คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ภายหลังภาวะน้ำท่วม ปี 2543 ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ด้านการเงิน กรมประชาสงเคราะห์ได้ดำเนินการโอนเงินทุนหมุนเวียนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์(ทปศ.3) ไปตั้งจ่ายให้แก่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2544 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000,000 บาทเพื่อให้สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดเบิกจ่ายให้แก่ประชาชนกู้ยืมไปประกอบอาชีพ
2. ด้านอื่น ๆ
2.1 ความเป็นไปได้ในการนำเงินกองทุนประกันสังคมช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำนักงานประกันสังคมได้พิจารณาข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แล้วไม่สามารถนำเงินกองทุนประกันสังคมช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมโดยตรงได้ อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันสังคมได้พิจารณาแนวทางที่เป็นไปได้ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนและสถานประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
1) รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรเพื่อกู้เงินจากสำนักงานประกันสังคมเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ประสบภัยน้ำท่วมได้ โดยสำนักงานประกันสังคมสามารถซื้อพันธบัตรได้ในวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท
2) สำหรับการให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมนั้น ในปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้สถานประกอบการ ผ่านบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) โดยซื้อหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะได้ประสานขอความร่วมมือกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อยืดหยุ่นหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้แก่สถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วม
2.2 ความเป็นไปได้ในการผ่อนผันการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนรวมทั้งเบี้ยปรับ
สำนักงานประกันสังคมได้พิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วไม่สามารถเลื่อนกำหนดการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมโดยยกเว้นเบี้ยปรับได้ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 47 กำหนดว่าทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้นายจ้างหักค่าจ้างของผู้ประกันตนตามจำนวนที่ต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน ดังนั้น ในช่วงที่สถานประกอบการได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมจนไม่สามารถดำเนินกิจการได้ และไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและไม่มีเบี้ยปรับในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
สำหรับการเลื่อนกำหนดการนำส่งเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนโดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มตามกฎหมาย สามารถดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการออกประกาศเลื่อนกำหนดชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ประจำปี 2544 สำหรับนายจ้างในท้องที่ จังหวัดสงขลา จากเดิมภายในเดือนมกราคม 2544 เป็นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 โดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มตามกฎหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 27 มี.ค.2544
-สส-
1. ด้านการเงิน กรมประชาสงเคราะห์ได้ดำเนินการโอนเงินทุนหมุนเวียนประชาเศรษฐกิจสงเคราะห์(ทปศ.3) ไปตั้งจ่ายให้แก่ 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2544 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,000,000 บาทเพื่อให้สำนักงานประชาสงเคราะห์จังหวัดเบิกจ่ายให้แก่ประชาชนกู้ยืมไปประกอบอาชีพ
2. ด้านอื่น ๆ
2.1 ความเป็นไปได้ในการนำเงินกองทุนประกันสังคมช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สำนักงานประกันสังคมได้พิจารณาข้อกฎหมายตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 แล้วไม่สามารถนำเงินกองทุนประกันสังคมช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมโดยตรงได้ อย่างไรก็ตามสำนักงานประกันสังคมได้พิจารณาแนวทางที่เป็นไปได้ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกันตนและสถานประกอบการที่ประสบภัยน้ำท่วมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
1) รัฐบาลสามารถออกพันธบัตรเพื่อกู้เงินจากสำนักงานประกันสังคมเพื่อนำเงินไปช่วยเหลือผู้ประกันตนที่ประสบภัยน้ำท่วมได้ โดยสำนักงานประกันสังคมสามารถซื้อพันธบัตรได้ในวงเงินไม่เกิน 500 ล้านบาท
2) สำหรับการให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมนั้น ในปัจจุบันสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการโครงการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้สถานประกอบการ ผ่านบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) โดยซื้อหุ้นกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกัน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะได้ประสานขอความร่วมมือกับบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมและบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อยืดหยุ่นหลักเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้แก่สถานประกอบการที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วม
2.2 ความเป็นไปได้ในการผ่อนผันการส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทนรวมทั้งเบี้ยปรับ
สำนักงานประกันสังคมได้พิจารณาข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้วไม่สามารถเลื่อนกำหนดการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมโดยยกเว้นเบี้ยปรับได้ อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 47 กำหนดว่าทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้นายจ้างหักค่าจ้างของผู้ประกันตนตามจำนวนที่ต้องนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตน ดังนั้น ในช่วงที่สถานประกอบการได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมจนไม่สามารถดำเนินกิจการได้ และไม่ได้จ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องนำส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมและไม่มีเบี้ยปรับในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
สำหรับการเลื่อนกำหนดการนำส่งเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนโดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มตามกฎหมาย สามารถดำเนินการได้ตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 ซึ่งสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการออกประกาศเลื่อนกำหนดชำระเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน ประจำปี 2544 สำหรับนายจ้างในท้องที่ จังหวัดสงขลา จากเดิมภายในเดือนมกราคม 2544 เป็นภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2544 โดยไม่ต้องชำระเงินเพิ่มตามกฎหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 27 มี.ค.2544
-สส-