ทำเนียบรัฐบาล--3 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประจำเดือนกรกฎาคม 2543 มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. การอนุมัติจากสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณได้อนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ไปแล้ว 54,102.97 ล้านบาท (ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2543) คิดเป็นร้อยละ 99.50 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
2. การเบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลาง หน่วยงานต่าง ๆ ได้ขอเบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลาง จำนวน 49,137.71 ล้านบาท (ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2543) คิดเป็นร้อยละ 90.82 ของวงเงินที่สำนักงบประมาณอนุมัติ
3. การรายงานความก้าวหน้า ความก้าวหน้าของงาน/โครงการหลัก จำนวน 437 โครงการ จากจำนวน481 โครงการ ซึ่งพบว่าโครงการหลัก จำนวน 133 โครงการ ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว วงเงินที่อนุมัติ 22,003.29 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 40.90 ของวงเงินอนุมัติทั้งหมด โดยมียอดเบิกจ่ายเงินคิดเป็นร้อยละ 44.78 ของวงเงินอนุมัติ
4. การลงทุนและสร้างงาน
- การจ้างงานผู้มีการศึกษา จำนวน 96,675 คน โดยมียอดสูงสุดที่ระดับ 109,194 คน เป็นไปตามเป้าหมายระดับปฏิบัติการหรือคิดเป็นร้อยละ 126.62 ของเป้าหมาย รวมทั้งโครงการ (86,237 คน)
- การจ้างงานผู้ใช้แรงงาน จำนวน 4,563,340 คน หรือร้อยละ 94.27 ของเป้าหมายรวม
- สำหรับโครงการจ้างงานในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในส่วนของกรมการปกครองอาทิงานสนับสนุนสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งกระจายออกไปถึงกว่า 84,138 โครงการย่อย ปัจจุบันได้เสร็จสิ้นกว่า 79,352 โครงการ
5. การดำเนินงานตามเป้าหมายหน่วยวัด ประกอบด้วย
- โครงการที่ดำเนินการตรงตามเป้าหมายแล้ว 19 โครงการ
- โครงการที่ดำเนินการได้เกินเป้าหมาย 4 โครงการ
- โครงการที่ดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 7 โครงการ (ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่)
6. โครงการมูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีการเบิกจ่ายล่าช้า พบว่ามีการเบิกจ่ายล่าช้าจำนวน 26 โครงการ โดยมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 4,276.97 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.78 ของวงเงินโครงการ ปัญหาและอุปสรรคของโครงการจำแนกตามประเภทงานได้ ดังนี้
- ประเภทก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ล่าช้า เกิดจากกระบวนการในการคัดเลือกและจัดจ้างใช้เวลานานทำให้เริ่มดำเนินการได้ช้า มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ พื้นที่ก่อสร้างไม่พร้อมเนื่องจากราษฎรไม่ให้ใช้พื้นที่ พื้นที่ก่อสร้างซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ผู้รับเหมาทิ้งงาน และสภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวย
- ประเภทจัดจ้างที่ปรึกษาล่าช้า เนื่องจากขบวนการในการคัดเลือกและจัดจ้างที่ปรึกษาใช้เวลานาน มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน
- ประเภทโครงการบรรเทาผลกระทบต่อคนจนในเมืองล่าช้า เนื่องจากต้องอาศัยหรือได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่/ข้าราชการประจำของหน่วยงานอื่น บุคลากรของหน่วยงานเองมีจำนวนไม่พอเพียง บุคลากรที่รับผิดชอบและชุมชนขาดความเข้าใจในรายละเอียดและหลักเกณฑ์โครงการ เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจระเบียบปฏิบัติการเบิกจ่ายและกระบวนการดำเนินงานมีขั้นตอนหลายขั้นตอน
7. การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ พบว่าบรรลุผลในการสร้างความเข้าใจการตอบรับต่อมาตรการฯ ในทางบวกเกือบทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์จะจัดการประชุม เพื่อนำเสนอผลสรุปการดำเนินงานในวันที่18 กันยายน 2543 ณ ห้องประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์
สำหรับเรื่องร้องเรียนได้ตรวจสอบและยุติเรื่องโดยไม่พบความผิด 43 กรณี และอยู่ระหว่างดำเนินการสอบสวนต่อ 128 กรณี ส่วนการร้องเรียนผ่านสำนักงานบริหารโครงการในช่วงเดือนสิงหาคม 2542 - สิงหาคม 2543มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 60 เรื่อง เป็นเรื่องร้องเรียนของกรมการปกครองมากที่สุด 47 เรื่อง ประเด็นการร้องเรียนส่วนใหญ่คือ ก่อสร้างยังไม่เสร็จทำให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชน การทุจริตหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาว่าจ้างใช้เครื่องจักรแทนการว่าจ้างแรงงานและการเบิกจ่ายเท็จไม่ตรงกับความเป็นจริง
8. ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารจัดการฯ คณะกรรมการบริหารจัดการฯ ได้ระงับการขออนุมัติดำเนินงาน/โครงการใหม่ หรือขอขยายเป้าหมายงาน/โครงการเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2543 เนื่องจากจะสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 2543 แต่อนุมัติให้หน่วยงานใช้เงินเหลือจ่ายของงาน/โครงการที่มีการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างชั่วคราวเพิ่มใหม่ หรือขยายเวลาจ้างโดยจะต้องเป็นการจ้างในงาน/โครงการเดิม และมีระยะเวลาการจ้างไม่เกินเดือนมีนาคม 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการบริหารจัดการมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ รายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ประจำเดือนกรกฎาคม 2543 มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
1. การอนุมัติจากสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณได้อนุมัติวงเงินค่าใช้จ่ายให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ไปแล้ว 54,102.97 ล้านบาท (ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2543) คิดเป็นร้อยละ 99.50 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี
2. การเบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลาง หน่วยงานต่าง ๆ ได้ขอเบิกจ่ายจากกรมบัญชีกลาง จำนวน 49,137.71 ล้านบาท (ณ วันที่ 25 สิงหาคม 2543) คิดเป็นร้อยละ 90.82 ของวงเงินที่สำนักงบประมาณอนุมัติ
3. การรายงานความก้าวหน้า ความก้าวหน้าของงาน/โครงการหลัก จำนวน 437 โครงการ จากจำนวน481 โครงการ ซึ่งพบว่าโครงการหลัก จำนวน 133 โครงการ ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว วงเงินที่อนุมัติ 22,003.29 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 40.90 ของวงเงินอนุมัติทั้งหมด โดยมียอดเบิกจ่ายเงินคิดเป็นร้อยละ 44.78 ของวงเงินอนุมัติ
4. การลงทุนและสร้างงาน
- การจ้างงานผู้มีการศึกษา จำนวน 96,675 คน โดยมียอดสูงสุดที่ระดับ 109,194 คน เป็นไปตามเป้าหมายระดับปฏิบัติการหรือคิดเป็นร้อยละ 126.62 ของเป้าหมาย รวมทั้งโครงการ (86,237 คน)
- การจ้างงานผู้ใช้แรงงาน จำนวน 4,563,340 คน หรือร้อยละ 94.27 ของเป้าหมายรวม
- สำหรับโครงการจ้างงานในส่วนของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในส่วนของกรมการปกครองอาทิงานสนับสนุนสภาตำบล และองค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งกระจายออกไปถึงกว่า 84,138 โครงการย่อย ปัจจุบันได้เสร็จสิ้นกว่า 79,352 โครงการ
5. การดำเนินงานตามเป้าหมายหน่วยวัด ประกอบด้วย
- โครงการที่ดำเนินการตรงตามเป้าหมายแล้ว 19 โครงการ
- โครงการที่ดำเนินการได้เกินเป้าหมาย 4 โครงการ
- โครงการที่ดำเนินการได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 7 โครงการ (ขณะนี้กำลังดำเนินการอยู่)
6. โครงการมูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีการเบิกจ่ายล่าช้า พบว่ามีการเบิกจ่ายล่าช้าจำนวน 26 โครงการ โดยมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 4,276.97 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 52.78 ของวงเงินโครงการ ปัญหาและอุปสรรคของโครงการจำแนกตามประเภทงานได้ ดังนี้
- ประเภทก่อสร้างและจัดซื้อครุภัณฑ์ล่าช้า เกิดจากกระบวนการในการคัดเลือกและจัดจ้างใช้เวลานานทำให้เริ่มดำเนินการได้ช้า มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ พื้นที่ก่อสร้างไม่พร้อมเนื่องจากราษฎรไม่ให้ใช้พื้นที่ พื้นที่ก่อสร้างซ้ำซ้อนกับโครงการอื่น ผู้รับเหมาทิ้งงาน และสภาพดินฟ้าอากาศไม่อำนวย
- ประเภทจัดจ้างที่ปรึกษาล่าช้า เนื่องจากขบวนการในการคัดเลือกและจัดจ้างที่ปรึกษาใช้เวลานาน มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ ไม่ได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชน
- ประเภทโครงการบรรเทาผลกระทบต่อคนจนในเมืองล่าช้า เนื่องจากต้องอาศัยหรือได้รับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่/ข้าราชการประจำของหน่วยงานอื่น บุคลากรของหน่วยงานเองมีจำนวนไม่พอเพียง บุคลากรที่รับผิดชอบและชุมชนขาดความเข้าใจในรายละเอียดและหลักเกณฑ์โครงการ เจ้าหน้าที่ไม่เข้าใจระเบียบปฏิบัติการเบิกจ่ายและกระบวนการดำเนินงานมีขั้นตอนหลายขั้นตอน
7. การดำเนินงานประชาสัมพันธ์ พบว่าบรรลุผลในการสร้างความเข้าใจการตอบรับต่อมาตรการฯ ในทางบวกเกือบทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยฝ่ายประชาสัมพันธ์จะจัดการประชุม เพื่อนำเสนอผลสรุปการดำเนินงานในวันที่18 กันยายน 2543 ณ ห้องประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์
สำหรับเรื่องร้องเรียนได้ตรวจสอบและยุติเรื่องโดยไม่พบความผิด 43 กรณี และอยู่ระหว่างดำเนินการสอบสวนต่อ 128 กรณี ส่วนการร้องเรียนผ่านสำนักงานบริหารโครงการในช่วงเดือนสิงหาคม 2542 - สิงหาคม 2543มีเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 60 เรื่อง เป็นเรื่องร้องเรียนของกรมการปกครองมากที่สุด 47 เรื่อง ประเด็นการร้องเรียนส่วนใหญ่คือ ก่อสร้างยังไม่เสร็จทำให้เกิดความเดือดร้อนกับประชาชน การทุจริตหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาว่าจ้างใช้เครื่องจักรแทนการว่าจ้างแรงงานและการเบิกจ่ายเท็จไม่ตรงกับความเป็นจริง
8. ผลการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารจัดการฯ คณะกรรมการบริหารจัดการฯ ได้ระงับการขออนุมัติดำเนินงาน/โครงการใหม่ หรือขอขยายเป้าหมายงาน/โครงการเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2543 เนื่องจากจะสิ้นสุดโครงการในเดือนกันยายน 2543 แต่อนุมัติให้หน่วยงานใช้เงินเหลือจ่ายของงาน/โครงการที่มีการจ้างลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างชั่วคราวเพิ่มใหม่ หรือขยายเวลาจ้างโดยจะต้องเป็นการจ้างในงาน/โครงการเดิม และมีระยะเวลาการจ้างไม่เกินเดือนมีนาคม 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 3 ตุลาคม 2543--
-สส-