คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและผู้ยากจน งวดแรก (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543-มีนาคม 2544) ปีงบประมาณ 2544 ซึ่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนเห็นชอบแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. การอนุมัติเงินกู้
1.1 อนุมัติเงินให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมเฉพาะจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกตรกรและผู้ยากจนด้านหนี้สินและที่ดิน พ.ศ. 2536 จำนวน 545 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 68,840,158 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยเหลือเนื้อที่ 5,509-3-69.6 ไร่ สำหรับเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2528 ยังไม่มีการอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนฯ เนื่องจากในปีงบประมาณ 2543 เงินทุนหมุนเวียนฯ หมด และมีเกษตรกรที่รอขอความช่วยเหลือ จำนวน 1,663 ราย ซึ่งในปีงบประมาณ 2544 ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 65 ล้านบาท จึงได้แจ้งเกษตรกรผู้รอขอความช่วยเหลือทุกรายยืนยันการขอรับความช่วยเหลือ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการอนุมัติ
1.2 ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน (31 มีนาคม 2543) ได้มีการอนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมทั้ง 3 กองทุน รวมทั้งสิ้นจำนวน 14,971 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติ 1,863,060,993.22 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยเหลือเนื้อที่ 158,158-2-91.6 ไร่
2. การรับชำระคืนเงินกู้
ณ เดือนมีนาคม 2544 ทั้ง 3 กองทุน มียอดหนี้คงค้างและถึงกำหนดชำระจำนวน 327,161,000 บาท ได้รับชำระหนี้คืนจำนวน 64,305,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.65 ของหนี้ถึงกำหนดชำระและมียอดหนี้เงินกู้สะสมคงเหลือจำนวน 1,337,169,000 บาท หากเปรียบเทียบผลการรับชำระคืนเงินกู้ของปีบัญชี 2542 และปีบัญชี 2543 ปรากฏว่า ในปีบัญชี 2543 มีอัตราการรับชำระหนี้ลดลงจากปีบัญชี 2542 คิดเป็นร้อยละ 3.24 ของหนี้ถึงกำหนดชำระ
3. แนวทางแก้ไข ปัญหาและอุปสรรค
3.1 เมื่อเกษตรกรและผู้ยากจนได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินกองทุนเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืนแล้ว รัฐบาลควรจะพิจารณาและฟื้นฟูเกษตรกรในการประกอบอาชีพด้วย เพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้
3.2 จากผลการชำระหนี้คืนกองทุนในแต่ละกองทุนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากแนวทางในการพิจารณาอนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้เงินที่ผ่านมาไม่เข้มงวด โดยเฉพาะเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ ดังนั้นคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2543 ได้มีมติให้เกษตรกรและผู้ยากจนที่ยื่นคำขอกู้เงินจากกองทุนหมุนเวียนฯ ต้องจัดทำแผนการผลิตการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดประกอบการขอกู้เงินด้วย เพื่อคณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.) ส่วนต่าง ๆ ใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติกู้เงินในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้คืนกองทุน หากมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้คืนกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามระเบียบฯ คือ 12 ปี ก็จะไม่พิจารณาอนุมัติให้กู้
3.3 เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเห็นสมควรเสนอให้ กชก. พิจารณาลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนฯ ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป เนื่องจากเกษตรกรลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนฯ ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีส่วนมากมีฐานะค่อนข้างยากจน และสมควรให้ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพโดยให้เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย เพื่อเกษตรกรจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถชำระหนี้คืนกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนฯ ได้ต่อไป ตามนโยบายของรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-
1. การอนุมัติเงินกู้
1.1 อนุมัติเงินให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมเฉพาะจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อช่วยเหลือเกตรกรและผู้ยากจนด้านหนี้สินและที่ดิน พ.ศ. 2536 จำนวน 545 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติให้กู้ 68,840,158 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยเหลือเนื้อที่ 5,509-3-69.6 ไร่ สำหรับเงินทุนหมุนเวียนช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน พ.ศ. 2528 ยังไม่มีการอนุมัติให้กู้ยืมเงินทุนฯ เนื่องจากในปีงบประมาณ 2543 เงินทุนหมุนเวียนฯ หมด และมีเกษตรกรที่รอขอความช่วยเหลือ จำนวน 1,663 ราย ซึ่งในปีงบประมาณ 2544 ได้รับงบประมาณเพิ่มเติมจำนวน 65 ล้านบาท จึงได้แจ้งเกษตรกรผู้รอขอความช่วยเหลือทุกรายยืนยันการขอรับความช่วยเหลือ ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาดำเนินการอนุมัติ
1.2 ตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปัจจุบัน (31 มีนาคม 2543) ได้มีการอนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้ยืมทั้ง 3 กองทุน รวมทั้งสิ้นจำนวน 14,971 ราย จำนวนเงินที่อนุมัติ 1,863,060,993.22 บาท จำนวนที่ดินที่ช่วยเหลือเนื้อที่ 158,158-2-91.6 ไร่
2. การรับชำระคืนเงินกู้
ณ เดือนมีนาคม 2544 ทั้ง 3 กองทุน มียอดหนี้คงค้างและถึงกำหนดชำระจำนวน 327,161,000 บาท ได้รับชำระหนี้คืนจำนวน 64,305,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 19.65 ของหนี้ถึงกำหนดชำระและมียอดหนี้เงินกู้สะสมคงเหลือจำนวน 1,337,169,000 บาท หากเปรียบเทียบผลการรับชำระคืนเงินกู้ของปีบัญชี 2542 และปีบัญชี 2543 ปรากฏว่า ในปีบัญชี 2543 มีอัตราการรับชำระหนี้ลดลงจากปีบัญชี 2542 คิดเป็นร้อยละ 3.24 ของหนี้ถึงกำหนดชำระ
3. แนวทางแก้ไข ปัญหาและอุปสรรค
3.1 เมื่อเกษตรกรและผู้ยากจนได้รับอนุมัติให้กู้ยืมเงินกองทุนเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืนแล้ว รัฐบาลควรจะพิจารณาและฟื้นฟูเกษตรกรในการประกอบอาชีพด้วย เพื่อจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ได้
3.2 จากผลการชำระหนี้คืนกองทุนในแต่ละกองทุนอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากแนวทางในการพิจารณาอนุมัติให้เกษตรกรและผู้ยากจนกู้เงินที่ผ่านมาไม่เข้มงวด โดยเฉพาะเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ ดังนั้นคณะกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (กชก.) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2543 เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2543 ได้มีมติให้เกษตรกรและผู้ยากจนที่ยื่นคำขอกู้เงินจากกองทุนหมุนเวียนฯ ต้องจัดทำแผนการผลิตการใช้ประโยชน์ในที่ดินและการชำระหนี้คืนกองทุนหมุนเวียนฯ ตามแบบฟอร์มที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกำหนดประกอบการขอกู้เงินด้วย เพื่อคณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.) ส่วนต่าง ๆ ใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติกู้เงินในเรื่องความสามารถในการชำระหนี้คืนกองทุน หากมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้คืนกองทุนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ตามระเบียบฯ คือ 12 ปี ก็จะไม่พิจารณาอนุมัติให้กู้
3.3 เนื่องจากขณะนี้รัฐบาลได้ดำเนินการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยตามนโยบายของรัฐบาลผ่านระบบธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี จึงเห็นสมควรเสนอให้ กชก. พิจารณาลดภาระหนี้ให้แก่ลูกหนี้กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนฯ ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากร้อยละ 8 เหลือร้อยละ 5 ต่อปี ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 เป็นต้นไป เนื่องจากเกษตรกรลูกหนี้กองทุนหมุนเวียนฯ ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีส่วนมากมีฐานะค่อนข้างยากจน และสมควรให้ได้รับการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพโดยให้เข้าร่วมโครงการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วย เพื่อเกษตรกรจะได้มีรายได้เพิ่มขึ้นและสามารถชำระหนี้คืนกองทุนและเงินทุนหมุนเวียนฯ ได้ต่อไป ตามนโยบายของรัฐบาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-