คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการปรับปรุงประมวลฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา คณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงประมวลกฎหมายอาญา และคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน บริษัท และองค์กรทางธุรกิจ รวม 4 คณะ เสียใหม่ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เพื่อให้การดำเนินงานปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวทั้ง 4 คณะ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความรวดเร็ว ดังต่อไปนี้
1. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าว โดยใช้แนวทางการพิจารณาแต่งตั้งจากตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายที่จะมีการพิจารณาปรับปรุงนั้น ๆ เป็นหลัก โดยมิได้มีการแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้แทนของส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายมาร่วมเป็นกรรมการ แต่การแต่งตั้งบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวจะพิจารณาผสมผสานกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านการร่างกฎหมาย ด้านวิชาการ และผู้มีประสบการณ์ในการทำงานแต่ละด้าน โดยจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ อาจารณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวสามารถจัดให้มีการศึกษาวิจัยหรือกลั่นกรองเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการ และขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดให้มีการสัมมนาหรือรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนได้ ทั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษาวิจัย ผลการสัมมนา และการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนมาพิจารณาประกอบการปรับปรุงประมวลกฎหมายทั้ง 4 คณะ ต่อไป
3. โดยที่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการนั้น ได้คัดเลือกจากบุคคลที่เห็นว่ามีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านประมวลกฎหมาย และบุคคลจำนวนหนึ่งเป็นกรรมการกฤษฎีกาอยู่ด้วย ซึ่งในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะต้องมีการให้ความเห็นหรือตรวจพิจารณากฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายอยู่ด้วย จึงเห็นควรให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการดังกล่าวตามที่สำนักงานฯจะร้องขอได้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
1. ปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าว โดยใช้แนวทางการพิจารณาแต่งตั้งจากตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิและมีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เกี่ยวกับกฎหมายที่จะมีการพิจารณาปรับปรุงนั้น ๆ เป็นหลัก โดยมิได้มีการแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการ หรือผู้แทนของส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบการปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายมาร่วมเป็นกรรมการ แต่การแต่งตั้งบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าวจะพิจารณาผสมผสานกันระหว่างผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ทางด้านการร่างกฎหมาย ด้านวิชาการ และผู้มีประสบการณ์ในการทำงานแต่ละด้าน โดยจะประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นกรรมการกฤษฎีกา ผู้พิพากษา อัยการ ทนายความ อาจารณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการดังกล่าว โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวสามารถจัดให้มีการศึกษาวิจัยหรือกลั่นกรองเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการ และขอให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจัดให้มีการสัมมนาหรือรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนได้ ทั้งนี้เพื่อนำผลการศึกษาวิจัย ผลการสัมมนา และการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนมาพิจารณาประกอบการปรับปรุงประมวลกฎหมายทั้ง 4 คณะ ต่อไป
3. โดยที่บุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นกรรมการนั้น ได้คัดเลือกจากบุคคลที่เห็นว่ามีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านประมวลกฎหมาย และบุคคลจำนวนหนึ่งเป็นกรรมการกฤษฎีกาอยู่ด้วย ซึ่งในการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจะต้องมีการให้ความเห็นหรือตรวจพิจารณากฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับหลักกฎหมายตามประมวลกฎหมายอยู่ด้วย จึงเห็นควรให้คณะกรรมการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการดังกล่าวตามที่สำนักงานฯจะร้องขอได้ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-