ทำเนียบรัฐบาล--7 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการปรับโครงสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบหลักการปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามความเห็นของคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ดังนี้
1.1 การปรับโครงสร้าง รฟท.ให้ กนร. พิจารณาเกี่ยวกับการแยกกิจการของ รฟท. ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วน รฟท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและส่วนที่จะจัดตั้งเป็นบริษัท อีก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนการเดินรถ ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ และส่วนทรัพย์สิน ดังมีรายละเอียดตามนี้
1) รฟท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ในการสร้างและดูแลโครงสร้างขนส่ง ได้แก่ ทางรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ อาคารสถานีต่างๆ และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ่ที่ดินทั้งหมดของ รฟท.ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
2) ส่วนการเดินรถ จัดตั้งเป็นบริษัท ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าบนรางรถไฟ และในระยะยาว จะเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนเดินรถแข่งขัน กับบริษัทรถไฟที่จัดตั้งขึ้นได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ
3) ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ จัดตั้งเป็นบริษัท ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ
4) ส่วนทรัพย์สิน จัดตั้งเป็นบริษัท บริหารจัดการ โดยการจ้างเอกชนเข้ามาบริหารจัดการทรัพย์สินให้มีรายได้ แล้วนำเงินรายได้ส่งคืนรัฐ
1.2 การพิจารณาดำเนินการปรับโครงสร้างตามข้อ 1.1 เป็นดังนี้
1) แยกสถาบันที่บริหารรางรถไฟออกจากสถาบันบริหารขบวนรถ และมีหน่วยงานกำกับดูแลอิสระมาควบคุมดูแลการประกอบกิจการรถไฟ ซึ่งกระทรวงการคลังคาดว่า จะสามารถจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระได้ในปี 2546-2547 และหาก รฟท.ปรับโครงสร้างเสร็จก่อนที่จะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระก็จะต้องจัดให้มีองค์กรกำกับดูแลอิสระชั่วคราว
2) การจัดการด้านอัตรากำลังคน โดยไม่มีการปลดพนักงานออก เป็นดังนี้
- องค์กรกำกับดูแลอิสระ 126 คน
- องค์กร รฟท.โครงสร้าง 8,169 คน
- บริษัท รฟท. เดินรถไฟ 5,740 คน
- บริษัท รฟท.ซ่อมล้อเลื่อนรถไฟ 3,992 คน
- บริษัท รฟท.บริหารทรัพย์สิน 127 คน
รวม 18,154 คน
3) การจัดการด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของพนักงานตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ "คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท" ซึ่งในชั้นต้นเห็นสมควรเสนอสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงาน ดังนี้
- ให้คงกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานที่เกษียณอายุแล้ว ไว้กับ องค์กร รฟท.โครงสร้าง โดยถือเสมือนเป็นหนี้ที่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระ
- พนักงานที่โอนไปอยู่หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ให้นับอายุงานต่อเนื่อง
- ให้คงกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานและกองเงินสะสมผู้ปฏิบัติงานไว้ในแต่ละหน่วยงาน โดยหักเงินเดือนพนักงาน 5% และหน่วยงานสมทบ 25% หรือเท่าที่จ่ายจริงเพื่อนำเข้ากองทุนดังกล่าว
- ในอนาคตเมื่อ รฟท.ปรับรูปแบบไปสู่ภาคเอกชน (เอกชนมีส่วนร่วมในการบริหาร) ต้องมีกระบวนการรองรับสิทธิประโยชน์และรายได้ของพนักงานอย่างเป็นธรรม และรวมถึงพนักงานเดิมที่เกษียณอายุหรือลาออกไปแล้ว
4) การแบ่งแยกทรัพย์สินและหนี้สินตามบัญชีขององค์กรใหม่ เพื่อเสนอคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทพิจารณา เป็นดังนี้
องค์การ ทรัพย์สิน หนี้สิน1. รฟท. ปัจจุบัน 58,755,304,156.17 36,803,000,0002. องค์กรใหม่
- องค์กร รฟท. โครงสร้าง 40,047,532,020.28 36,803,000,000
- บริษัท รฟท. เดินรถไฟ 18,707,772,135.89 -
- บริษัท รฟท. ซ่อมล้อเลือนรถไฟ (น้อยมาก) -
- บริษัท รฟท. บริหารทรัพย์สิน (น้อยมาก) -
5) ควรมีการจัดตั้ง "คณะกรรมการบริหารเปลี่ยนผ่าน" เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทในการดำเนินการปรับ รฟท. เข้าสู่โครงการใหม่ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
6) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันของโครงสร้างขนส่งทางรถไฟ จึงเห็นว่า การพัฒนาโครงสร้างขนส่งของ รฟท. เป็นงานเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาเพื่อให้มีการปรับปรุงทางรถไฟระบบอาณัติสัญญาณที่ควบคุมการเดินรถ การก่อสร้างทางคู่ ทางสายใหม่ และการแก้ไขปัญหาจุดที่ถนนตัดเสมอระดับทางรถไฟ ซึ่งคาดว่า จะต้องใช้เงินงบประมาณ 184,566 ล้านบาท เพื่อให้โครงสร้างขนส่งของรถไฟมีความสมบรูณ์และสามารถแข่งขันกับระบบขนส่งอื่น รวมทั้งสามารถเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมประกอบการเดินรถได้ด้วย
2. เห็นชอบหลักการจัดตั้งบริษัท ของ รฟท.ตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ โดยให้แปลงสภาพกิจการของ รฟท. ตามโครงสร้างใหม่ โดยดำเนินการนำกิจการบางส่วนของ รฟท.มาจัดตั้งเป็นบริษัท 3 บริษัท เพื่อดำเนินการในส่วนการเดินรถ 1 บริษัท ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ 1 บริษัท และส่วนทรัพย์สิน 1 บริษัท ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 สำหรับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน ของ รฟท. ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการปรับโครงสร้างของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตามที่คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบหลักการปรับโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามความเห็นของคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ดังนี้
1.1 การปรับโครงสร้าง รฟท.ให้ กนร. พิจารณาเกี่ยวกับการแยกกิจการของ รฟท. ออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วน รฟท. ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและส่วนที่จะจัดตั้งเป็นบริษัท อีก 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนการเดินรถ ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ และส่วนทรัพย์สิน ดังมีรายละเอียดตามนี้
1) รฟท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มีหน้าที่ในการสร้างและดูแลโครงสร้างขนส่ง ได้แก่ ทางรถไฟ ระบบอาณัติสัญญาณ อาคารสถานีต่างๆ และเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ่ที่ดินทั้งหมดของ รฟท.ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
2) ส่วนการเดินรถ จัดตั้งเป็นบริษัท ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าบนรางรถไฟ และในระยะยาว จะเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนเดินรถแข่งขัน กับบริษัทรถไฟที่จัดตั้งขึ้นได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกให้แก่ผู้ใช้บริการ
3) ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ จัดตั้งเป็นบริษัท ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ
4) ส่วนทรัพย์สิน จัดตั้งเป็นบริษัท บริหารจัดการ โดยการจ้างเอกชนเข้ามาบริหารจัดการทรัพย์สินให้มีรายได้ แล้วนำเงินรายได้ส่งคืนรัฐ
1.2 การพิจารณาดำเนินการปรับโครงสร้างตามข้อ 1.1 เป็นดังนี้
1) แยกสถาบันที่บริหารรางรถไฟออกจากสถาบันบริหารขบวนรถ และมีหน่วยงานกำกับดูแลอิสระมาควบคุมดูแลการประกอบกิจการรถไฟ ซึ่งกระทรวงการคลังคาดว่า จะสามารถจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระได้ในปี 2546-2547 และหาก รฟท.ปรับโครงสร้างเสร็จก่อนที่จะมีการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระก็จะต้องจัดให้มีองค์กรกำกับดูแลอิสระชั่วคราว
2) การจัดการด้านอัตรากำลังคน โดยไม่มีการปลดพนักงานออก เป็นดังนี้
- องค์กรกำกับดูแลอิสระ 126 คน
- องค์กร รฟท.โครงสร้าง 8,169 คน
- บริษัท รฟท. เดินรถไฟ 5,740 คน
- บริษัท รฟท.ซ่อมล้อเลื่อนรถไฟ 3,992 คน
- บริษัท รฟท.บริหารทรัพย์สิน 127 คน
รวม 18,154 คน
3) การจัดการด้านสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของพนักงานตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ "คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท" ซึ่งในชั้นต้นเห็นสมควรเสนอสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ของพนักงาน ดังนี้
- ให้คงกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานที่เกษียณอายุแล้ว ไว้กับ องค์กร รฟท.โครงสร้าง โดยถือเสมือนเป็นหนี้ที่รัฐบาลเป็นผู้รับภาระ
- พนักงานที่โอนไปอยู่หน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ให้นับอายุงานต่อเนื่อง
- ให้คงกองทุนสงเคราะห์ผู้ปฏิบัติงานและกองเงินสะสมผู้ปฏิบัติงานไว้ในแต่ละหน่วยงาน โดยหักเงินเดือนพนักงาน 5% และหน่วยงานสมทบ 25% หรือเท่าที่จ่ายจริงเพื่อนำเข้ากองทุนดังกล่าว
- ในอนาคตเมื่อ รฟท.ปรับรูปแบบไปสู่ภาคเอกชน (เอกชนมีส่วนร่วมในการบริหาร) ต้องมีกระบวนการรองรับสิทธิประโยชน์และรายได้ของพนักงานอย่างเป็นธรรม และรวมถึงพนักงานเดิมที่เกษียณอายุหรือลาออกไปแล้ว
4) การแบ่งแยกทรัพย์สินและหนี้สินตามบัญชีขององค์กรใหม่ เพื่อเสนอคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทพิจารณา เป็นดังนี้
องค์การ ทรัพย์สิน หนี้สิน1. รฟท. ปัจจุบัน 58,755,304,156.17 36,803,000,0002. องค์กรใหม่
- องค์กร รฟท. โครงสร้าง 40,047,532,020.28 36,803,000,000
- บริษัท รฟท. เดินรถไฟ 18,707,772,135.89 -
- บริษัท รฟท. ซ่อมล้อเลือนรถไฟ (น้อยมาก) -
- บริษัท รฟท. บริหารทรัพย์สิน (น้อยมาก) -
5) ควรมีการจัดตั้ง "คณะกรรมการบริหารเปลี่ยนผ่าน" เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทในการดำเนินการปรับ รฟท. เข้าสู่โครงการใหม่ให้สำเร็จตามเป้าหมาย
6) เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการแข่งขันของโครงสร้างขนส่งทางรถไฟ จึงเห็นว่า การพัฒนาโครงสร้างขนส่งของ รฟท. เป็นงานเร่งด่วนที่รัฐบาลจะต้องพิจารณาเพื่อให้มีการปรับปรุงทางรถไฟระบบอาณัติสัญญาณที่ควบคุมการเดินรถ การก่อสร้างทางคู่ ทางสายใหม่ และการแก้ไขปัญหาจุดที่ถนนตัดเสมอระดับทางรถไฟ ซึ่งคาดว่า จะต้องใช้เงินงบประมาณ 184,566 ล้านบาท เพื่อให้โครงสร้างขนส่งของรถไฟมีความสมบรูณ์และสามารถแข่งขันกับระบบขนส่งอื่น รวมทั้งสามารถเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมประกอบการเดินรถได้ด้วย
2. เห็นชอบหลักการจัดตั้งบริษัท ของ รฟท.ตามความเห็นของคณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ โดยให้แปลงสภาพกิจการของ รฟท. ตามโครงสร้างใหม่ โดยดำเนินการนำกิจการบางส่วนของ รฟท.มาจัดตั้งเป็นบริษัท 3 บริษัท เพื่อดำเนินการในส่วนการเดินรถ 1 บริษัท ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อนรถไฟ 1 บริษัท และส่วนทรัพย์สิน 1 บริษัท ทั้งนี้ ให้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 สำหรับการจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน ของ รฟท. ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้ง ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 พ.ย. 2543--
-สส-