คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตามสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา - บางพลี - บางปะกง ดังนี้
ด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการทางด่วน สายบางนา - ชลบุรี ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานชื่อ ทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นทางด่วนยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีแนวสายทางเริ่มจากปลายทางทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณบางนา โดยใช้พื้นที่เกาะกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ตอนบางนา - บางปะกง ไปทางตะวันออกข้ามแม่น้ำบางปะกง สิ้นสุดที่จังหวัดชลบุรี ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ตอนบางนา - บางปะกง รวมทั้งเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ และบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อปี พ.ศ.2537 อนุมัติในหลักการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการทางด่วนสายบางนา - ชลบุรี ในลักษณะจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้าง (TURNKEY) ระยะทาง 55 กิโลเมตร โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และดอกเบี้ยของค่าก่อสร้างในช่วงแรกจนถึงปี 2549 และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับภาระค่าก่อสร้าง โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ลงนามสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมการก่อสร้างกับกิจการร่วมค้า บีบีซีดี เมื่อวันที่28 มิถุนายน 2538 ในวงเงิน 25,193 ล้านบาท
ต่อมาการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวงได้ลงนามร่วมในบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการก่อสร้างทางพิเศษสายบางนา - ชลบุรี บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ตอนบางนา - บางปะกง ในพื้นที่ควบคุมของกรมทางหลวง ซึ่งกรมทางหลวงได้อนุญาตให้กิจการร่วมค้า บีบีซีดี เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539และได้มีพิธีตอกเสาเข็มปฐมฤกษ์ของโครงการฯ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2539 และต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยขยายระยะเวลาการก่อสร้างโครงการออกไปอีก 11 เดือนเนื่องจากสภาวะน้ำท่วมและปัญหาการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ประสานงานกับกรมทางหลวงในการออกแบบทางขึ้น - ลงทางด่วน ให้สอดคล้องกับตำแหน่งกลับรถยกระดับ (U-turn) การแก้ปัญหาระบบระบายน้ำการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง การแก้ไขแบบงานขยายสะพานของกรมทางหลวงเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับงานก่อสร้างฐานรากและเสาทางด่วน และการออกแบบก่อสร้างทางแยกต่างระดับวงแหวนรอบนอกและทางแยกต่างระดับหนองงูเห่าให้สอดคล้องกัน รวมทั้งการปรับแผนงานก่อสร้างทางด่วนให้สอดคล้องกับแผนงานก่อสร้าง Cement Column ของกรมทางหลวงด้วย ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เร่งรัดการก่อสร้างทางด่วนสายบางนา - ชลบุรี ให้แล้วเสร็จตามกำหนดของสัญญา โดยส่วนงานแรก (Sub Phase 1.1) ช่วง กม.2+500 ถึง กม. 7+500 สามารถเปิดให้บริการในวันที่9 เมษายน 2541 และเปิดให้บริการทั้งโครงการในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543
ต่อมากิจการร่วมค้า บีบีซีดี (ผู้เสนอข้อพิพาท) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการตามข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 30/2543 เรียกร้องให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (คู่กรณี) ชำระราคาคงที่ที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน 6,254,979,470.84 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 6,039,893,254บาท นับจากวันยื่นคำเสนอข้อพิพาทเป็นต้นไปจนกว่าคู่กรณีจะชำระเงินครบถ้วนแก่ผู้เสนอข้อพิพาท และเมื่อวันที่ 20กันยายน 2544 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด ดังนี้
1. เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้มีการปรับวันกำหนดแล้วเสร็จออกไป 11 เดือน ดังที่ผู้เสนอข้อพิพาทกล่าวอ้าง จะทำให้ผู้เสนอข้อพิพาทมีสิทธิปรับราคาคงที่หรือไม่
ตามสัญญากำหนดว่า หากมีเหตุการณ์ใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาอันจะทำให้การทำงานต้องล่าช้าออกไปหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิม โดยมิได้เป็นความผิดของผู้เสนอข้อพิพาทแล้ว ผู้เสนอข้อพิพาทไม่ต้องรับผิดชอบ แต่คู่กรณีหรือรัฐจะเป็นผู้รับภาระนั้นเอง โดยการขยายเวลาการก่อสร้างคือปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยปรับราคาคงที่ให้ โดยให้วิศวกรที่ปรึกษาฯ ทำหน้าที่เป็นคนกลางพิจารณาและกำหนดปรับวันแล้วเสร็จและราคาคงที่ให้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นเงื่อนไขสำหรับการปรับทั้งวันกำหนดแล้วเสร็จและราคาคงที่ เมื่อฟังว่าเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีสิทธิขอปรับวันกำหนดแล้วเสร็จได้ก็ทำให้มีสิทธิขอปรับราคาคงที่ได้
2. ผู้เสนอข้อพิพาทได้ดำเนินการขอปรับราคาคงที่โดยชอบด้วยสัญญาและกฎหมายแล้วหรือไม่
เมื่อผู้เสนอข้อพิพาทมีหนังสือบอกกล่าวถึงวิศวกรที่ปรึกษาฯ เรื่องการปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและราคาคงที่ รวม 30 ฉบับแล้ว โดยระบุรายละเอียดที่กำหนดไว้ครบถ้วน และแจ้งภายใน 30 วัน ตามที่กำหนดในสัญญา เหตุการณ์อันทำให้เกิดความล่าช้าอันเนื่องจากการมอบสิทธิในเขตทางหรือการยื่นแบบและอนุมัติแบบล่าช้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพิจารณาปรับวันกำหนดแล้วเสร็จหรือราคาคงที่จึงต้องรอเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอเสียก่อน ซึ่งวิศวกรที่ปรึกษาฯ อาจยกขึ้นพิจารณาเองหรือผู้เสนอข้อพิพาทอาจจะเป็นผู้ร้องขอก็ได้ ข้อคัดค้านของคู่กรณีจึงฟังไม่ขึ้น
3. วิศวกรที่ปรึกษาฯ ได้ให้ความเห็นชอบในการปรับราคาคงที่ชอบตามสัญญาและกฎหมายหรือไม่
ตามสัญญามิได้กำหนดว่าการปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและราคาคงที่ของวิศวกรที่ปรึกษาฯ จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีก่อนและตามสัญญาก็เห็นได้ว่า ผู้เสนอข้อพิพาทและคู่กรณีได้ยินยอมให้วิศวกรที่ปรึกษาฯ มีอำนาจพิจารณาปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและ/หรือราคาคงที่ตามที่เห็นสมควรได้โดยอิสระในฐานะเป็นคนกลาง มิใช่เป็นตัวแทนของคู่กรณี การที่ในเวลาต่อมาคู่กรณีได้ทำสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาฯ โดยมีเงื่อนไขว่าการอนุมัติดังกล่าวจะทำได้จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีก่อนจึงไม่ผูกพันผู้เสนอข้อพิพาท ทั้งยังเป็นการผิดข้อตกลงที่คู่กรณีทำไว้กับผู้เสนอข้อพิพาทด้วยเงื่อนไขดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำมาใช้แก่กรณีนี้ซึ่งกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้เสนอข้อพิพาทที่มีอยู่ตามสัญญาได้การที่วิศวกรที่ปรึกษาฯ กำหนดปรับราคาคงที่และให้การรับรองจำนวนเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณีจึงเป็นการชอบด้วยสัญญาระหว่างผู้เสนอข้อพิพาทและคู่กรณีแล้ว จึงเห็นว่าการให้การรับรองการปรับราคาคงที่ที่เพิ่มขึ้นของวิศวกรที่ปรึกษาฯ เป็นการชอบด้วยสัญญาและกฎหมาย และมีผลผูกพันคู่กรณีตามที่กำหนดในสัญญา
4. ผู้เสนอข้อพิพาทมีสิทธิได้รับการปรับราคาคงที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งดอกเบี้ยเป็นจำนวนเท่าใด
คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้เสนอข้อพิพาทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการในการปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและราคาคงที่ตามสัญญา โดยแจ้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของราคาคงที่ไปยังวิศวกรที่ปรึกษาฯและวิศวกรที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณารายละเอียดและเหตุผลของข้อเรียกร้องแต่ละรายการ และได้แจ้งยอดรวมราคาคงที่ที่เพิ่มขึ้นให้คู่กรณีทราบแล้ว
ดังนั้น คู่กรณีจึงต้องชำระเงิน 3,371,446,114 บาท ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 และชำระเงิน2,668,447,140 บาท ภายในวันที่ 14 มกราคม 2543 เมื่อคู่กรณีไม่ชำระภายในกำหนดดังกล่าวจึงเป็นผู้ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 และวันที่ 15 มกราคม 2543 และต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ
ต่อมาการทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อสัญญาจึงไม่เป็นธรรมแก่คู่กรณี กล่าวคือคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในประเด็นการขอปรับราคาคงที่ของผู้เสนอข้อพิพาทขัดต่อข้อสัญญาและมิได้นำสืบพยานในการพิจารณา การรับฟังพยานหลักฐานของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 และข้อบังคับกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ 23 อีกทั้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการนำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่ง มาตรา 84 จึงส่งเรื่องให้กระทรวงการคลัง เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการพิจารณาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2544
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2544 คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้แจ้งผลการพิจารณาให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยทราบว่า คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ได้พิจารณาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 17 แล้วเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้อนุญาโตตุลาการรับฟังคู่กรณีและทำการไต่สวนข้อพิพาทตามที่เห็นสมควร โดยมิได้ระบุให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ และจากการพิจารณากระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้นำพยานหลักฐานมาแสดงและทำการไต่สวนก่อนทำคำชี้ขาดอย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้น เมื่ออนุญาโตตุลาการพิจารณาเห็นว่า การไต่สวนดังกล่าวเป็นการสมควรแล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและคณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้วเห็นว่า กรอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯจะต้องยึดถือตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2544 ข้อ 5 ว่าคำชี้แจงของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่โต้แย้งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามข้อยกเว้น3 ข้อ ดังต่อไปนี้หรือไม่
1) คำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับกับข้อพิพาท
2) คำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใด
3) คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการ
จากการพิจารณาคำชี้แจงโต้แย้งของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วเห็นว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามกรอบอำนาจตามกฎหมายและคำชี้แจงโต้แย้งของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมิได้เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นคำชี้ขาดที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อนึ่ง ในการดำเนินงานจัดทำโครงการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ควรมีการวางแผนการดำเนินงานเป็นภาพรวมให้รัดกุม และให้มีการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้เกิดความล่าช้า และความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อรัฐในอนาคต
ต่อมาคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 13/2544 เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2544 ให้แต่งตั้งคณะทำงาน โดยมี นายพชร ยุติธรรมดำรง เป็นประธาน นายวัฒนา สุภรณ์ไพบูลย์นายประวิตร์ ปุษยะนาวิน นายนรชัย ศรีพิมล และนายณรงค์ พหลเวชช์ เป็นคณะทำงาน และเจ้าหน้าที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อกฎหมายและแนวทางที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2544 สำหรับข้อพิพาทระหว่างกิจการร่วมค้า บีบีซีดี กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยตามสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา - บางพลี - บางปะกง (ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 30/2543 หมายเลขแดงที่ 36/2544) แล้วให้นำผลการพิจารณาเสนอคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งต่อมาคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 14/2544 เมื่อวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2544 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยให้คณะทำงานฯ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปเจรจากับกิจการร่วมค้า บีบีซีดี เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามที่คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เคยมีมติไว้
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 คณะทำงานฯ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เจรจากับกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) ขอให้พิจารณาลดจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษี การประกันภัย และค่าความเสี่ยง ซึ่งน่าจะรวมอยู่ในสัญญาหลักแล้ว
2) ขอให้ยุติการคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาด คือวันที่ 20 กันยายน 2544
3) สำหรับข้อพิพาทอื่นที่อยู่ในขั้นการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการนั้น ขอให้กิจการร่วมค้า บีบีซีดีพิจารณายุติการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหาย รวมทั้งขอให้ยุติการเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับผลกระทบจากการขยายระยะเวลาก่อสร้างและเหตุล่าช้าต่าง ๆ
4) หากจะมีการเรียกร้องค่าเสียหายในรายการอื่น ๆ อีก ขอให้มีการเจรจาร่วมกันก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามสัญญา
ซึ่งกิจการร่วมค้า บีบีซีดี รับที่จะนำไปพิจารณาแล้วแจ้งผลให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยทราบอีกครั้งหนึ่ง
อนึ่ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 เวลา15.00 น. โดยมีประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และนายพชร ยุติธรรมดำรง กรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
ด้วยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการก่อสร้างโครงการทางด่วน สายบางนา - ชลบุรี ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานชื่อ ทางพิเศษบูรพาวิถี เป็นทางด่วนยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีแนวสายทางเริ่มจากปลายทางทางพิเศษเฉลิมมหานคร บริเวณบางนา โดยใช้พื้นที่เกาะกลางทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ตอนบางนา - บางปะกง ไปทางตะวันออกข้ามแม่น้ำบางปะกง สิ้นสุดที่จังหวัดชลบุรี ระยะทางประมาณ 55 กิโลเมตร มีวัตถุประสงค์ในการก่อสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ตอนบางนา - บางปะกง รวมทั้งเป็นการช่วยส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศ และบริเวณท่าอากาศยานสุวรรณภูมิด้วย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อปี พ.ศ.2537 อนุมัติในหลักการให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการทางด่วนสายบางนา - ชลบุรี ในลักษณะจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้าง (TURNKEY) ระยะทาง 55 กิโลเมตร โดยรัฐบาลเป็นผู้รับภาระค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ค่าชดเชยสิ่งปลูกสร้าง และดอกเบี้ยของค่าก่อสร้างในช่วงแรกจนถึงปี 2549 และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับภาระค่าก่อสร้าง โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ลงนามสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมการก่อสร้างกับกิจการร่วมค้า บีบีซีดี เมื่อวันที่28 มิถุนายน 2538 ในวงเงิน 25,193 ล้านบาท
ต่อมาการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวงได้ลงนามร่วมในบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการก่อสร้างทางพิเศษสายบางนา - ชลบุรี บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 ตอนบางนา - บางปะกง ในพื้นที่ควบคุมของกรมทางหลวง ซึ่งกรมทางหลวงได้อนุญาตให้กิจการร่วมค้า บีบีซีดี เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2539และได้มีพิธีตอกเสาเข็มปฐมฤกษ์ของโครงการฯ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2539 และต่อมาในเดือนกรกฎาคม 2540 คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยขยายระยะเวลาการก่อสร้างโครงการออกไปอีก 11 เดือนเนื่องจากสภาวะน้ำท่วมและปัญหาการส่งมอบพื้นที่ ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้ประสานงานกับกรมทางหลวงในการออกแบบทางขึ้น - ลงทางด่วน ให้สอดคล้องกับตำแหน่งกลับรถยกระดับ (U-turn) การแก้ปัญหาระบบระบายน้ำการจัดการจราจรระหว่างการก่อสร้าง การแก้ไขแบบงานขยายสะพานของกรมทางหลวงเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับงานก่อสร้างฐานรากและเสาทางด่วน และการออกแบบก่อสร้างทางแยกต่างระดับวงแหวนรอบนอกและทางแยกต่างระดับหนองงูเห่าให้สอดคล้องกัน รวมทั้งการปรับแผนงานก่อสร้างทางด่วนให้สอดคล้องกับแผนงานก่อสร้าง Cement Column ของกรมทางหลวงด้วย ซึ่งการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เร่งรัดการก่อสร้างทางด่วนสายบางนา - ชลบุรี ให้แล้วเสร็จตามกำหนดของสัญญา โดยส่วนงานแรก (Sub Phase 1.1) ช่วง กม.2+500 ถึง กม. 7+500 สามารถเปิดให้บริการในวันที่9 เมษายน 2541 และเปิดให้บริการทั้งโครงการในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543
ต่อมากิจการร่วมค้า บีบีซีดี (ผู้เสนอข้อพิพาท) ได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการตามข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 30/2543 เรียกร้องให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (คู่กรณี) ชำระราคาคงที่ที่เพิ่มขึ้นตามสัญญาเป็นจำนวนเงิน 6,254,979,470.84 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 6,039,893,254บาท นับจากวันยื่นคำเสนอข้อพิพาทเป็นต้นไปจนกว่าคู่กรณีจะชำระเงินครบถ้วนแก่ผู้เสนอข้อพิพาท และเมื่อวันที่ 20กันยายน 2544 คณะอนุญาโตตุลาการมีคำชี้ขาด ดังนี้
1. เหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้มีการปรับวันกำหนดแล้วเสร็จออกไป 11 เดือน ดังที่ผู้เสนอข้อพิพาทกล่าวอ้าง จะทำให้ผู้เสนอข้อพิพาทมีสิทธิปรับราคาคงที่หรือไม่
ตามสัญญากำหนดว่า หากมีเหตุการณ์ใด ๆ ตามที่ระบุไว้ในสัญญาอันจะทำให้การทำงานต้องล่าช้าออกไปหรือต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้เดิม โดยมิได้เป็นความผิดของผู้เสนอข้อพิพาทแล้ว ผู้เสนอข้อพิพาทไม่ต้องรับผิดชอบ แต่คู่กรณีหรือรัฐจะเป็นผู้รับภาระนั้นเอง โดยการขยายเวลาการก่อสร้างคือปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและชดเชยค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นโดยปรับราคาคงที่ให้ โดยให้วิศวกรที่ปรึกษาฯ ทำหน้าที่เป็นคนกลางพิจารณาและกำหนดปรับวันแล้วเสร็จและราคาคงที่ให้ตามที่เห็นว่าเหมาะสม ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในสัญญาเป็นเงื่อนไขสำหรับการปรับทั้งวันกำหนดแล้วเสร็จและราคาคงที่ เมื่อฟังว่าเป็นเหตุการณ์ที่ทำให้มีสิทธิขอปรับวันกำหนดแล้วเสร็จได้ก็ทำให้มีสิทธิขอปรับราคาคงที่ได้
2. ผู้เสนอข้อพิพาทได้ดำเนินการขอปรับราคาคงที่โดยชอบด้วยสัญญาและกฎหมายแล้วหรือไม่
เมื่อผู้เสนอข้อพิพาทมีหนังสือบอกกล่าวถึงวิศวกรที่ปรึกษาฯ เรื่องการปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและราคาคงที่ รวม 30 ฉบับแล้ว โดยระบุรายละเอียดที่กำหนดไว้ครบถ้วน และแจ้งภายใน 30 วัน ตามที่กำหนดในสัญญา เหตุการณ์อันทำให้เกิดความล่าช้าอันเนื่องจากการมอบสิทธิในเขตทางหรือการยื่นแบบและอนุมัติแบบล่าช้าเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพิจารณาปรับวันกำหนดแล้วเสร็จหรือราคาคงที่จึงต้องรอเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอเสียก่อน ซึ่งวิศวกรที่ปรึกษาฯ อาจยกขึ้นพิจารณาเองหรือผู้เสนอข้อพิพาทอาจจะเป็นผู้ร้องขอก็ได้ ข้อคัดค้านของคู่กรณีจึงฟังไม่ขึ้น
3. วิศวกรที่ปรึกษาฯ ได้ให้ความเห็นชอบในการปรับราคาคงที่ชอบตามสัญญาและกฎหมายหรือไม่
ตามสัญญามิได้กำหนดว่าการปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและราคาคงที่ของวิศวกรที่ปรึกษาฯ จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีก่อนและตามสัญญาก็เห็นได้ว่า ผู้เสนอข้อพิพาทและคู่กรณีได้ยินยอมให้วิศวกรที่ปรึกษาฯ มีอำนาจพิจารณาปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและ/หรือราคาคงที่ตามที่เห็นสมควรได้โดยอิสระในฐานะเป็นคนกลาง มิใช่เป็นตัวแทนของคู่กรณี การที่ในเวลาต่อมาคู่กรณีได้ทำสัญญาว่าจ้างวิศวกรที่ปรึกษาฯ โดยมีเงื่อนไขว่าการอนุมัติดังกล่าวจะทำได้จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีก่อนจึงไม่ผูกพันผู้เสนอข้อพิพาท ทั้งยังเป็นการผิดข้อตกลงที่คู่กรณีทำไว้กับผู้เสนอข้อพิพาทด้วยเงื่อนไขดังกล่าว จึงไม่อาจที่จะนำมาใช้แก่กรณีนี้ซึ่งกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้เสนอข้อพิพาทที่มีอยู่ตามสัญญาได้การที่วิศวกรที่ปรึกษาฯ กำหนดปรับราคาคงที่และให้การรับรองจำนวนเงินค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่กรณีจึงเป็นการชอบด้วยสัญญาระหว่างผู้เสนอข้อพิพาทและคู่กรณีแล้ว จึงเห็นว่าการให้การรับรองการปรับราคาคงที่ที่เพิ่มขึ้นของวิศวกรที่ปรึกษาฯ เป็นการชอบด้วยสัญญาและกฎหมาย และมีผลผูกพันคู่กรณีตามที่กำหนดในสัญญา
4. ผู้เสนอข้อพิพาทมีสิทธิได้รับการปรับราคาคงที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งดอกเบี้ยเป็นจำนวนเท่าใด
คณะอนุญาโตตุลาการวินิจฉัยว่า ผู้เสนอข้อพิพาทได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขและวิธีการในการปรับวันกำหนดแล้วเสร็จและราคาคงที่ตามสัญญา โดยแจ้งเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของราคาคงที่ไปยังวิศวกรที่ปรึกษาฯและวิศวกรที่ปรึกษาฯ ได้พิจารณารายละเอียดและเหตุผลของข้อเรียกร้องแต่ละรายการ และได้แจ้งยอดรวมราคาคงที่ที่เพิ่มขึ้นให้คู่กรณีทราบแล้ว
ดังนั้น คู่กรณีจึงต้องชำระเงิน 3,371,446,114 บาท ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2542 และชำระเงิน2,668,447,140 บาท ภายในวันที่ 14 มกราคม 2543 เมื่อคู่กรณีไม่ชำระภายในกำหนดดังกล่าวจึงเป็นผู้ผิดนัด ตั้งแต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2542 และวันที่ 15 มกราคม 2543 และต้องเสียดอกเบี้ยในต้นเงินดังกล่าวในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเงินเสร็จ
ต่อมาการทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณาแล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยกฎหมายและข้อสัญญาจึงไม่เป็นธรรมแก่คู่กรณี กล่าวคือคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในประเด็นการขอปรับราคาคงที่ของผู้เสนอข้อพิพาทขัดต่อข้อสัญญาและมิได้นำสืบพยานในการพิจารณา การรับฟังพยานหลักฐานของอนุญาโตตุลาการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 และข้อบังคับกระทรวงยุติธรรม ว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ ข้อ 23 อีกทั้งไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยการนำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานในคดีแพ่ง มาตรา 84 จึงส่งเรื่องให้กระทรวงการคลัง เพื่อส่งให้คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการพิจารณาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2544
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2544 คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้แจ้งผลการพิจารณาให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยทราบว่า คณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ได้พิจารณาบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 มาตรา 17 แล้วเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้อนุญาโตตุลาการรับฟังคู่กรณีและทำการไต่สวนข้อพิพาทตามที่เห็นสมควร โดยมิได้ระบุให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ และจากการพิจารณากระบวนการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้เปิดโอกาสให้คู่กรณีได้นำพยานหลักฐานมาแสดงและทำการไต่สวนก่อนทำคำชี้ขาดอย่างเต็มที่แล้ว ดังนั้น เมื่ออนุญาโตตุลาการพิจารณาเห็นว่า การไต่สวนดังกล่าวเป็นการสมควรแล้ว ก็ไม่จำต้องนำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและคณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการพิจารณาแล้วเห็นว่า กรอบการพิจารณาของคณะกรรมการฯจะต้องยึดถือตามหลักเกณฑ์ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2544 ข้อ 5 ว่าคำชี้แจงของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยที่โต้แย้งคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามข้อยกเว้น3 ข้อ ดังต่อไปนี้หรือไม่
1) คำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายที่ใช้บังคับกับข้อพิพาท
2) คำชี้ขาดที่เกิดจากการกระทำหรือวิธีการอันมิชอบอย่างหนึ่งอย่างใด
3) คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมิได้อยู่ในขอบเขตแห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการ
จากการพิจารณาคำชี้แจงโต้แย้งของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้วเห็นว่า คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเป็นไปตามกรอบอำนาจตามกฎหมายและคำชี้แจงโต้แย้งของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยมิได้เข้าข้อยกเว้นตามข้อ 5 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ดังนั้น คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ จึงเป็นคำชี้ขาดที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
อนึ่ง ในการดำเนินงานจัดทำโครงการของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ควรมีการวางแผนการดำเนินงานเป็นภาพรวมให้รัดกุม และให้มีการประสานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ให้เกิดความล่าช้า และความซ้ำซ้อนในการดำเนินงาน เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อรัฐในอนาคต
ต่อมาคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 13/2544 เมื่อวันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2544 ให้แต่งตั้งคณะทำงาน โดยมี นายพชร ยุติธรรมดำรง เป็นประธาน นายวัฒนา สุภรณ์ไพบูลย์นายประวิตร์ ปุษยะนาวิน นายนรชัย ศรีพิมล และนายณรงค์ พหลเวชช์ เป็นคณะทำงาน และเจ้าหน้าที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบข้อกฎหมายและแนวทางที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะต้องดำเนินการตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2544 สำหรับข้อพิพาทระหว่างกิจการร่วมค้า บีบีซีดี กับการทางพิเศษแห่งประเทศไทยตามสัญญาจ้างเหมาออกแบบรวมก่อสร้างโครงการทางด่วนสายบางนา - บางพลี - บางปะกง (ข้อพิพาทหมายเลขดำที่ 30/2543 หมายเลขแดงที่ 36/2544) แล้วให้นำผลการพิจารณาเสนอคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพื่อพิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งต่อมาคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติในการประชุม ครั้งที่ 14/2544 เมื่อวันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2544 ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โดยให้คณะทำงานฯ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยไปเจรจากับกิจการร่วมค้า บีบีซีดี เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดตามที่คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เคยมีมติไว้
ต่อมาเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2544 คณะทำงานฯ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้เจรจากับกิจการร่วมค้า บีบีซีดี ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
1) ขอให้พิจารณาลดจำนวนเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายในส่วนของภาษี การประกันภัย และค่าความเสี่ยง ซึ่งน่าจะรวมอยู่ในสัญญาหลักแล้ว
2) ขอให้ยุติการคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่อนุญาโตตุลาการมีคำวินิจฉัยชี้ขาด คือวันที่ 20 กันยายน 2544
3) สำหรับข้อพิพาทอื่นที่อยู่ในขั้นการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการนั้น ขอให้กิจการร่วมค้า บีบีซีดีพิจารณายุติการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหาย รวมทั้งขอให้ยุติการเรียกร้องค่าเสียหายเกี่ยวกับผลกระทบจากการขยายระยะเวลาก่อสร้างและเหตุล่าช้าต่าง ๆ
4) หากจะมีการเรียกร้องค่าเสียหายในรายการอื่น ๆ อีก ขอให้มีการเจรจาร่วมกันก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทตามสัญญา
ซึ่งกิจการร่วมค้า บีบีซีดี รับที่จะนำไปพิจารณาแล้วแจ้งผลให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยทราบอีกครั้งหนึ่ง
อนึ่ง การทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 เวลา15.00 น. โดยมีประธานกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และนายพชร ยุติธรรมดำรง กรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นผู้ร่วมแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-