คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานผลการดำเนินการตั้งตู้นายกฯ ทักษิณ รับเรื่องร้องเรียนของประชาชน ในรอบ 11 เดือน สรุปได้ดังนี้
1. ภาพรวมของผลการดำเนินการ
1.1 ภาพรวมการรับเรื่องร้องเรียนจากตู้นายกฯ ทักษิณ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2547- 30 เมษายน 2548 รวมจำนวน 15,844 เรื่อง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้บูรณาการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในบทบาทหน้าที่ไปแล้วจำนวน 9,805 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 61.88
1.1.1 ตู้นายกฯ ทักษิณ ที่ตั้งบริเวณบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2547-30 เมษายน 2548 โดยจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 12,236 เรื่อง จังหวัดให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาแล้ว 7,716 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 63.06 อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา 4,378 เรื่อง
1.1.2 ตู้นายกฯ ทักษิณ หน้าบ้านพิษณุโลก กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม 2547-30 เมษายน 2548 ซึ่ง คตส.นรม. ส่งให้จังหวัดทั้งสิ้น 3,608 เรื่อง จังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาแล้ว 2,089 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 57.89 อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา 1,494 เรื่อง
2. การรับเรื่องร้องเรียนผ่านตู้นายกฯ ทักษิณ จำแนกตามกลุ่มปัญหา ในภาพรวมนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง ตู้นายกฯ ทักษิณ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 11 เดือน กลุ่มปัญหาที่ได้รับร้องเรียนจากประชาชนจากตู้นายกฯ ทักษิณ หน้าบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด และจากหน้าบ้านพิษณุโลก กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนที่ค่อนข้างใกล้เคียงสอดคล้องเช่นเดียวกัน
2.1 กลุ่มประเด็นปัญหาความเดือดร้อนที่มีผู้ร้องเรียนในภาพรวมมากที่สุด คือ กลุ่มปัญหาความเดือดร้อนทั่วไป ได้แก่ ปัญหาหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยและเรื่องเอกสารสิทธิ์การขอความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา ทุนประกอบอาชีพ และการสงเคราะห์ต่าง ๆ ตลอดจนประเด็นปัญหาด้านการบริการพื้นฐานและเหตุรำคาญต่าง ๆ จากสถานบริการและสถานประกอบการซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนประสบอยู่ในชีวิตประจำวัน
2.2 กลุ่มประเด็นปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนรองลงมา คือ กลุ่มเรื่องการกล่าวโทษเจ้าหน้าที่/หน่วยงานของรัฐ และ กลุ่มการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด โดยในกลุ่มกล่าวโทษฯ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการทุจริต และการให้บริการ รวมทั้งการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ และสำหรับกลุ่มแจ้งเบาะแสฯ จะเป็นการแจ้งประเด็นเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การพนัน ผู้มีอิทธิพล ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสอดส่องเป็นหูเป็นตานำเสนอปัญหาเพื่อให้มีการดำเนินการกับผู้กระทำผิด เพื่อสร้างความสงบสุขในสังคมส่วนรวม
3. การให้ความช่วยเหลือ/แก้ปัญหา เรื่องที่จังหวัดสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการได้ดำเนินการแก้ไขในบทบาทหน้าที่ไปแล้ว ในห้วงระยะเวลานี้ เช่น จังหวัดยโสธร (กรณีหนี้นอกระบบ) จังหวัดแพร่ (กรณีลักลอบค้าสัตว์ป่าและลักลอบแปรรูปไม้) จังหวัดนราธิวาส (กรณีของานทำ) จังหวัดระยอง (กรณีถูกหลอกให้ซื้อที่ดิน) จังหวัดอุดรธานี (กรณีขอความช่วยเหลือเรื่องไถ่ถอนที่ดิน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--
1. ภาพรวมของผลการดำเนินการ
1.1 ภาพรวมการรับเรื่องร้องเรียนจากตู้นายกฯ ทักษิณ ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2547- 30 เมษายน 2548 รวมจำนวน 15,844 เรื่อง ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดได้บูรณาการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในบทบาทหน้าที่ไปแล้วจำนวน 9,805 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 61.88
1.1.1 ตู้นายกฯ ทักษิณ ที่ตั้งบริเวณบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2547-30 เมษายน 2548 โดยจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งสิ้น 12,236 เรื่อง จังหวัดให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาแล้ว 7,716 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 63.06 อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา 4,378 เรื่อง
1.1.2 ตู้นายกฯ ทักษิณ หน้าบ้านพิษณุโลก กรุงเทพมหานคร ในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม 2547-30 เมษายน 2548 ซึ่ง คตส.นรม. ส่งให้จังหวัดทั้งสิ้น 3,608 เรื่อง จังหวัดได้ให้ความช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหาแล้ว 2,089 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 57.89 อยู่ระหว่างดำเนินการช่วยเหลือ/แก้ไขปัญหา 1,494 เรื่อง
2. การรับเรื่องร้องเรียนผ่านตู้นายกฯ ทักษิณ จำแนกตามกลุ่มปัญหา ในภาพรวมนับตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง ตู้นายกฯ ทักษิณ เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2547 จนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 11 เดือน กลุ่มปัญหาที่ได้รับร้องเรียนจากประชาชนจากตู้นายกฯ ทักษิณ หน้าบ้านพักผู้ว่าราชการจังหวัด และจากหน้าบ้านพิษณุโลก กรุงเทพมหานคร มีสัดส่วนที่ค่อนข้างใกล้เคียงสอดคล้องเช่นเดียวกัน
2.1 กลุ่มประเด็นปัญหาความเดือดร้อนที่มีผู้ร้องเรียนในภาพรวมมากที่สุด คือ กลุ่มปัญหาความเดือดร้อนทั่วไป ได้แก่ ปัญหาหนี้สินทั้งในระบบและนอกระบบ ปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัยและเรื่องเอกสารสิทธิ์การขอความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา ทุนประกอบอาชีพ และการสงเคราะห์ต่าง ๆ ตลอดจนประเด็นปัญหาด้านการบริการพื้นฐานและเหตุรำคาญต่าง ๆ จากสถานบริการและสถานประกอบการซึ่งเป็นเรื่องที่ประชาชนประสบอยู่ในชีวิตประจำวัน
2.2 กลุ่มประเด็นปัญหาที่ได้รับการร้องเรียนรองลงมา คือ กลุ่มเรื่องการกล่าวโทษเจ้าหน้าที่/หน่วยงานของรัฐ และ กลุ่มการแจ้งเบาะแสการกระทำความผิด โดยในกลุ่มกล่าวโทษฯ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพฤติกรรมการทุจริต และการให้บริการ รวมทั้งการไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานของรัฐ และสำหรับกลุ่มแจ้งเบาะแสฯ จะเป็นการแจ้งประเด็นเกี่ยวกับการกระทำความผิดต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การพนัน ผู้มีอิทธิพล ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสอดส่องเป็นหูเป็นตานำเสนอปัญหาเพื่อให้มีการดำเนินการกับผู้กระทำผิด เพื่อสร้างความสงบสุขในสังคมส่วนรวม
3. การให้ความช่วยเหลือ/แก้ปัญหา เรื่องที่จังหวัดสามารถดำเนินการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการได้ดำเนินการแก้ไขในบทบาทหน้าที่ไปแล้ว ในห้วงระยะเวลานี้ เช่น จังหวัดยโสธร (กรณีหนี้นอกระบบ) จังหวัดแพร่ (กรณีลักลอบค้าสัตว์ป่าและลักลอบแปรรูปไม้) จังหวัดนราธิวาส (กรณีของานทำ) จังหวัดระยอง (กรณีถูกหลอกให้ซื้อที่ดิน) จังหวัดอุดรธานี (กรณีขอความช่วยเหลือเรื่องไถ่ถอนที่ดิน)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 พฤษภาคม 2548--จบ--