลการดำเนินงานรายเดือน โดยให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดรายงานผลการดำเนินงานตามขั้นตอนและปัญหาอุปสรรคตามแบบที่กำหนดเป็นประจำทุกเดือน เพื่อสรุปเป็นภาพรวมของโครงการ
- การติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานรายงวดทุก 4 เดือน โดยให้บัณฑิตอาสา จำนวน 750 อัตรา ซึ่งอยู่ในสังกัดสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ออกติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทุกราย โดยจัดทำเป็นรายงานเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบเป็นประจำทุก 4 เดือน
2.2 ระบบการติดตามและประเมินผล ได้วางระบบการติดตามและประเมินผลโครงการไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนี้
- การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ (Bench mark) เพื่อใช้สำหรับเป็นฐานในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง หรือเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และผลกระทบในระหว่างการดำเนินการโครงการฯ หรือหลังจากโครงการฯ สิ้นสุด กำหนดนำเสนอในปี 2543 จำนวน 2 ฉบับ คือ ระบบการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปี 2541 จำนวน 1 ฉบับ และรายงานการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปี 2542 อีก 1 ฉบับ
- การประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ (On-going evaluation) โดยจัดทำเป็นรายงานความก้าวหน้าในการศึกษาผลการดำเนินงานเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ (Progress Report) แต่ละปี ปีละ 1 ฉบับ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลได้เบื้องต้นของโครงการ รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด กำหนดนำเสนอภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี
- การประเมินผลระยะหลังจากสิ้นสุดโครงการ (Ex-post evaluation) โดยจัดทำเป็นรายงานการศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ (Final Report) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลสัมฤทธิ์ และผลกระทบของโครงการฯ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และความยั่งยืนของโครงการ
3. ผลการดำเนินงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลือกพื้นที่และเกษตรกรร่วมโครงการในปี 2541 และปี 2542 รวม 14,871 ราย แยกเป็น
กลุ่มที่ 1 กลุ่มแปลงสาธิตทดลอง (กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเต็มรูปแบบและได้รับการสนับสนุนสระน้ำเต็มสัดส่วน 30% ของพื้นที่ดำเนินการ และได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต รายละไม่เกิน 5,000 บาท) จำนวน 2,983 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 20.06 ของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มเครือข่ายโครงการ (กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนสระน้ำบางส่วน และได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต รายละไม่เกิน 5,000 บาท) จำนวน 3,831 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 25.76 ของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
กลุ่มที่ 3 กลุ่มริเริ่มโครงการ (กลุ่มเกษตรกรที่รับเงินสนับสนุนปัจจัยการผลิต รายละไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งมีสระน้ำอยู่แล้ว) จำนวน 8,057 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 54.18 ของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ก.ค. 2543--
-สส-
3. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การจ้างบัณฑิตอาสา ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัด ให้สร้างความเข้าใจที่ชัดเจนกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่าการจ้างบัณฑิตอาสาเป็นการดำเนินการตามโครงการชั่วคราว และในระยะยาวแล้วขอให้เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่เพื่อรองรับงานที่อยู่ในความรับผิดชอบของบัณฑิตอาสาหลังจากสิ้นสุดการจ้าง
2. การจัดระบบการติดตามและประเมินผล
2.1 ระบบการติดตามผล ได้วางระบบการติดตามผลการดำเนินงาน ปัญหา อุปสรรค และการรายงานเป็นรายเดือนและรายงวด ดังนี้
- การติดตามผลการดำเนินงานรายเดือน โดยให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดรายงานผลการดำเนินงานตามขั้นตอนและปัญหาอุปสรรคตามแบบที่กำหนดเป็นประจำทุกเดือน เพื่อสรุปเป็นภาพรวมของโครงการ
- การติดตามและตรวจสอบผลการดำเนินงานรายงวดทุก 4 เดือน โดยให้บัณฑิตอาสา จำนวน 750 อัตรา ซึ่งอยู่ในสังกัดสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ออกติดตามตรวจสอบผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทุกราย โดยจัดทำเป็นรายงานเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทราบเป็นประจำทุก 4 เดือน
2.2 ระบบการติดตามและประเมินผล ได้วางระบบการติดตามและประเมินผลโครงการไว้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ดังนี้
- การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการฯ (Bench mark) เพื่อใช้สำหรับเป็นฐานในการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลง หรือเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และผลกระทบในระหว่างการดำเนินการโครงการฯ หรือหลังจากโครงการฯ สิ้นสุด กำหนดนำเสนอในปี 2543 จำนวน 2 ฉบับ คือ ระบบการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปี 2541 จำนวน 1 ฉบับ และรายงานการศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกษตรกรเข้าร่วมโครงการปี 2542 อีก 1 ฉบับ
- การประเมินผลระหว่างดำเนินโครงการ (On-going evaluation) โดยจัดทำเป็นรายงานความก้าวหน้าในการศึกษาผลการดำเนินงานเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ (Progress Report) แต่ละปี ปีละ 1 ฉบับ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลได้เบื้องต้นของโครงการ รวมทั้งวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างดำเนินโครงการเพื่อหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด กำหนดนำเสนอภายในเดือนสิงหาคมของทุกปี
- การประเมินผลระยะหลังจากสิ้นสุดโครงการ (Ex-post evaluation) โดยจัดทำเป็นรายงานการศึกษาผลการดำเนินงานโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ (Final Report) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลสัมฤทธิ์ และผลกระทบของโครงการฯ ด้านเศรษฐกิจ สังคม และความยั่งยืนของโครงการ
3. ผลการดำเนินงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้คัดเลือกพื้นที่และเกษตรกรร่วมโครงการในปี 2541 และปี 2542 รวม 14,871 ราย แยกเป็น
กลุ่มที่ 1 กลุ่มแปลงสาธิตทดลอง (กลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเต็มรูปแบบและได้รับการสนับสนุนสระน้ำเต็มสัดส่วน 30% ของพื้นที่ดำเนินการ และได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต รายละไม่เกิน 5,000 บาท) จำนวน 2,983 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 20.06 ของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มเครือข่ายโครงการ (กลุ่มเกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนสระน้ำบางส่วน และได้รับการสนับสนุนปัจจัยการผลิต รายละไม่เกิน 5,000 บาท) จำนวน 3,831 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 25.76 ของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
กลุ่มที่ 3 กลุ่มริเริ่มโครงการ (กลุ่มเกษตรกรที่รับเงินสนับสนุนปัจจัยการผลิต รายละไม่เกิน 5,000 บาท ซึ่งมีสระน้ำอยู่แล้ว) จำนวน 8,057 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 54.18 ของเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ก.ค. 2543--
-สส-