คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) เสนอกำหนดท่าทีไทยในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 33 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 12-16 กันยายน 2544 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่สามภายใต้กรอบความตกลงทั่วไปว่าด้วยบริการของอาเซียน และข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 6 สาขาของไทยที่ผนวกท้ายพิธีสาร
2. ให้ความเห็นชอบความตกลงการยอมรับร่วมรายสาขขาสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน
3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอดิศัย โพธารามิก) ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนของไทย ลงนามในพิธีสารฯ และความตกลงฯ ในข้อ (1) และ (2) ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 33 ในวันที่ 15 กันยายน 2544 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม หรือ ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่กรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน (ในกรณีที่สมาชิกบางประเทศไม่สามารถลงนามได้ทันในการประชุม AEM ครั้งที่ 33) ทั้งนี้หากมีการแก้ไขสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากพิธีสารฯ และความตกลงฯ หรือมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญก็ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรีได้
4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจลงนามในพิธีสารและความตกลงดังกล่าวให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอดิศัย โพธารามิก) ผู้ลงนามและจัดทำสัตยาบันสารสำหรับพิธีสารฯ ต่อไปสาระสำคัญของข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 6 สาขาของไทย
1. ไทยได้เสนอผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 6 สาขา ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน เพิ่มขึ้นจากข้อผูกพันในการเจรจาการค้าบริการรอบแรก
2. ข้อเสนอผูกพันแยกเป็นส่วนใหญ่ๆ คือการเปิดเสรีในด้านการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)
3. ในด้านการเข้าสู่ตลาด ข้อเสนอของไทยเป็นการเปิดเสรีเท่าที่กฎหมายในปัจจุบันให้อำนาจไว้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
3.1 ไทยเสนอผูกพันว่าจะไม่ห้ามคนไทยเข้าไปซื้อและใช้บริการด้านต่าง ๆ ใน 6 สาขาบริการตามที่ระบุไว้ในตารางในประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งการที่คนไทยจะซื้อบริการนั้น ๆ จากผู้ขายบริการในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้ส่งบริการข้ามพรมแดนมาให้แก่ผู้ซื้อ สำหรับบริการบางประเภทที่สามารถข้ามพรมแดนให้กับผู้ซื้อที่อยู่ในประเทศไทยได้ ทั้งนี้ยกเว้นบริการบางประเภทที่ไทยยังพร้อมที่จะเปิดเสรีให้แก่ประเทศสมาชิก
3.2 อนุญาตให้คนของประเทศสมาชิกอาเซียนมาร่วมลงทุนกับคนไทย โดยถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 โดยไม่จำกัดจำนวนคนชาติอาเซียนที่เข้ามาร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทประกอบธุรกิจดังกล่าว และปรับปรุงข้อเสนอ โดยต่ออายุให้กับผู้บริหารผู้จัดการของบริษัทต่างชาติที่โอนเข้ามาทำงานในบริษัทที่เป็นเครือข่ายในประเทศไทยเพิ่มอีก 1 ปี สำหรับบางกิจกรรมตามที่ระบุไว้ในตาราง ทั้งนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงแรงงานฯ
4. ในส่วนของข้อผูกพันเกี่ยวกับการประติบัติเยี่ยงคนชาติ ไทยยังคงข้อเสนอผูกพันไว้เช่นเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ทำข้อผูกพันไว้ในการเจรจารอบแรก กล่าวคือ จะให้การปฏิบัติต่อบริษัทของคนชาติอาเซียนเหมือนกับที่ให้การปฏิบัติต่อบริษัทต่อบริษัทของคนไทย ตราบใดที่บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทที่ร่วมทุนกับคนไทย โดยคนชาติอาเซียนถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49
5. โดยที่ข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีบริการด้านต่าง ๆ ใน 6 สาขาของไทยตามที่ระบุไว้ในตารางข้อเสนอผูกพันของไทยที่ผนวกท้ายพิธีสาร เป็นการเสนอผูกพันน้อยกว่าหรือเพียงเท่าที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ให้อำนาจไว้ ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายหรือตรากฎหมายเพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ได้ทำไว้แต่อย่างใดทั้งนี้ สมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ก็ได้ยื่นข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีในสาขาเหล่านั้นในระดับที่ใกล้เคียงกัน ความตกลงการยอมรับร่วมรายสาขาสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียนและเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกจะยอมรับรายงานผลการทดสอบและการรับรองบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกให้โดยห้องปฏิบัติการทดสอบและหน่วยรับรองของประเทศสมาชิกอื่นที่ขึ้นบัญชีไว้ในความตกลงฯ
2) ขอบข่ายของความตกลงฯ ครอบคลุมบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชนิดที่เชื่อมต่อโดยตรงหรือที่เสียบเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงดันต่ำ หรือที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ แต่ไม่รวมถึงบริภัณฑ์ที่อยู่ในความตกลงยอมรับร่วมในการตรวจสอบรับรองบริณัณฑ์ด้านโทรคมนาคม และไม่เกี่ยวข้องกับบริภัณฑ์ทางการแพทย์
3) ประเทศสมาชิกจะรับรองหน่วยงานแต่งตั้งเพื่อรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ/หน่วย อนุญาตที่ขึ้นบัญชีไว้ในความตกลงฯ ว่ามีความสามารถในการตรวจสอบรับรองบริภัณฑ์ที่กำหนดไว้ในความตกลงฯ และหน่วยงานแต่งตั้งสามารถจะติดตามตรวจสอบความสามารถของหน่วยงานดังกล่าว
4) ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ ณ วันที่มีการลงนาม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-
1. ให้ความเห็นชอบพิธีสารเพื่ออนุวัติข้อผูกพันชุดที่สามภายใต้กรอบความตกลงทั่วไปว่าด้วยบริการของอาเซียน และข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 6 สาขาของไทยที่ผนวกท้ายพิธีสาร
2. ให้ความเห็นชอบความตกลงการยอมรับร่วมรายสาขขาสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน
3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอดิศัย โพธารามิก) ในฐานะรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนของไทย ลงนามในพิธีสารฯ และความตกลงฯ ในข้อ (1) และ (2) ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 33 ในวันที่ 15 กันยายน 2544 ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม หรือ ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่กรุงบันดาร์ เสรีเบกาวัน (ในกรณีที่สมาชิกบางประเทศไม่สามารถลงนามได้ทันในการประชุม AEM ครั้งที่ 33) ทั้งนี้หากมีการแก้ไขสาระสำคัญที่เปลี่ยนแปลงไปจากพิธีสารฯ และความตกลงฯ หรือมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญก็ขอให้คณะรัฐมนตรีมอบให้ผู้ลงนามเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ แทนคณะรัฐมนตรีได้
4. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจลงนามในพิธีสารและความตกลงดังกล่าวให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายอดิศัย โพธารามิก) ผู้ลงนามและจัดทำสัตยาบันสารสำหรับพิธีสารฯ ต่อไปสาระสำคัญของข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 6 สาขาของไทย
1. ไทยได้เสนอผูกพันเปิดเสรีการค้าบริการ 6 สาขา ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยกัน เพิ่มขึ้นจากข้อผูกพันในการเจรจาการค้าบริการรอบแรก
2. ข้อเสนอผูกพันแยกเป็นส่วนใหญ่ๆ คือการเปิดเสรีในด้านการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการประติบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)
3. ในด้านการเข้าสู่ตลาด ข้อเสนอของไทยเป็นการเปิดเสรีเท่าที่กฎหมายในปัจจุบันให้อำนาจไว้ ซึ่งสรุปได้ดังนี้
3.1 ไทยเสนอผูกพันว่าจะไม่ห้ามคนไทยเข้าไปซื้อและใช้บริการด้านต่าง ๆ ใน 6 สาขาบริการตามที่ระบุไว้ในตารางในประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งการที่คนไทยจะซื้อบริการนั้น ๆ จากผู้ขายบริการในประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้ส่งบริการข้ามพรมแดนมาให้แก่ผู้ซื้อ สำหรับบริการบางประเภทที่สามารถข้ามพรมแดนให้กับผู้ซื้อที่อยู่ในประเทศไทยได้ ทั้งนี้ยกเว้นบริการบางประเภทที่ไทยยังพร้อมที่จะเปิดเสรีให้แก่ประเทศสมาชิก
3.2 อนุญาตให้คนของประเทศสมาชิกอาเซียนมาร่วมลงทุนกับคนไทย โดยถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49 โดยไม่จำกัดจำนวนคนชาติอาเซียนที่เข้ามาร่วมลงทุนจัดตั้งบริษัทประกอบธุรกิจดังกล่าว และปรับปรุงข้อเสนอ โดยต่ออายุให้กับผู้บริหารผู้จัดการของบริษัทต่างชาติที่โอนเข้ามาทำงานในบริษัทที่เป็นเครือข่ายในประเทศไทยเพิ่มอีก 1 ปี สำหรับบางกิจกรรมตามที่ระบุไว้ในตาราง ทั้งนี้ ต้องได้รับใบอนุญาตจากกระทรวงแรงงานฯ
4. ในส่วนของข้อผูกพันเกี่ยวกับการประติบัติเยี่ยงคนชาติ ไทยยังคงข้อเสนอผูกพันไว้เช่นเดิม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้ทำข้อผูกพันไว้ในการเจรจารอบแรก กล่าวคือ จะให้การปฏิบัติต่อบริษัทของคนชาติอาเซียนเหมือนกับที่ให้การปฏิบัติต่อบริษัทต่อบริษัทของคนไทย ตราบใดที่บริษัทดังกล่าวเป็นบริษัทที่ร่วมทุนกับคนไทย โดยคนชาติอาเซียนถือหุ้นไม่เกินร้อยละ 49
5. โดยที่ข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีบริการด้านต่าง ๆ ใน 6 สาขาของไทยตามที่ระบุไว้ในตารางข้อเสนอผูกพันของไทยที่ผนวกท้ายพิธีสาร เป็นการเสนอผูกพันน้อยกว่าหรือเพียงเท่าที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ให้อำนาจไว้ ดังนั้น รัฐบาลจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการแก้ไขกฎหมายหรือตรากฎหมายเพื่อให้ประเทศไทยสามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันที่ได้ทำไว้แต่อย่างใดทั้งนี้ สมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ก็ได้ยื่นข้อเสนอผูกพันเปิดเสรีในสาขาเหล่านั้นในระดับที่ใกล้เคียงกัน ความตกลงการยอมรับร่วมรายสาขาสำหรับบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียนและเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน ประเทศสมาชิกจะยอมรับรายงานผลการทดสอบและการรับรองบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกให้โดยห้องปฏิบัติการทดสอบและหน่วยรับรองของประเทศสมาชิกอื่นที่ขึ้นบัญชีไว้ในความตกลงฯ
2) ขอบข่ายของความตกลงฯ ครอบคลุมบริภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชนิดที่เชื่อมต่อโดยตรงหรือที่เสียบเข้ากับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแรงดันต่ำ หรือที่ใช้พลังงานแบตเตอรี่ แต่ไม่รวมถึงบริภัณฑ์ที่อยู่ในความตกลงยอมรับร่วมในการตรวจสอบรับรองบริณัณฑ์ด้านโทรคมนาคม และไม่เกี่ยวข้องกับบริภัณฑ์ทางการแพทย์
3) ประเทศสมาชิกจะรับรองหน่วยงานแต่งตั้งเพื่อรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบ/หน่วย อนุญาตที่ขึ้นบัญชีไว้ในความตกลงฯ ว่ามีความสามารถในการตรวจสอบรับรองบริภัณฑ์ที่กำหนดไว้ในความตกลงฯ และหน่วยงานแต่งตั้งสามารถจะติดตามตรวจสอบความสามารถของหน่วยงานดังกล่าว
4) ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ ณ วันที่มีการลงนาม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ก.ย.44--
-สส-