ทำเนียบรัฐบาล--8 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
26. เรื่อง การแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนตามมาตรการระยะยาว
คณะรัฐมนตรีพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการระยะยาวในการแก้ไขปัญหากลุ่มเขื่อน และกลุ่มปัญหาป่าไม้และที่ดิน ของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตามที่คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนเสนอ ตามความเห็นของที่ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมที่ดิน และกรมป่าไม้ ดังนี้
1. ข้อเสนอมาตรการระยะยาวกลุ่มปัญหาเขื่อน ของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ (6 เรื่อง)
1. การศึกษาผลกระทบต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบด้านสังคมมากกว่าเดิม และการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต้องทำควบคู่ไปกับการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ โดยให้มีหน่วยงานกลางเป็นผู้ว่าจ้างและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ หน่วยงานกลางทำหน้าที่กำกับการศึกษา โดยมีตัวแทนชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน เข้าร่วมเป็นกรรมการ
ความเห็นของหน่วยงาน
เห็นด้วยในการศึกษาผลกระทบ ต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบด้านสังคมมากกว่าเดิม โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นผู้ว่าจ้าง และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ในการศึกษาให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนตามวิธีการและกระบวนการเรื่องประเด็นการศึกษาผลกระทบกรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง ตามที่คณะกรรมการกลางฯ เสนอ
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
2. การประเมินและชดเชยผลกระทบต้องครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จริงเป็นสำคัญ ทั้งความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รายได้และทรัพยากรที่เป็นฐานชีวิตของชุมชนที่เกิดขึ้นในขณะนั้นและในอนาคต
ความเห็นของหน่วยงาน
1) เห็นด้วยให้การประเมินและชดเชยผลกระทบต้องครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
2) สำหรับการชดเชยผลกระทบความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รายได้ และทรัพยากรที่เป็นฐานชีวิตของชุมชนที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น และในอนาคตให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 อย่างไรก็ตามหากราษฎรไม่เห็นด้วยกับการจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว ก็สามารถดำเนินการร้องเรียนได้โดยใช้กระบวนการของศาลปกครอง
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
3. ปรับปรุงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยให้ตัวแทนฝ่ายต่างๆ ของสังคมทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการ และทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการชดเชยผลกระทบ
ความเห็นของหน่วยงาน
1) ในการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 กำหนดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจำนวน 8 คน และในจำนวนนี้มีผู้แทนภาคเอกชนร่วมอยู่ด้วย จำนวน 4 คน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯได้เอื้ออำนวยให้เอกชนร่วมอยู่ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอยู่แล้ว และคณะกรรมการฯ จะครบวาระในปี 2544 ก็สามารถทบทวนและแต่งตั้งใหม่ได้
2) ส่วนการขอให้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการชดเชย เนื่องจากได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
4. แก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รอบด้านมากยิ่งขึ้น รวมถึงการปฏิรูปกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการชดเชยผลกระทบ
ความเห็นของหน่วยงาน
เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอ ขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้เริ่มดำเนินการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535ดังกล่าวแล้ว ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ (6 เรื่อง) ความเห็นของหน่วยงาน
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
5. จัดตั้งและพัฒนาองค์กรบริหารและจัดการลุ่มน้ำ (คณะกรรมการลุ่มน้ำ) ในลักษณะพหุภาคีที่มีตัวแทนส่วนราชการองค์กรชุมชนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในระดับลุ่มน้ำขนาดใหญ่จนถึงลุ่มน้ำขนาดเล็ก โดยเริ่มในลุ่มน้ำที่มีปัญหาก่อน
ความเห็นของหน่วยงาน
เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอ และขณะนี้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการในลุ่มน้ำที่มีปัญหาแล้ว เช่น ลุ่มน้ำปิงลุ่มน้ำมูลตอนบน และลุ่มน้ำป่าสัก
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
6. มีการวางแผนการจัดการลุ่มน้ำทั้งในลุ่มน้ำขนาดเล็ก กลาง ใหญ่โดยมีคณะกรรมการแบบพหุภาคีเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการให้แล้วเสร็จทั่วประเทศ
ความเห็นของหน่วยงาน
เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้กำหนดเป็นแผนงานให้มีการจัดทำแผนแม่บทหลังจากที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำแล้ว
2. ข้อเสนอมาตรการระยะยาวกลุ่มปัญหาป่าไม้และที่ดิน ของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
1. ให้รัฐบาลทบทวนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และใช้แนวทางที่ยอมรับให้คนอยู่กับป่า กันแนวเขตที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้านออกจากเขตป่าฯ โดยดำเนินการตามมติ ครม.เดิมที่เคยใช้ในการแก้ไขปัญหาทั้ง 4 กรณี ซึ่งชาวบ้านมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหา
ความเห็นของหน่วยงาน
1. ไม่เห็นชอบต่อการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และข้อเสนออื่น ๆ เพราะการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จะอำนวยประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาป่าไม้และปัญหาที่ดินทั้งในส่วนของประเทศชาติและราษฎรได้อย่างกว้างขวางเท่าเทียมกันทั่วประเทศ และถูกต้องเหมาะสมตามหลักการจัดการป่าไม้และที่ดินในเชิงอนุรักษ์ โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าเป็นการตอบสนองเฉพาะกลุ่มผู้เรียกร้องหรือราษฎรอื่นใด เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเข้าไปสำรวจโดยตรง และให้ราษฎรผู้เข้าครอบครองที่ดินมีส่วนร่วมในการพิสูจน์สิทธิของตนโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ กรณีราษฎรอยู่มาก่อนประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ ทางราชการก็จะให้ความช่วยเหลือให้อยู่ต่อไป หรือแม้ว่าอยู่ภายหลังการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ก็จะมีการจัดการอย่างเหมาะสม โดยราษฎรผู้นั้นจะยังคงได้รับการพิจารณาช่วยเหลือจากทางราชการเช่นกัน
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
2. ให้รัฐบาลทบทวนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องการรับรองถึงสิทธิชุมชนการให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการดูแลรักษา การใช้ประโยชน์
ความเห็นของหน่วยงาน
2. เห็นชอบเนื่องจากเป็นเรื่องที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมป่าไม้ได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-
26. เรื่อง การแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนตามมาตรการระยะยาว
คณะรัฐมนตรีพิจารณาข้อเสนอเกี่ยวกับมาตรการระยะยาวในการแก้ไขปัญหากลุ่มเขื่อน และกลุ่มปัญหาป่าไม้และที่ดิน ของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ตามที่คณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนเสนอ ตามความเห็นของที่ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี กรมที่ดิน และกรมป่าไม้ ดังนี้
1. ข้อเสนอมาตรการระยะยาวกลุ่มปัญหาเขื่อน ของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ (6 เรื่อง)
1. การศึกษาผลกระทบต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบด้านสังคมมากกว่าเดิม และการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต้องทำควบคู่ไปกับการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ โดยให้มีหน่วยงานกลางเป็นผู้ว่าจ้างและได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ หน่วยงานกลางทำหน้าที่กำกับการศึกษา โดยมีตัวแทนชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน เข้าร่วมเป็นกรรมการ
ความเห็นของหน่วยงาน
เห็นด้วยในการศึกษาผลกระทบ ต้องให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบด้านสังคมมากกว่าเดิม โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเป็นผู้ว่าจ้าง และได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ในการศึกษาให้ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนตามวิธีการและกระบวนการเรื่องประเด็นการศึกษาผลกระทบกรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง ตามที่คณะกรรมการกลางฯ เสนอ
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
2. การประเมินและชดเชยผลกระทบต้องครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง และคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จริงเป็นสำคัญ ทั้งความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รายได้และทรัพยากรที่เป็นฐานชีวิตของชุมชนที่เกิดขึ้นในขณะนั้นและในอนาคต
ความเห็นของหน่วยงาน
1) เห็นด้วยให้การประเมินและชดเชยผลกระทบต้องครอบคลุมความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
2) สำหรับการชดเชยผลกระทบความสูญเสียทางเศรษฐกิจ รายได้ และทรัพยากรที่เป็นฐานชีวิตของชุมชนที่จะเกิดขึ้นในขณะนั้น และในอนาคตให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 อย่างไรก็ตามหากราษฎรไม่เห็นด้วยกับการจ่ายค่าชดเชยดังกล่าว ก็สามารถดำเนินการร้องเรียนได้โดยใช้กระบวนการของศาลปกครอง
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
3. ปรับปรุงคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ โดยให้ตัวแทนฝ่ายต่างๆ ของสังคมทำหน้าที่ในการพิจารณาอนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ก่อนการตัดสินใจดำเนินโครงการ และทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการชดเชยผลกระทบ
ความเห็นของหน่วยงาน
1) ในการปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 กำหนดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจำนวน 8 คน และในจำนวนนี้มีผู้แทนภาคเอกชนร่วมอยู่ด้วย จำนวน 4 คน ซึ่งตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯได้เอื้ออำนวยให้เอกชนร่วมอยู่ในคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอยู่แล้ว และคณะกรรมการฯ จะครบวาระในปี 2544 ก็สามารถทบทวนและแต่งตั้งใหม่ได้
2) ส่วนการขอให้ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ให้เป็นผู้จัดการเกี่ยวกับการชดเชย เนื่องจากได้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบดำเนินการในเรื่องดังกล่าวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการ
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
4. แก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ให้สอดคล้องกับความเป็นจริงและครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อมที่รอบด้านมากยิ่งขึ้น รวมถึงการปฏิรูปกฎหมาย และระเบียบเกี่ยวกับการชดเชยผลกระทบ
ความเห็นของหน่วยงาน
เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอ ขณะนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้เริ่มดำเนินการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535ดังกล่าวแล้ว ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ (6 เรื่อง) ความเห็นของหน่วยงาน
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
5. จัดตั้งและพัฒนาองค์กรบริหารและจัดการลุ่มน้ำ (คณะกรรมการลุ่มน้ำ) ในลักษณะพหุภาคีที่มีตัวแทนส่วนราชการองค์กรชุมชนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒิทั้งในระดับลุ่มน้ำขนาดใหญ่จนถึงลุ่มน้ำขนาดเล็ก โดยเริ่มในลุ่มน้ำที่มีปัญหาก่อน
ความเห็นของหน่วยงาน
เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอ และขณะนี้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้เริ่มดำเนินการในลุ่มน้ำที่มีปัญหาแล้ว เช่น ลุ่มน้ำปิงลุ่มน้ำมูลตอนบน และลุ่มน้ำป่าสัก
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
6. มีการวางแผนการจัดการลุ่มน้ำทั้งในลุ่มน้ำขนาดเล็ก กลาง ใหญ่โดยมีคณะกรรมการแบบพหุภาคีเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการให้แล้วเสร็จทั่วประเทศ
ความเห็นของหน่วยงาน
เห็นชอบด้วยกับข้อเสนอ ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติได้กำหนดเป็นแผนงานให้มีการจัดทำแผนแม่บทหลังจากที่ได้จัดตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำแล้ว
2. ข้อเสนอมาตรการระยะยาวกลุ่มปัญหาป่าไม้และที่ดิน ของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
1. ให้รัฐบาลทบทวนมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และใช้แนวทางที่ยอมรับให้คนอยู่กับป่า กันแนวเขตที่อยู่อาศัยและที่ทำกินของชาวบ้านออกจากเขตป่าฯ โดยดำเนินการตามมติ ครม.เดิมที่เคยใช้ในการแก้ไขปัญหาทั้ง 4 กรณี ซึ่งชาวบ้านมีส่วนร่วมในกระบวนการแก้ไขปัญหา
ความเห็นของหน่วยงาน
1. ไม่เห็นชอบต่อการขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 และข้อเสนออื่น ๆ เพราะการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 จะอำนวยประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาป่าไม้และปัญหาที่ดินทั้งในส่วนของประเทศชาติและราษฎรได้อย่างกว้างขวางเท่าเทียมกันทั่วประเทศ และถูกต้องเหมาะสมตามหลักการจัดการป่าไม้และที่ดินในเชิงอนุรักษ์ โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าเป็นการตอบสนองเฉพาะกลุ่มผู้เรียกร้องหรือราษฎรอื่นใด เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเข้าไปสำรวจโดยตรง และให้ราษฎรผู้เข้าครอบครองที่ดินมีส่วนร่วมในการพิสูจน์สิทธิของตนโดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ กรณีราษฎรอยู่มาก่อนประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ ทางราชการก็จะให้ความช่วยเหลือให้อยู่ต่อไป หรือแม้ว่าอยู่ภายหลังการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ก็จะมีการจัดการอย่างเหมาะสม โดยราษฎรผู้นั้นจะยังคงได้รับการพิจารณาช่วยเหลือจากทางราชการเช่นกัน
ข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางฯ
2. ให้รัฐบาลทบทวนแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในเรื่องการรับรองถึงสิทธิชุมชนการให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการดูแลรักษา การใช้ประโยชน์
ความเห็นของหน่วยงาน
2. เห็นชอบเนื่องจากเป็นเรื่องที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกรมป่าไม้ได้ดำเนินการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-